• ข่าว
  • เทคโนโลยี
    • หุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์
    • วิศวกรรม
    • ยานพาหนะ
    • พลังงาน
    • เทคโนโลยีอาหาร
    • เทคโนโลยีการคำนวณ
    • เทคโนโลยีอวกาศ
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
    • วิทยาศาสตร์สุขภาพ
    • ชีววิทยาโมเลกุล
    • วิวัฒนาการ
    • สัตววิทยา
    • พฤกษศาสตร์
    • จุลชีววิทยา
    • กีฏวิทยา
    • นิเวศวิทยา
  • ดาราศาสตร์
    • ฟิสิกส์ดาราศาสตร์
    • จักรวาลวิทยา
    • วิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์
  • อื่น ๆ
    • ศิลปะ & วัฒนธรรม
    • คณิตศาสตร์
    • ประวัติศาสตร์
    • จิตวิทยา
    • ปรัชญา
    • วิทยาศาสตร์การกีฬา
    • Sci-fi
  • ร้านค้า
No Result
View All Result
The Principia
  • ข่าว
  • เทคโนโลยี
    • หุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์
    • วิศวกรรม
    • ยานพาหนะ
    • พลังงาน
    • เทคโนโลยีอาหาร
    • เทคโนโลยีการคำนวณ
    • เทคโนโลยีอวกาศ
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
    • วิทยาศาสตร์สุขภาพ
    • ชีววิทยาโมเลกุล
    • วิวัฒนาการ
    • สัตววิทยา
    • พฤกษศาสตร์
    • จุลชีววิทยา
    • กีฏวิทยา
    • นิเวศวิทยา
  • ดาราศาสตร์
    • ฟิสิกส์ดาราศาสตร์
    • จักรวาลวิทยา
    • วิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์
  • อื่น ๆ
    • ศิลปะ & วัฒนธรรม
    • คณิตศาสตร์
    • ประวัติศาสตร์
    • จิตวิทยา
    • ปรัชญา
    • วิทยาศาสตร์การกีฬา
    • Sci-fi
  • ร้านค้า
No Result
View All Result
The Principia
No Result
View All Result

8 Fun Facts ของหมายเลข 8

Anut PhadungkitbyAnut Phadungkit
02/10/2022
in Art & Culture, Mathematic
A A
0
8 Fun Facts ของหมายเลข 8
Share on FacebookShare on Twitter

เรื่องที่ 1 “October” แปลว่าเดือนแปดไม่ใช่หรือ?

Eight แปลว่า “แปด” มีรากศัพท์จากคำว่า Ehte หรือ Eahta ในภาษาอังกฤษยุคโบราณ และแผลงเป็นภาษาละตินว่า Octo ซึ่งเรามักจะเจอคำสร้อยนี้เมื่อพูดถึงสิ่งต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเลขแปด อาทิ Octagon (แปดเหลี่ยม) Octahedron (ทรงแปดหน้า) Octal (เลขฐานแปด) หรือแม้กระทั่งเจ้าหมึก Octopus ที่มีหนวด 8 เส้นพอดี ทว่าเดือนตุลาคม (October) กลับไม่ใช่เดือนที่แปดเหมือนชื่อ เนื่องจากปฏิทินโรมันสมัยก่อนมีแค่ 10 เดือน โดยเริ่มจากเดือนมีนาคมเป็นเดือนแรกของปี ก่อนที่จะแทรกเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์เข้ามาทีหลังใน 153 ปีก่อนคริสตกาล และคำว่า “Octo” ได้มีอิทธิพลต่อภาษาบาลีสันสกฤต ซึ่งแผลงเป็นคำว่า “อัฐ” เช่น เครื่องอัฐบริขาร หมายถึงเครื่องใช้สอยจำเป็นของภิกษุ 8 อย่าง และยังเคยเป็นระบบเงินตราไทยดังพบเห็นในสุภาษิตที่ว่า “อัฐยายซื้อขนมยาย”

ปฎิทินโรมันช่วงปลายของยุคสาธารณรัฐ
ที่มา : Roman calendar – Wikipedia

เรื่องที่ 2 เลขแปดกับ “ลำดับฟีโบนักชี”

ตัวประกอบของ 8 คือเหล่าจำนวนนับที่หาร 8 ลงตัวมีทั้งสิ้น 4 จำนวน ได้แก่ 1, 2, 4 และ 8 ความสวยงามของเลขชุดนี้คือสามารถเขียนอยู่ในรูปของ 2 ยกกำลังบางอย่าง นั่นคือ 20, 21, 22 และ 23 แต่ความสวยงามยิ่งกว่าคือการที่เลขแปดเป็นหนึ่งในตัวเลขของลำดับฟีโบนักชี (Fibonacci sequence) ลำดับนี้สร้างขึ้นจากการมีตัวเลขในสองลำดับแรกคือ “ศูนย์” กับ “หนึ่ง” ส่วนลำดับถัดไปจะเกิดจากการรวมเลขสองลำดับก่อนหน้าไปเรื่อยๆ ดังนั้นเลขลำดับที่สามคือ 0 + 1 = 1 ลำดับถัดมาคือ 1 + 1 = 2 หน้าตาของลำดับฟีโบนักชีก็คือ 0, 1, 1, 2, 3, 5, 8, 13, 21, 34, 55, … ความอัศจรรย์ที่ซ่อนอยู่จะปรากฏให้เห็นชัด เมื่อเราคำนวณอัตราส่วนระหว่างตัวเลขสองตัวใดๆ ที่อยู่ติดกันในลำดับนี้ ยิ่งเลขมีค่ามากเท่าไร อัตราส่วนที่ได้จะใกล้เคียงกับ “อัตราส่วนทอง (Golden ratio)” อัตราส่วนที่สมบูรณ์แบบและแฝงอยู่รอบตัวเรา ไม่ว่าจะงานศิลปะสถาปัตยกรรมการออกแบบ ลวดลายต่างๆ ที่พบได้ในธรรมชาติ รวมทั้งแนวโน้มของแนวรับ-แนวต้านของราคาหุ้น

Fibonacci sequence ในธรรมชาติ
ที่มา : Fibonacci Sequence and Nature – Learning at Home (wordpress.com)

เรื่องที่ 3 ดนตรี พีทาโกรัส และ “Octave”

“การเล่นเครื่องดนตรีที่ไพเราะ คือการสร้างเสียงที่มีความถี่สอดประสานอันเหมาะสม” พีทาโกรัส (Pythagoras) นักคณิตคนสำคัญของกรีกได้ค้นพบปรากฏการณ์ทางดนตรีจากการปรับสายพิณ พบว่าการปรับสายพิณลดลงครึ่งหนึ่งจะทำให้เกิดเสียงที่สูงขึ้นเป็นความถี่ 2 เท่า เรียกว่าเสียง “คู่แปด (Octeve)” เช่นโน้ตโดต่ำกับโน้ตโดสูง ซึ่งเป็นโน้ตที่อยู่ห่างกันแปดขั้นบันไดเสียงพอดี (โด-เร-มี-ฟา-ซอล-ลา-ที-โด๊) นอกจากนี้ยังได้ค้นพบอัตราส่วนอื่นๆ เช่นเสียงคู่ห้า (Perfect fifth) เช่นโน้ตโดและซอล ที่มีอัตราส่วนความถี่ของสองโน้ตเท่ากับ 3:2 แล้วสามารถเล่นสองโน้ตนี้ประสานกันอย่างเสนาะหู สิ่งที่น่าสนใจคือตัวเลขทางดนตรีอย่าง 8, 5, 3, 2 เกี่ยวข้องกับลำดับฟีโบนักชีทั้งหมดเลย!

เรื่องที่ 4 ยุคของคอมพิวเตอร์ “8 บิต”

อย่างที่รู้กันว่าเบื้องหลังของเทคโนโลยีสุดอัจฉริยะล้วนส่งผ่านข้อมูลโดยแปลงให้อยู่ในรูปเลขฐานสอง หน่วยที่เล็กที่สุดของข้อมูลนั้นเรียกว่า “บิต (Bit)” สามารถแสดงสัญญาณออกมาได้เพียงสองค่าคือ “ศูนย์” กับ “หนึ่ง” เมื่อข้อมูลมีขนาดใหญ่ ผู้คนย่อมอยากรู้ขนาดข้อมูลจนบัญญัติหน่วย “ไบต์ (Byte)” ซึ่งมีค่าเท่ากับ 8 บิต หากเทียบกับหนังสือ ความจำ 1 ไบต์ในคอมพิวเตอร์จะบรรจุอักขระได้ 1 ตัวบนหน้ากระดาษ โดย 8 บิตสามารถสร้างอักขระที่แตกต่างกันได้ 28 = 256 ตัว แต่อย่าเข้าใจผิดว่า “เกม 8 บิต” หมายถึงเกมที่มีขนาดเท่ากับ 1 ตัวอักษรนะ! จำนวน 8 บิตในบริบทนี้หมายถึงกราฟิกของคอมพิวเตอร์ยุคแรก หนึ่งพิกเซลในรูปภาพสำหรับแสดงสีหนึ่งสีบนหน้าจอจะใช้สัญญานเพียง 8 บิตเท่านั้น ทำให้สีที่ใช้ในการออกแบบกราฟิกในคอมพิวเตอร์เหลือแค่ 256 สี ซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่ทำให้คนยุคนั้นได้หวนคิดถึงความหลังกัน

Bulbasaur 8 bit ที่มา : 16-bit Bulbasaur – Pixel Art Pokemon Bulbasaur PNG Image | Transparent PNG Free Download on SeekPNG

เรื่องที่ 5 “Octet rule” อิเล็กตรอนครบแปดจึงจะเสถียร

คาบเรียนเคมีที่ต้องตรากตรำท่องตารางธาตุ “กฎออกเตต (Octet rule)” เป็นหนึ่งบทเรียนที่ท่านจะสนุกสนานกับการวาดแบบจำลองโมเลกุล อะตอมของธาตุที่ประกอบกันเป็นโมเลกุลอย่างมีเสถียรภาพจะพยายามเชื่อมพันธะจนมีอิเล็กตรอนวงนอกสุด (Valence electrons) ให้ครบแปดเป็นส่วนใหญ่ (หมายถึงมีบางโมเลกุลที่แหกกฎๆ นี้) ยกตัวอย่างธาตุที่มีเลขอะตอมเท่ากับ 8 อย่างออกซิเจนที่มีอิเล็กตรอนวงนอกเท่ากับ 6 สามารถประกอบเป็นแก๊สออกซิเจน (O2) ที่มีการแชร์อิเล็กตรอนของธาตุเดียวกันจนทำให้โมเลกุลของแก๊สออกซิเจนเสถียรกว่าและพบได้มากในอากาศที่เราหายใจ และเลขแปดเป็นหนึ่งใน Magic Number ทางฟิสิกส์ โดยหากพิจารณาธาตุที่มีจำนวนโปรตอนหรือนิวตรอนเท่ากับ 2, 8, 20, 28, 50, 82, หรือ 126 ธาตุนั้นจะมีความเสถียรสูงกว่าธาตุอื่นนั่นเอง

เส้นสเปคตรัมที่มองเห็นได้ของนีออนจากการแผ่รังสีของก๊าซนีออนร้อน
ที่มา : นีออน – วิกิพีเดีย (wikipedia.org)

เรื่องที่ 6 “อินฟินิตี้” ไม่ได้เป็นญาติกับเลขแปด

สัญลักษณ์อนันต์ (Infinity) ปรากฏครั้งแรกโดยนักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษ จอห์น วอลลิส (John Wallis) ในปี ค.ศ. 1655 ในเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับเรขาคณิตวิเคราะห์อย่างไม่ทราบที่มาอย่างแน่ชัด คาดการณ์ว่าวอลลิสอาจจะยืมสัญลักษณ์ CIↃ ในระบบตัวเลขของโรมันซึ่งมีความหมายแทนปริมาณที่มีจำนวนมากๆ และยังมีอีกหลายสมมติฐานที่กล่าวถึงที่มาของสัญลักษณ์นี้ ถึงกระนั้นก็ไม่มีสมมติฐานไหนโยงไปที่การเขียนเลขแปดแบบแนวตะแคงเลย โดยหลายๆ องค์กรชั้นนำได้หยิบ “Infinity loop” มาใช้เป็นสัญลักษณ์จนแบรนด์เป็นที่จดจำในวงกว้าง อาทิ บริษัทอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์และโทรคมนาคมเบอร์ต้นของญี่ปุ่นอย่าง Fujitsu หรือบริษัทของ “เจ้าพ่อโซเชียล” มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์กอย่าง Meta Platforms ซึ่งสัญลักษณ์นี้มักมีการกล่าวถึงคู่กับแถบเมอบิอุส (Möbius strip) ที่สร้างจากการบิดแถบกระดาษแล้วเชื่อมหัวท้ายเข้าด้วยกัน ทำให้แถบเมอบิอุสเป็นพื้นผิวที่มีเพียงด้านเดียวและสามารถลากเส้นวนบนกระดาษจนทั่วทั้งแถบแบบ “ไม่รู้จบ” โดยไม่ต้องยกปลายปากกาเลย

เรื่องที่ 7 อีก “แปดปี” เท่านั้นจะครบร้อยแล้ว!

สิ้นปี ค.ศ. 2022 จะมีมหกรรมกีฬาอย่างฟุตบอลโลก (FIFA World Cup) ที่ประเทศกาตาร์ ถัดไปอีก 8 ปีเท่านั้นจะครบรอบ 100 ปีของการแข่งขันฟุตบอลโลกครั้งแรกในปี ค.ศ. 1930 ณ ประเทศอุรุกวัย โลโก้ประจำการแข่งขันมีความบังเอิญที่ลักษณะคล้ายผ้าคลุมไหล่สไตล์อาหรับม้วนเป็นเลขแปด ซึ่งหมายถึงจำนวนสนามฟุตบอลที่ใช้จัดการแข่งขันครั้งนี้และสามารถตีความถึงเครื่องหมายอนันต์ได้ด้วย หมายเลข 8 ในวงการฟุตบอลมักเป็นที่จดจำในฐานะผู้เล่นตำแหน่งกองกลาง ยกตัวอย่างตำนานทีมชาติสเปนและบาร์เซโลน่า อันเดรส อินเนียสต้า หรือสองสุดยอดกองกลางแห่งเกาะอังกฤษที่มาจากต่างสโมสรอย่าง แฟรงก์ แลมพาร์ดและสตีเวน เจอร์ราร์ด ในวงการกีฬาอื่นๆ สังเกตว่ากระดานหมากรุกจะมีขนาดตารางเท่ากับ 8 8 ส่วนสายสร้างสรรค์ที่ชอบแทงพูล (Eight-ball pool) ลูกที่สำคัญที่สุดและต้องแทงให้ลงหลุมเป็นลูกสุดท้ายก็คือ “ลูกสีดำหมายเลข 8” ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับเลขแปดอยู่ดี

ถ้วย FIFA World Cup
ที่มา : FIFA

เรื่องที่ 8 เหตุการณ์สำคัญของปีนี้ที่มี “หมายเลขแปด”

ปีแห่งการสูญเสียบุคคลสำคัญซึ่งได้จากไปในวันที่ 8 เหมือนกัน เริ่มต้นด้วยเดือนกรกฎาคมเกิดเหตุการณ์ลอบสังหารอดีตนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ชินโซ อาเบะ จนถึงแก่อสัญกรรม อีกสองเดือนถัดมา สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักรเสด็จสวรรคตหลังจากครองราชย์ยาวนานถึง 70 ปี แต่สำหรับในไทย “หมายเลข 8” อาจเป็นเบอร์นำโชคสำหรับการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ ครั้งแรกในรอบ 9 ปี ลงเอยด้วยผลคะแนนที่มากเป็นประวัติการณ์ให้กับ รศ.ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ขึ้นแท่นเป็นพ่อเมืองจากประชาชนคนกรุง แต่สำหรับทำเนียบนายกรัฐมนตรีไทยที่ดำรงตำแหน่งเกิน 8 ปี มีเพียงจอมพล ป. พิบูลสงคราม จอมพลถนอม กิตติขจรและพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ มีเพียง 3 ท่านเท่านั้น เนื่องด้วยมีนักคณิตศาสตร์บางท่าน (ที่ไม่ได้จบวิทยาศาสตร์บัณฑิต) สามารถพิสูจน์หักล้างทฤษฎีบทที่ว่า 2565 – 2557 ≠ 8 พวกเขาอาจเป็นสุดยอดนักคณิตศาสตร์สมัครเล่นยิ่งกว่าปิแอร์ เดอ แฟร์มาต์ (บริบทนี้ประจวบเหมาะที่แฟร์มาต์เป็นนักกฎหมายพอดี)

นักกฎหมายประจำสภานิติบัญญัติประจำแคว้นตูลูซและเป็นนักคณิตศาสตร์มือสมัครเล่น
ที่มา : ปีแยร์ เดอ แฟร์มา – วิกิพีเดีย (wikipedia.org)

อ้างอิง

eight | Etymology, origin and meaning of eight by etymonline

October: The 10th Month (timeanddate.com)

8 – Wikipedia

Fibonacci Sequence: Definition, How it Works, and How to Use It (investopedia.com)

Pythagorean Intervals (uconn.edu)

Bits, Bytes, Binary, Hexadecimal, Octal and Decimal – IIO: More Geek, Less Waste (instant-info-online.com)

The Octet Rule – Chemistry LibreTexts

Infinity symbol – Wikipedia

FIFA World Cup Qatar 2022™ Official Emblem revealed

Number 8 In Soccer | A Complete Guide – QuickStartSoccer.com

10 อันดับ นายกฯ อยู่ในตำแหน่ง “นานที่สุด” (mcot.net)

Tags: 8infinityMathematic
Anut Phadungkit

Anut Phadungkit

ผู้รักและใฝ่รู้ในประวัติศาสตร์คณิตศาสตร์ คนบ้ากีฬาฟุตบอลและอเมริกันเกมส์ ฉันเองแอดมินเพจและช่อง youtube: MathisPie

Related Posts

เปิดไฟล์โปรเจ็กต์ A119 แผนยิงระเบิดใส่ดวงจันทร์
Astronomy

เปิดไฟล์โปรเจ็กต์ A119 แผนยิงระเบิดใส่ดวงจันทร์

byChinapong Lienpanich
31/12/2022
ชายผู้ยุติโรคมรณะที่ชื่อว่า “โรคพิษสุนัขบ้า”
Biology

ชายผู้ยุติโรคมรณะที่ชื่อว่า “โรคพิษสุนัขบ้า”

byTanakrit Srivilas
27/12/2022
ทั้งช่วยชีวิต ทั้งคร่าชีวิต: นักวิทย์ผู้รักชาติจนตัวตาย แต่ได้รับผลตอบแทนแสนเจ็บปวด
Biography

ทั้งช่วยชีวิต ทั้งคร่าชีวิต: นักวิทย์ผู้รักชาติจนตัวตาย แต่ได้รับผลตอบแทนแสนเจ็บปวด

byTanakrit Srivilas
09/12/2022
5 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ “มารี คูรี” นักวิทยาศาสตร์หญิงเจ้าของสองรางวัลโนเบล
Biography

5 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ “มารี คูรี” นักวิทยาศาสตร์หญิงเจ้าของสองรางวัลโนเบล

byPichayut Tananchayakul
07/11/2022
The Principia

ส่งเสริมสังคมสร้างสรรค์ ด้วยการสื่อสารวิทยาศาสตร์

© 2021 ThePrincipia. All rights reserved.

The Principia Media

About Us
Members
Contact Us
theprincipia2021@gmail.com

Follow us

No Result
View All Result
  • ข่าว
  • เทคโนโลยี
    • หุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์
    • วิศวกรรม
    • ยานพาหนะ
    • พลังงาน
    • เทคโนโลยีอาหาร
    • เทคโนโลยีการคำนวณ
    • เทคโนโลยีอวกาศ
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
    • วิทยาศาสตร์สุขภาพ
    • ชีววิทยาโมเลกุล
    • วิวัฒนาการ
    • สัตววิทยา
    • พฤกษศาสตร์
    • จุลชีววิทยา
    • กีฏวิทยา
    • นิเวศวิทยา
  • ดาราศาสตร์
    • ฟิสิกส์ดาราศาสตร์
    • จักรวาลวิทยา
    • วิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์
  • อื่น ๆ
    • ศิลปะ & วัฒนธรรม
    • คณิตศาสตร์
    • ประวัติศาสตร์
    • จิตวิทยา
    • ปรัชญา
    • วิทยาศาสตร์การกีฬา
    • Sci-fi
  • ร้านค้า