• ข่าว
  • เทคโนโลยี
    • หุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์
    • วิศวกรรม
    • ยานพาหนะ
    • พลังงาน
    • เทคโนโลยีอาหาร
    • เทคโนโลยีการคำนวณ
    • เทคโนโลยีอวกาศ
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
    • วิทยาศาสตร์สุขภาพ
    • ชีววิทยาโมเลกุล
    • วิวัฒนาการ
    • สัตววิทยา
    • พฤกษศาสตร์
    • จุลชีววิทยา
    • กีฏวิทยา
    • นิเวศวิทยา
  • ดาราศาสตร์
    • ฟิสิกส์ดาราศาสตร์
    • จักรวาลวิทยา
    • วิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์
  • อื่น ๆ
    • ศิลปะ & วัฒนธรรม
    • คณิตศาสตร์
    • ประวัติศาสตร์
    • จิตวิทยา
    • ปรัชญา
    • วิทยาศาสตร์การกีฬา
    • Sci-fi
  • ร้านค้า
No Result
View All Result
The Principia
  • ข่าว
  • เทคโนโลยี
    • หุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์
    • วิศวกรรม
    • ยานพาหนะ
    • พลังงาน
    • เทคโนโลยีอาหาร
    • เทคโนโลยีการคำนวณ
    • เทคโนโลยีอวกาศ
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
    • วิทยาศาสตร์สุขภาพ
    • ชีววิทยาโมเลกุล
    • วิวัฒนาการ
    • สัตววิทยา
    • พฤกษศาสตร์
    • จุลชีววิทยา
    • กีฏวิทยา
    • นิเวศวิทยา
  • ดาราศาสตร์
    • ฟิสิกส์ดาราศาสตร์
    • จักรวาลวิทยา
    • วิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์
  • อื่น ๆ
    • ศิลปะ & วัฒนธรรม
    • คณิตศาสตร์
    • ประวัติศาสตร์
    • จิตวิทยา
    • ปรัชญา
    • วิทยาศาสตร์การกีฬา
    • Sci-fi
  • ร้านค้า
No Result
View All Result
The Principia
No Result
View All Result

ครบ 61 ปี สหรัฐฯ ส่งมนุษย์ ขึ้นสู่อวกาศเป็นครั้งแรก

Chinapong LienpanichbyChinapong Lienpanich
05/05/2022
in Astronomy, News
A A
0
ครบ 61 ปี สหรัฐฯ ส่งมนุษย์ ขึ้นสู่อวกาศเป็นครั้งแรก
Share on FacebookShare on Twitter

ย้อนกลับไปในช่วงต้นทศวรรษที่ 1960 สหภาพโซเวียตได้ก้าวเข้ามาเป็นผู้นำในวงการอวกาศโลกด้วยการส่งดาวเทียมดวงแรกขึ้นไปบนอวกาศได้สำเร็จเป็นชาติแรกของโลก ทำให้สหรัฐฯกับชาติพันธมิตรตะวันตกต่างตกอยู่ในความหวาดกลัวว่าโลกฝั่งคอมมิวนิสต์อาจจะมีแสนยานุภาพทางการทหารที่สูงกว่าได้ในอนาคต โดยเฉพาะการนำหัวรบนิวเคลียร์ขึ้นไปบนอวกาศ ซึ่งอาจเป็นชนวนที่นำไปสู่สงครามโลกครั้งใหม่ได้ในที่สุด

ด้วยเหตุนี้ทางนาซาจึงได้ประกาศริเริ่มโครงการเมอร์คิวรี (Mercury) ขึ้นมาเป็นโครงการแรกของหน่วยงานเพื่อที่จะส่งมนุษย์ขึ้นไปบนอวกาศให้ได้ก่อนสหภาพโซเวียต และเพื่อรักษาความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อรัฐบาลอเมริกันให้คงอยู่ต่อไป แต่ถึงกระนั้นโครงการก็กลับประสบปัญหาด้านการพัฒนายานอวกาศให้ปลอดภัยจนต้องประสบการเลื่อนกำหนดการอยู่หลายต่อหลายครั้ง จากเดิมที่นาซาวางแผนปล่อยไว้ในเดือนธันวาคม ปี 1960 ก่อนที่จะกลายเป็นเดือน มกราคม มีนาคม และเมษายนในปีถัดมา

จนกระทั่งในวันที่ 16 เมษายน สภาพโซเวียตก็ได้ประกาศชัยชนะด้วยการส่ง ยูริ กาการิน (Yuri Gagarin) ขึ้นไปสู่อวกาศได้สำเร็จ ทำให้ อลัน เชพเพิร์ด (Alan Shephard) ผู้เป็นนักบินของทางฝั่งสหรัฐฯที่ถูกคัดเลือกไว้ เกิดความผิดหวังและโกรธกริ้วกับทางฝั่งรัฐบาลสหรัฐฯเป็นอย่างมากที่ไม่สามารถเอาชนะโซเวียต ถึงขนาดที่ว่ามีรายงานจากนาซาออกมาว่า อลัน เชพเพิร์ดได้บันดาลโทสะด้วยการทุบโต๊ะทำงานอย่างรุนแรง ซึ่งอาจทำให้กระดูกข้อมือหักได้

แต่จนแล้วจนรอดในวันที่ 5 พฤษภาคม ปี 1961 หลังจากสหภาพโซเวียตประกาศชัยชนะเพียง 23 วัน อลัน เชิพเพิร์ด ก็ได้เข้าไปนั่งในยานอวกาศเมอร์คิวรีหมายเลข 7 บนส่วนยอดสุดของจรวดเรดสโตน พร้อมทะยานออกจากชั้นบรรยากาศที่ความสูงกว่า 186 กิโลเมตรเป็นเวลา 15 นาที ก่อนที่ตัวยานจะตกลงกลับมาปะทะเข้ากับมหาสมุทรแอตแลนติกในที่สุด ซึ่งถึงแม้จะเป็นเพียงเที่ยวบินสั้น ๆ แต่มันก็ได้สร้างความตื่นเต้นและรอยยิ้มให้กับประชาชนอเมริกันเป็นจำนวนมาก ทำให้อลัน เชพเพิร์ด กลายเป็นดาราดังในช่วงข้ามคืน

โดยในอีกไม่กี่เดือนให้หลังประธานาธิบดี จอห์น เอฟ เคนเนดี้ ก็ได้ออกมาประกาศว่าสหรัฐฯจะส่งมนุษย์ไปดวงจันทร์ให้ได้ก่อนสิ้นทศวรรษที่ 1960 ซึ่งก็ได้กลายเป็นภารกิจครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์โลกที่ชาติตะวันตกได้คว้าชัยชนะมาจากสหภาพโซเวียตได้ในที่สุด สุดท้ายนี้เราอาจกล่าวได้ว่าแม้ อลัน เชพเพิร์ด จะเป็นเพียงคนที่สองที่ได้ไปอวกาศ แต่ตัวเขาก็ได้สร้างแรงกระเพื่อมต่อวงการอวกาศมาถึงปัจจุบัน

อ้างอิง

60 Years Ago: Alan Shepard Becomes the First American in Space | NASA

Mercury-Redstone 3 (Freedom 7) | NASA

Tags: alan shepardspace
Chinapong Lienpanich

Chinapong Lienpanich

Mostly being a space-nerd who dreamt to work at NASA, but now a 21 years old Film Student dedicating to generalize space communication.

Related Posts

การประชุมสุดยอดนักวิทยาศาสตร์เยาวชนโลก Global Young Scientists Summit ประจำปี 2566
News

การประชุมสุดยอดนักวิทยาศาสตร์เยาวชนโลก Global Young Scientists Summit ประจำปี 2566

byPichayut Tananchayakul
03/02/2023
พืชที่ไม่ได้สังเคราะห์ด้วยแสงชนิดใหม่อีกชนิดเพิ่มถูกค้นพบ
Botany

พืชที่ไม่ได้สังเคราะห์ด้วยแสงชนิดใหม่อีกชนิดเพิ่มถูกค้นพบ

byPeeravut Boonsat
06/02/2023
ทำไมวาฬถึงตัวใหญ่
Biology

ทำไมวาฬถึงตัวใหญ่

byPeeravut Boonsat
29/01/2023
โลกพ้นภัย ดาวเคราะห์น้อย 2023BU เฉียดโลกมากที่สุด
Astronomy

โลกพ้นภัย ดาวเคราะห์น้อย 2023BU เฉียดโลกมากที่สุด

byPeeravut Boonsat
29/01/2023
The Principia

ส่งเสริมสังคมสร้างสรรค์ ด้วยการสื่อสารวิทยาศาสตร์

© 2021 ThePrincipia. All rights reserved.

The Principia Media

About Us
Members
Contact Us
theprincipia2021@gmail.com

Follow us

No Result
View All Result
  • ข่าว
  • เทคโนโลยี
    • หุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์
    • วิศวกรรม
    • ยานพาหนะ
    • พลังงาน
    • เทคโนโลยีอาหาร
    • เทคโนโลยีการคำนวณ
    • เทคโนโลยีอวกาศ
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
    • วิทยาศาสตร์สุขภาพ
    • ชีววิทยาโมเลกุล
    • วิวัฒนาการ
    • สัตววิทยา
    • พฤกษศาสตร์
    • จุลชีววิทยา
    • กีฏวิทยา
    • นิเวศวิทยา
  • ดาราศาสตร์
    • ฟิสิกส์ดาราศาสตร์
    • จักรวาลวิทยา
    • วิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์
  • อื่น ๆ
    • ศิลปะ & วัฒนธรรม
    • คณิตศาสตร์
    • ประวัติศาสตร์
    • จิตวิทยา
    • ปรัชญา
    • วิทยาศาสตร์การกีฬา
    • Sci-fi
  • ร้านค้า