• ข่าว
  • เทคโนโลยี
    • หุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์
    • วิศวกรรม
    • ยานพาหนะ
    • พลังงาน
    • เทคโนโลยีอาหาร
    • เทคโนโลยีการคำนวณ
    • เทคโนโลยีอวกาศ
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
    • วิทยาศาสตร์สุขภาพ
    • ชีววิทยาโมเลกุล
    • วิวัฒนาการ
    • สัตววิทยา
    • พฤกษศาสตร์
    • จุลชีววิทยา
    • กีฏวิทยา
    • นิเวศวิทยา
  • ดาราศาสตร์
    • ฟิสิกส์ดาราศาสตร์
    • จักรวาลวิทยา
    • วิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์
  • อื่น ๆ
    • ศิลปะ & วัฒนธรรม
    • คณิตศาสตร์
    • ประวัติศาสตร์
    • จิตวิทยา
    • ปรัชญา
    • วิทยาศาสตร์การกีฬา
    • Sci-fi
  • ร้านค้า
No Result
View All Result
The Principia
  • ข่าว
  • เทคโนโลยี
    • หุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์
    • วิศวกรรม
    • ยานพาหนะ
    • พลังงาน
    • เทคโนโลยีอาหาร
    • เทคโนโลยีการคำนวณ
    • เทคโนโลยีอวกาศ
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
    • วิทยาศาสตร์สุขภาพ
    • ชีววิทยาโมเลกุล
    • วิวัฒนาการ
    • สัตววิทยา
    • พฤกษศาสตร์
    • จุลชีววิทยา
    • กีฏวิทยา
    • นิเวศวิทยา
  • ดาราศาสตร์
    • ฟิสิกส์ดาราศาสตร์
    • จักรวาลวิทยา
    • วิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์
  • อื่น ๆ
    • ศิลปะ & วัฒนธรรม
    • คณิตศาสตร์
    • ประวัติศาสตร์
    • จิตวิทยา
    • ปรัชญา
    • วิทยาศาสตร์การกีฬา
    • Sci-fi
  • ร้านค้า
No Result
View All Result
The Principia
No Result
View All Result

เครื่องปรับอากาศตัวแรกของโลก และเรื่องของทรัพย์สินทางปัญญา

Tanakrit SrivilasbyTanakrit Srivilas
02/05/2022
in Engineering, History
A A
0
เครื่องปรับอากาศตัวแรกของโลก และเรื่องของทรัพย์สินทางปัญญา
Share on FacebookShare on Twitter

Hilights

  • วิลลิส แคเรียร์ คือวิศวกรชาวอเมริกัน ผู้คิดค้นเครื่องปรับอากาศสำเร็จ และยังเป็นผู้ก่อตั้งบริษัทขายเครื่องปรับอากาศที่ชื่อว่า “แคเรียร์” ด้วย
  • จุดเริ่มต้นของการประดิษฐ์เครื่องปรับอากาศ ไม่ใช่เพื่อแก้ปัญหาอากาศร้อน แต่เป็นการลดความชื้นในอากาศ
  • 26 เมษายนของทุก ๆ ปีเป็นวันทรัพย์สินทางปัญญาโลก ถูกตั้งขึ้นเพื่อให้ผู้คนตระหนักเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา
  • ทรัพย์สินทางปัญญา ประกอบไปด้วย ลิขสิทธิ์ และทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม

แดดร้อนร้อนในอากาศ มันทำให้ร้อนหัวใจ ร้อนทั้งกาย ใคร ๆ ก็คงอยากจะเปิดแอร์ให้เย็นฉ่ำทั่วทั้งห้องเพื่อคลายร้อนกันทั้งนั้น แต่ก่อนที่เราจะกดปุ่มเปิดบนรีโมต ปรับไปที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส และนอนตีพุงท่ามกลางไอเย็นของเครื่องปรับอากาศในห้อง รู้มั้ยว่าใครคิดค้นเจ้าสิ่งประดิษฐ์ที่ช่วยชีวิตเราจากไอร้อนมรณะหน้าบ้านของคุณเครื่องนี้?

จุดเริ่มต้นของ “เครื่องปรับอากาศ”

ย้อนกลับไปในฤดูร้อนอันอบอ้าวปี ค.ศ. 1902 ที่โรงพิมพ์ Sackett & Wilhelms ในย่านบรูคลิน รัฐนิวยอร์ก เกิดปัญหาขึ้นในโรงพิมพ์ ซึ่งเป็นปัญหาเดียวกันกับโรงพิมพ์อื่น ๆ อีกหลายแห่ง นั่นก็คือความชื้นในอากาศที่มีมากจนเกินไป ซึ่งปัญหาดังกล่าวส่งผลต่อคุณภาพสีของเครื่องพิมพ์ภาพ และไม่เป็นผลดีต่อการผลิตสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ อย่างแน่นอน แต่แล้วปัญหาก็พาเรามาพบกับจุดเริ่มต้นของพระเอกในเรื่องนี้ นั่นก็คือผู้ที่ประดิษฐ์คิดค้นเครื่องปรับอากาศคนแรก ซึ่งเป็นวิศวกรหนุ่มชาวอเมริกันคนหนึ่งที่มีชื่อว่า วิลลิส ฮาวิแลนด์ แคเรียร์ (Willis Haviland Carrier) ที่ไม่ได้ตั้งใจจะประดิษฐ์เครื่องปรับอากาศที่จะช่วยลดอุณหภูมิห้องให้เย็นสบายเลย แต่บังเอิญวันหนึ่งเขาก็ค้นพบว่า โรงพิมพ์ Sackett & Wilhelms นั้นมีปัญหาความชื้นในอากาศมากเกินไป เขาจึงคิดไตร่ตรองหาวิธีการที่จะสามารถช่วยเหลือโรงพิมพ์ผู้น่าสงสารได้ จนแคเรียร์ได้ไอเดียในการคิดค้นเครื่องที่สามารถดูดอากาศภายในโรงงานมารวมกัน และควบแน่นความชื้นในอากาศจนกลายเป็นไอน้ำ หลังจากนั้นก็ส่งอากาศที่ลดความชื้นแล้วเข้าไปในห้องแทน ซึ่งเมื่อเขาผลิตเครื่องมือนั้นได้สำเร็จ มันกลับส่งผลให้อากาศที่หมุนเวียนอยู่ในโรงพิมพ์มีอุณหภูมิที่ลดต่ำลงด้วย นั่นจึงกลายเป็นต้นกำเนิดของเครื่องปรับอากาศตัวแรกของโลก

ภาพของ วิลลิส แคเรียร์ เปิดใช้งานเครื่องปรับอากาศตัวแรกของโลก ณ สำนักพิมพ์ที่มีชื่อว่า Sackett & Wilhelms
ที่มา: williscarrier

เมื่อแคเรียร์พบว่าเครื่องมือที่เขาคิดค้นนั้น ไม่ได้มีความสามารถเพียงแค่ลดความชื้นในอากาศ แต่มันสามารถปรับอุณหภูมิภายในห้องปิดได้อีกด้วย ซึ่งเป็นความดีงามที่ยังไม่มีใครเคยทำมา เขาจึงทุ่มเทกายใจ เปิดบริษัทรับผลิตเครื่องปรับอากาศ ที่เรารู้จักกันในชื่อยี่ห้อว่า “แคเรียร์” (Carrier) โดยที่เครื่องมือของเขาถูกสร้างมาให้ทำหน้าที่หลัก ๆ ได้ 4 อย่างด้วยกัน ได้แก่ ความสามารถในการควบคุมอุณหภูมิ ความสามารถในการควบคุมความชื้น ความสามารถในการควบคุมการไหลเวียนของอากาศ และยังต้องสามารถทำให้อากาศสะอาดด้วย แล้วทั้งหมดที่ทำมาก็ส่งผลให้ผู้คนเรียกเขาว่าเป็น “บิดาแห่งเครื่องปรับอากาศโลก”

วิลลิส ฮาวิแลนด์ แคเรียร์ ผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งเครื่องปรับอากาศโลก
ที่มา: Wikipedia

ว่าด้วยเรื่อง “ทรัพย์สินทางปัญญา”

แคเรียร์ได้จดสิทธิบัตร เพื่อแสดงความเป็นเจ้าของสิ่งประดิษฐ์ชิ้นนี้ในชื่อว่า “Apparatus for Treating Air” หรือที่แปลตรงตัวว่า “เครื่องมือสำหรับบำบัดอากาศ” โดยเขาเริ่มยื่นขอจดสิทธิบัตรตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน ค.ศ. 1904 และได้รับอนุมัติในวันที่ 2 มกราคม ค.ศ. 1906 ก่อนที่เขาจะใช้มันผลิตเครื่องปรับอากาศให้ผู้คนจำนวนมากได้ใช้กัน แม้ว่าทุกวันนี้ สิทธิบัตรของเครื่องปรับอากาศตัวแรกของแคเรียร์นั้น จะหมดอายุไปแล้ว 17 ปีหลังจากที่เขาได้เป็นเจ้าของสิทธิบัตร นั่นคือในวันที่ 2 มกราคม ค.ศ. 1923 แต่บริษัทแคเรียร์ที่เขาก่อตั้งขึ้นมาก็ยังคงคิดค้นนวัตกรรมที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้คนต่อไป จนในปัจจุบัน ข้อมูลจากการตรวจสอบล่าสุดในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2022 บริษัทแคเรียร์นั้นเป็นเจ้าของสิทธิบัตรมากมายกว่า 22 ชิ้นด้วยกัน

ภาพแสดงถึงเครื่องปรับอากาศเครื่องแรกของโลก ประกอบการยื่นเอกสารเพื่อจดสิทธิบัตร ของวิลลิส แคเรียร์ ปี 1906
ที่มา: Google Patents

ประเด็นสำคัญที่จะเล่าก็คือ องค์การทรัพย์สินทางปัญญาแห่งโลก (World Intellectual Property Organization หรือ WIPO) เป็นองค์กรระหว่างประเทศที่อยู่ภายใต้องค์การสหประชาชาติ ได้ตั้งวันที่ 26 เมษายน ของทุกปีให้เป็น “วันทรัพย์สินทางปัญญาโลก” เพื่อให้ผู้คนทั่วโลกเกิดความตระหนักถึงเรื่องการคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา รวมไปถึงการกระตุ้นให้ผู้คนเรียนรู้เกี่ยวกับการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาก็เกี่ยวข้องกับเรื่องของการจดสิทธิบัตร อย่างที่เราเล่าไว้ในข้างต้นด้วย แล้วสงสัยกันไหมว่า ทรัพย์สินทางปัญญานั้นคืออะไร?

ทรัพย์สินทางปัญญา หมายถึง ผลงานอันเกิดจากความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ โดยที่ทรัพย์สินทางปัญญาแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม (Industrial Property) และลิขสิทธิ์ (Copyright) ซึ่งทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม หมายถึง ความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ที่เกี่ยวกับสินค้าอุตสาหกรรมต่าง ๆ อาจเป็นความคิดในการประดิษฐ์คิดค้น กระบวนการในการผลิตที่ปรับปรุงหรือคิดค้นขึ้นใหม่ หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่เป็นองค์ประกอบและรูปร่างของตัวผลิตภัณฑ์ โดยที่สิทธิบัตรของเครื่องปรับอากาศแคเรียร์นับว่าเป็นทรัพย์สินทางปัญญาที่จัดอยู่ในประเภททรัพย์สินทางอุตสาหกรรมเช่นเดียวกัน

ส่วนลิขสิทธิ์ หมายถึง สิทธิแต่เพียงผู้เดียวที่จะกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ริเริ่มโดยการใช้สติปัญญาความรู้ ความสามารถ และความวิริยะอุตสาหะของตนเองในการสร้างสรรค์โดยไม่ลอกเลียนงานของผู้อื่น โดยผู้สร้างสรรค์จะได้รับความคุ้มครองทันทีที่สร้างสรรค์โดยไม่ต้องจดทะเบียน ซึ่งงานที่สร้างสรรค์ต้องเป็นงานตามประเภทที่กฎหมายลิขสิทธิ์คุ้มครอง ไม่ว่างานดังกล่าวจะแสดงออกในรูปแบบอย่างใด แต่การคุ้มครองลิขสิทธิ์ไม่ครอบคลุมถึงความคิด ขั้นตอน กรรมวิธี ระบบ วิธีใช้ วิธีทำงาน แนวความคิด หลักการ การค้นพบ ทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์หรือคณิตศาสตร์ ฉะนั้น ผู้ที่อ้างว่าตนเองคิดค้นแคลคูลัสได้เป็นคนแรกอย่าง ไอแซค นิวตัน ก็ไม่อาจจดสิทธิบัตรได้ (ฮา) โดยที่ประเภทของงานอันมีลิขสิทธิ์นั้น มีอยู่ที่กฎหมายกำหนดไว้ 9 อย่าง ได้แก่

  1. วรรณกรรม (รวมถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์)
  2. นาฏกรรม
  3. ศิลปกรรม
  4. ดนตรีกรรม
  5. โสตทัศนวัสดุ
  6. ภาพยนตร์
  7. สิ่งบันทึกเสียง
  8. งานแพร่เสียงแพร่ภาพ
  9. งานอื่นใดในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ

วิธีจดทะเบียนเป็นเจ้าของสิทธิบัตร

สิทธิบัตร หมายถึง หนังสือสำคัญที่รัฐออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์ (Invention) หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ (Product Design) ที่มีลักษณะตามที่กฎหมายกำหนด เป็นสิทธิพิเศษที่ให้ผู้ประดิษฐ์คิดค้นหรือผู้ออกแบบผลิตภัณฑ์ มีสิทธิที่จะผลิตสินค้า จำหน่ายสินค้าแต่เพียงผู้เดียว ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งการประดิษฐ์ หมายถึง ความคิดสร้างสรรค์เกี่ยวกับ ลักษณะองค์ประกอบ โครงสร้างหรือกลไกของผลิตภัณฑ์ รวมทั้งกรรมวิธีในการผลิตการรักษา หรือปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ให้ดีขึ้น หรือทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ขึ้นใหม่ ที่แตกต่างไปจากเดิม และเน้นการประดิษฐ์ที่มีลักษณะของการแก้ไขปัญหาทางเทคนิคที่ไม่สามารถคิดค้นขึ้นโดยง่าย เช่น กลไกของเครื่องยนต์, ยารักษาโรค, วิธีการในการเก็บรักษาพืชผลไม้ไม่ให้เน่าเสียเร็วเกินไป

ในประเทศไทย มีกรมทรัพย์สินทางปัญญา ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานที่คอยรับผิดชอบเรื่องการจดแจ้งความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา ทั้งในเรื่องของลิขสิทธิ์ และผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ในอุตสาหกรรม ซึ่งถ้าเกิดใครมีความสามารถในการประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่ และต้องการจดสิทธิบัตร สามารถเข้าไปได้ที่หน้าเว็บไซต์ของกรมทรัพย์สินทางปัญญาได้เลย หวังว่าจะมีนักประดิษฐ์หน้าใหม่ในประเทศไทย ได้ประโยชน์จากบทความนี้นะครับ

อ้างอิง

ต้นกำเนิดเครื่องปรับอากาศครั้งแรกของโลก

โลกต้องขอบคุณ Willis Carrier ผู้คิดค้นแอร์เครื่องแรกของโลก

Apparatus for treating air.

Carrier Corporation Products

วันนี้วันอะไร วันทรัพย์สินทางปัญญาโลก ตรงกับวันที่ 26 เมษายน

ลิขสิทธิ์

สิทธิบัตร

Tags: air conditionerinventioninventor
Tanakrit Srivilas

Tanakrit Srivilas

Jack of all trades, passionate about Biotechnology, Molecular genetics, Evolutionary biology, and Communication.

Related Posts

เปิดไฟล์โปรเจ็กต์ A119 แผนยิงระเบิดใส่ดวงจันทร์
Astronomy

เปิดไฟล์โปรเจ็กต์ A119 แผนยิงระเบิดใส่ดวงจันทร์

byChinapong Lienpanich
31/12/2022
ชายผู้ยุติโรคมรณะที่ชื่อว่า “โรคพิษสุนัขบ้า”
Biology

ชายผู้ยุติโรคมรณะที่ชื่อว่า “โรคพิษสุนัขบ้า”

byTanakrit Srivilas
27/12/2022
mu Space เชิญสื่อร่วมฟังอัปเดตเทคโนโลยีล่าสุดภายในงาน TECHDAY 2022
Astronomy

mu Space เชิญสื่อร่วมฟังอัปเดตเทคโนโลยีล่าสุดภายในงาน TECHDAY 2022

byTakol Tangphatiand2 others
11/12/2022
ทั้งช่วยชีวิต ทั้งคร่าชีวิต: นักวิทย์ผู้รักชาติจนตัวตาย แต่ได้รับผลตอบแทนแสนเจ็บปวด
Biography

ทั้งช่วยชีวิต ทั้งคร่าชีวิต: นักวิทย์ผู้รักชาติจนตัวตาย แต่ได้รับผลตอบแทนแสนเจ็บปวด

byTanakrit Srivilas
09/12/2022
The Principia

ส่งเสริมสังคมสร้างสรรค์ ด้วยการสื่อสารวิทยาศาสตร์

© 2021 ThePrincipia. All rights reserved.

The Principia Media

About Us
Members
Contact Us
theprincipia2021@gmail.com

Follow us

No Result
View All Result
  • ข่าว
  • เทคโนโลยี
    • หุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์
    • วิศวกรรม
    • ยานพาหนะ
    • พลังงาน
    • เทคโนโลยีอาหาร
    • เทคโนโลยีการคำนวณ
    • เทคโนโลยีอวกาศ
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
    • วิทยาศาสตร์สุขภาพ
    • ชีววิทยาโมเลกุล
    • วิวัฒนาการ
    • สัตววิทยา
    • พฤกษศาสตร์
    • จุลชีววิทยา
    • กีฏวิทยา
    • นิเวศวิทยา
  • ดาราศาสตร์
    • ฟิสิกส์ดาราศาสตร์
    • จักรวาลวิทยา
    • วิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์
  • อื่น ๆ
    • ศิลปะ & วัฒนธรรม
    • คณิตศาสตร์
    • ประวัติศาสตร์
    • จิตวิทยา
    • ปรัชญา
    • วิทยาศาสตร์การกีฬา
    • Sci-fi
  • ร้านค้า