กว่าสองศตวรรษหลังจากชาร์ลส์ ดาร์วิน นักธรรมชาติวิทยาชาวอังกฤษ ผู้ทำการปฏิวัติความเชื่อเดิม ๆ เกี่ยวกับที่มาของสิ่งมีชีวิต และเสนอทฤษฎีซึ่งเป็นทั้งรากฐานของทฤษฎีวิวัฒนาการสมัยใหม่ และหลักการพื้นฐานของกลไกการคัดเลือกโดยธรรมชาติ (natural selection)
โดยดาร์วินได้กล่าวในหนังสือ A Naturalist’s Voyage Round the World (1913) ว่า “ สีสันฉูดฉาดนี้พบได้ทั่วไปในธรรมชาติแถบเส้นศูนย์สูตร ”
ในที่สุดจากการศึกษาก็แสดงให้เห็นว่านกที่อาศัยอยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตรมีสีสันมากกว่านกที่อาศัยอยู่บริเวณขั้วโลก โดยนกที่อาศัยในเขตร้อนที่อยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร จะมีสีสันมากกว่านกที่ไม่ได้อาศัยในเขตร้อนประมาณร้อยละ 30
การวิจัยในครั้งนี้นำโดยดร.คริส คูนี่ และดร.เกวิน โทมัส จากมหาวิทยาลัยเชฟฟีลด์ โดยเขาได้ใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพื่อระบุปริมาณสีในภาพถ่ายของนกที่เก็บรักษาไว้จากคอลเล็กชันของพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ
เพื่อพิสูจน์ทฤษฎี นักวิจัยได้ถ่ายภาพนก 24,345 ตัว ซึ่งเป็นนกกว่า 4,527 สายพันธุ์ในตําแหน่งที่แตกต่างกันและภายใต้แสงประเภทต่าง ๆ โดยทีมงานได้ระบุสีของขนนกที่ตำแหน่ง 1,500 จุดในแต่ละตัวอย่าง โดยดึงข้อมูลจากพิกเซลของภาพถ่ายโดยใช้ DeepLabv3 ซึ่งเป็นโครงข่ายประสาทเทียม
ข้อมูลนี้จึงทำให้นักวิจัยสามารถแยกจำนวนตำแหน่งของยีนที่แสดงลักษณะสีขนทั้งหมดต่อตัวอย่าง เพื่อใช้เป็นตัวชี้วัดสี ตัวอย่างเช่น นกกระจอกใหญ่เพศผู้ (𝘗𝘢𝘴𝘴𝘦𝘳 𝘥𝘰𝘮𝘦𝘴𝘵𝘪𝘤𝘶𝘴) ที่มีสีน้ำตาลและสีเทาเรียบ ๆ จะมีคะแนนตำแหน่งยีนสีต่ำ ในขณะที่นกปักษาสวรรค์ทานาเกอร์แห่งแอมะซอน (𝘛𝘢𝘯𝘨𝘢𝘳𝘢 𝘤𝘩𝘪𝘭𝘦𝘯𝘴𝘪𝘴) ที่มีสีหลากหลายจะมีคะแนนสูง
พวกเขาพบความสัมพันธ์เชิงลบที่มีนัยสำคัญระหว่างคะแนนของตำแหน่งยีนสีเฉลี่ยและจุดกึ่งกลางละติจูด ซึ่งบ่งชี้ว่าคะแนนตำแหน่งสีน้อยลงในบริเวณเส้นศูนย์สูตร และยังพบความแตกต่างที่สำคัญระหว่างเพศ “การไล่สีตามแนวละติจูดนั้นชัดเจนสำหรับสีของตัวเมียมากกว่าสีของตัวผู้” ดร.คริส คูนี่ กล่าว
การศึกษาในครั้งนี้ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าทําไมนกเขตร้อนจึงมีสีสันมากกว่า แต่ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่าความแตกต่างของอาหารระหว่างสายพันธุ์ที่อาศัยในพื้นที่เขตร้อนและพื้นที่นอกเขตร้อน ตลอดจนอิทธิพลของถิ่นที่อยู่อาจมีบทบาทสำคัญต่อสีของนกได้
อ้างอิง
Nature Ecology & Evolution | Latitudinal Gradients in Avian Colourfulness