• ข่าว
  • เทคโนโลยี
    • หุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์
    • วิศวกรรม
    • ยานพาหนะ
    • พลังงาน
    • เทคโนโลยีอาหาร
    • เทคโนโลยีการคำนวณ
    • เทคโนโลยีอวกาศ
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
    • วิทยาศาสตร์สุขภาพ
    • ชีววิทยาโมเลกุล
    • วิวัฒนาการ
    • สัตววิทยา
    • พฤกษศาสตร์
    • จุลชีววิทยา
    • กีฏวิทยา
    • นิเวศวิทยา
  • ดาราศาสตร์
    • ฟิสิกส์ดาราศาสตร์
    • จักรวาลวิทยา
    • วิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์
  • อื่น ๆ
    • ศิลปะ & วัฒนธรรม
    • คณิตศาสตร์
    • ประวัติศาสตร์
    • จิตวิทยา
    • ปรัชญา
    • วิทยาศาสตร์การกีฬา
    • Sci-fi
  • ร้านค้า
No Result
View All Result
The Principia
  • ข่าว
  • เทคโนโลยี
    • หุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์
    • วิศวกรรม
    • ยานพาหนะ
    • พลังงาน
    • เทคโนโลยีอาหาร
    • เทคโนโลยีการคำนวณ
    • เทคโนโลยีอวกาศ
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
    • วิทยาศาสตร์สุขภาพ
    • ชีววิทยาโมเลกุล
    • วิวัฒนาการ
    • สัตววิทยา
    • พฤกษศาสตร์
    • จุลชีววิทยา
    • กีฏวิทยา
    • นิเวศวิทยา
  • ดาราศาสตร์
    • ฟิสิกส์ดาราศาสตร์
    • จักรวาลวิทยา
    • วิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์
  • อื่น ๆ
    • ศิลปะ & วัฒนธรรม
    • คณิตศาสตร์
    • ประวัติศาสตร์
    • จิตวิทยา
    • ปรัชญา
    • วิทยาศาสตร์การกีฬา
    • Sci-fi
  • ร้านค้า
No Result
View All Result
The Principia
No Result
View All Result

เปิดไฟล์โปรเจ็กต์ A119 แผนยิงระเบิดใส่ดวงจันทร์

Chinapong LienpanichbyChinapong Lienpanich
31/12/2022
in Astronomy, History
A A
0
เปิดไฟล์โปรเจ็กต์ A119 แผนยิงระเบิดใส่ดวงจันทร์
Share on FacebookShare on Twitter

นับตั้งแต่ที่สงครามโลกครั้งที่สองยุติลง ด้วยการที่สหรัฐอเมริกาทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ใส่แผ่นดินญี่ปุ่นเป็นต้นมา ชาติมหาอำนาจต่าง ๆ ก็เริ่มหันมาครอบครองเทคโนโลยีอาวุธนิวเคลียร์กันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นสภาพโซเวียต อังกฤษ ฝรั่งเศส จีน หรือแม้แต่ประเทศอินเดียก็ตาม ซึ่งได้ก่อให้เกิดความตึงเครียดระหว่างฝ่ายทุนนิยมตะวันตก กับประเทศสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ ซึ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น และนำไปสู่การแข่งขันการพัฒนาประสิทธิภาพการทำลายล้างของระเบิดนิวเคลียร์ที่สุด

เมฆรูปเห็ดจากระเบิดนิวเคลียร์ที่เกิดขึ้นเหนือฟากฟ้าเมืองฮิโรชิม่าและนางาซากิ
ที่มา : Atomic bombings of Hiroshima and Nagasaki – Wikipedia

โดยทุกครั้งที่ระเบิดนิวเคลียร์ได้รับการอัปเกรด ทางกองทัพของชาติมหาอำนาจก็จะเริ่มดำเนินการทดสอบจุดชนวนระเบิดนิวเคลียร์ขึ้นมาจริง ๆ เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นตามมา ถึงขนาดที่ว่าในช่วงทศวรรษที่ 1960 ในระยะเวลาที่ไล่เลี่ยกับโครงการอะพอลโล ที่มีเป้าหมายในการส่งมนุษย์ไปสำรวจบนพื้นผิวดวงจันทร์ รัฐบาลสหรัฐฯ ก็ได้เสนอแผนการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ขนาดเล็กใส่ดวงจันทร์ขึ้นมา เพื่อแสดงแสนยานุภาพทางการทหารต่อสหภาพโซเวียตว่าตนมีเทคโนโลยีที่เหนือกว่า ภายใต้รหัสโครงการ A119 ซึ่งจัดว่าเป็นความลับทางการทหารสูงสุดในขณะนั้น

ก่อนที่ต่อมาในช่วงทศวรรษที่ 1990 ความลับทางการทหารเก่า ๆ ก็เริ่มทยอยเปิดเผยต่อสาธารณชนตามกฎหมายความโปร่งใสของสหรัฐฯ ซึ่งได้ชี้ให้เห็นทางฝั่งกองทัพอากาศสหรัฐฯ ต้องการให้กลุ่มควันรูปเห็ดจากระเบิดนิวเคลียร์นั้นสูงใหญ่เสียจนสามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าจากบนโลกได้ อีกทั้งทางกองทัพยังมีการว่าจ้างทีมนักวิทยาศาสตร์ 10 คนให้ศึกษาความเป็นได้ของการจุดชนวนระเบิดนิวเคลียร์บนดวงจันทร์ และคำนวณผลกระทบที่อาจตามมาหลังจากจุดระเบิดแล้ว

แต่ปรากฏว่า คาร์ล เซแกน หนึ่งในนักวิทยาศาสตร์ที่ได้รับการคัดเลือกเข้าไปในทีมสอบสวนกลับแอบเปิดเผยความลับทางการทหารสูงสุดนี้แก่สถาบันวิทยาศาตร์มิลเลอร์ (Miller Institute) ภายใต้กำกับดูแลของมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียผ่านทางจดหมายลับในปี 1959 ซึ่งผู้เขียนหนังสือชีวประวัติของ คาร์ล เซแกน ในยุค 90 ก็ได้พบหนึ่งในจดหมายลับนี้โดยบังเอิญที่มุมอับบนชั้นหนังสือของ คาร์ล ในช่วงเวลาเดียวกับที่โครงการ A119 เปิดเผยต่อสาธารณชนอย่างพอดิบพอดี

หน้าปกของ A Study of Lunar Research Flights หรือโปรเจ็กซ์ A119
ที่มา :Project A119 – Wikipedia

โดยในขณะที่คาร์ล เซแกน กำลังหาวิธีปกป้องดวงจันทร์จากการจุดชนวนระเบิดนิวเคลียร์ของกองทัพสหรัฐฯ ทีมนักวิทยาศาสตร์ที่เหลือก็ได้ออกมาแสดงถึงความเป็นไปได้ที่จะนำหัวรบนิวเคลียร์แบบฟิชชั่นบรรจุใส่จรวดยิงไปยังดวงจันทร์ ซึ่งอยู่ห่างจากโลกไปเกือบ 400,000 กิโลเมตร ด้วยความแม่นยำในระยะไม่เกิน 3 กิโลเมตรจากจุดที่กำหนดไว้

พร้อมกับเสนอแผนการส่งอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ ไปติดตั้งบนดวงจันทร์ในบริเวณจุดชนวนเพื่อตรวจวัดค่าตัวเลขต่าง ๆ ทั้งก่อนและหลังการระเบิดนิวเคลียร์อีกด้วย ซึ่งจะช่วยให้นักวิทยาศาสตร์เรียนรู้องค์ประกอบของดวงจันทร์ในชั้นหินที่ลึกลงไปได้อย่างดีเยี่ยม ในขณะที่จะไม่ทำให้ดวงจันทร์เคลื่อนตัวผิดแปลกไปแต่อย่างใด เนื่องจากผลการศึกษาผลกระทบได้แสดงให้เห็นว่าแรงพลังงานจากนิวเคลียร์ที่จะนำไปปล่อยนั้น มีน้อยเสียจนหลุมอุกกาบาตที่เกิดขึ้นจากการระเบิดนั้นจะมีขนาดเล็กเสียจนกล้องโทรทรรศน์ราคาแพงบนโลกไม่อาจส่องเห็นได้

อย่างไรก็ตาม ในเวลาต่อโครงการก็ได้ถูกพับลงไปจากกระแสวิพากษ์วิจารณ์จากนักวิทยาศาสตร์ระดับสูงในหน่วยงานรัฐบาลเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะความกลัวต่อการสูญเสียการควบคุมผลกระทบของระเบิดนิวเคลียร์ที่อาจมีโอกาสสร้างความเสียหายต่อชั้นบรรยากาศโลกได้ ประกอบกับปัญหาด้านรังสีตกค้างบนพื้นผิวดวงจันทร์ที่จะตามมาในภายหลังอีกด้วย

จนกระทั่งต่อมาในปี 1967 สหรัฐอเมริกาก็ได้ลงนามในสนธิสัญญาอวกาศร่วมกันนานาชาติ ว่าด้วยเรื่องการห้ามทดลองระเบิดนิวเคลียร์ และงดเว้นกิจกรรมทางการทหารบนอวกาศโดยสิ้นเชิง เอกสารรายละเอียดฉบับเต็มของโครงการ A119 จึงได้ถูกทำลายลงโดยกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ นับแต่นั้นเป็นต้นมา

แต่ก็ยังดีที่ว่ายังคงมีเรื่องราวบางส่วนที่เล็ดลอดออกผ่านสำเนาทางการทหารที่กลุ่มนักวิทยาศาสตร์แอบส่งต่อมากันเป็นทอด ๆ ซึ่งก็รวมไปถึงจดหมายของ คาร์ล เซแกน ด้วย ก่อนที่เอกสารที่หลงเหลืออยู่จะได้รับการเปิดเผยในช่วงยุค 90 ตามที่กล่าวไปข้างต้น ซึ่งนับได้ว่าเป็นความโชคดีของมนุษย์ที่โครงการ A119 ไม่เคยเกิดขึ้นจริง มิเช่นนั้นก็อาจมีความเป็นไปได้ที่ดวงจันทร์ก็จะกลายเป็นสถานที่ทดสอบนิวเคลียร์ของชาติอื่น ๆ เช่นกัน ซึ่งอาจทำให้ไม่มีสนธิสัญญาห้ามปรามและจำกัดอาวุธนิวเคลียร์ตามมาแบบข้อตกลงในปี 1967 อย่างแน่นอน

อ้างอิง

Project A119 – Wikipedia

Tags: a119astronomynasa
Chinapong Lienpanich

Chinapong Lienpanich

Mostly being a space-nerd who dreamt to work at NASA, but now a 21 years old Film Student dedicating to generalize space communication.

Related Posts

โลกพ้นภัย ดาวเคราะห์น้อย 2023BU เฉียดโลกมากที่สุด
Astronomy

โลกพ้นภัย ดาวเคราะห์น้อย 2023BU เฉียดโลกมากที่สุด

byPeeravut Boonsat
29/01/2023
ชายผู้ยุติโรคมรณะที่ชื่อว่า “โรคพิษสุนัขบ้า”
Biology

ชายผู้ยุติโรคมรณะที่ชื่อว่า “โรคพิษสุนัขบ้า”

byTanakrit Srivilas
27/12/2022
รูหนอนในฟิสิกส์ กับ Bifrost (God of war: Ragnarok)
Cosmology

รูหนอนในฟิสิกส์ กับ Bifrost (God of war: Ragnarok)

byTakol Tangphati
15/12/2022
mu Space เชิญสื่อร่วมฟังอัปเดตเทคโนโลยีล่าสุดภายในงาน TECHDAY 2022
Astronomy

mu Space เชิญสื่อร่วมฟังอัปเดตเทคโนโลยีล่าสุดภายในงาน TECHDAY 2022

byTakol Tangphatiand2 others
11/12/2022
The Principia

ส่งเสริมสังคมสร้างสรรค์ ด้วยการสื่อสารวิทยาศาสตร์

© 2021 ThePrincipia. All rights reserved.

The Principia Media

About Us
Members
Contact Us
theprincipia2021@gmail.com

Follow us

No Result
View All Result
  • ข่าว
  • เทคโนโลยี
    • หุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์
    • วิศวกรรม
    • ยานพาหนะ
    • พลังงาน
    • เทคโนโลยีอาหาร
    • เทคโนโลยีการคำนวณ
    • เทคโนโลยีอวกาศ
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
    • วิทยาศาสตร์สุขภาพ
    • ชีววิทยาโมเลกุล
    • วิวัฒนาการ
    • สัตววิทยา
    • พฤกษศาสตร์
    • จุลชีววิทยา
    • กีฏวิทยา
    • นิเวศวิทยา
  • ดาราศาสตร์
    • ฟิสิกส์ดาราศาสตร์
    • จักรวาลวิทยา
    • วิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์
  • อื่น ๆ
    • ศิลปะ & วัฒนธรรม
    • คณิตศาสตร์
    • ประวัติศาสตร์
    • จิตวิทยา
    • ปรัชญา
    • วิทยาศาสตร์การกีฬา
    • Sci-fi
  • ร้านค้า