• ข่าว
  • เทคโนโลยี
    • หุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์
    • วิศวกรรม
    • ยานพาหนะ
    • พลังงาน
    • เทคโนโลยีอาหาร
    • เทคโนโลยีการคำนวณ
    • เทคโนโลยีอวกาศ
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
    • วิทยาศาสตร์สุขภาพ
    • ชีววิทยาโมเลกุล
    • วิวัฒนาการ
    • สัตววิทยา
    • พฤกษศาสตร์
    • จุลชีววิทยา
    • กีฏวิทยา
    • นิเวศวิทยา
  • ดาราศาสตร์
    • ฟิสิกส์ดาราศาสตร์
    • จักรวาลวิทยา
    • วิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์
  • อื่น ๆ
    • ศิลปะ & วัฒนธรรม
    • คณิตศาสตร์
    • ประวัติศาสตร์
    • จิตวิทยา
    • ปรัชญา
    • วิทยาศาสตร์การกีฬา
    • Sci-fi
  • ร้านค้า
No Result
View All Result
The Principia
  • ข่าว
  • เทคโนโลยี
    • หุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์
    • วิศวกรรม
    • ยานพาหนะ
    • พลังงาน
    • เทคโนโลยีอาหาร
    • เทคโนโลยีการคำนวณ
    • เทคโนโลยีอวกาศ
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
    • วิทยาศาสตร์สุขภาพ
    • ชีววิทยาโมเลกุล
    • วิวัฒนาการ
    • สัตววิทยา
    • พฤกษศาสตร์
    • จุลชีววิทยา
    • กีฏวิทยา
    • นิเวศวิทยา
  • ดาราศาสตร์
    • ฟิสิกส์ดาราศาสตร์
    • จักรวาลวิทยา
    • วิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์
  • อื่น ๆ
    • ศิลปะ & วัฒนธรรม
    • คณิตศาสตร์
    • ประวัติศาสตร์
    • จิตวิทยา
    • ปรัชญา
    • วิทยาศาสตร์การกีฬา
    • Sci-fi
  • ร้านค้า
No Result
View All Result
The Principia
No Result
View All Result

เรื่องเล่าโบราณผ่าน “ฟอสซิล” ไดโนเสาร์

Tanakrit SrivilasbyTanakrit Srivilas
28/05/2022
in Paleontology
A A
0
เรื่องเล่าโบราณผ่าน “ฟอสซิล” ไดโนเสาร์
Share on FacebookShare on Twitter

Highlights

  • ฟอสซิล (fossils) คือ ซากหรือร่องรอยของสิ่งมีชีวิตโบราณ ไม่ว่าจะเป็นพืช สัตว์ หรือแม้กระทั่งแบคทีเรีย ที่ถูกเก็บรักษาไว้โดยธรรมชาติ
  • ฟอสซิลที่โลกใบนี้ค้นพบประมาณ 99% เป็นสัตว์น้ำ ส่วนฟอสซิลสัตว์บกมักพบในที่ที่เคยเป็นแหล่งน้ำ หรือในที่ที่แห้งจัดจนไม่มีน้ำเข้าไปทำลายเนื้อเยื่อของพวกมัน
  • กระบวนการเกิดฟอสซิลที่พบได้บ่อยสุดเรียกว่า Permineralization เกิดจากซากสิ่งมีชีวิตใต้ดิน มีน้ำและแร่ธาตุซึมเข้าตามช่องว่างของกระดูก และเกิดปฏิกิริยาทางเคมีทำให้กระดูกแข็งเป็นหิน
  • นอกจากโครงกระดูกแล้ว ร่องรอยที่สิ่งมีชีวิตดึกดำบรรพ์ทิ้งไว้ เช่น รอยเท้า อุจจาระ ไข่ ขน หรือคราบถ่านหินที่ทิ้งเอาไว้ ก็เป็นฟอสซิลเช่นกัน

สมบัติล้ำค่าที่หลบเร้นสายตาผู้คน ซ่อนตัวอยู่ใต้พื้นโลกเพื่อรอเพียงวันเวลาที่จะมีนักสำรวจสักคนมาขุดค้นพบ สมบัติที่เหมือนเป็นเสียงเพรียกจากบรรพบุรุษในสมัยโบราณ เชิญชวนให้เราได้ค้นหาเรื่องราวความลับที่ไม่มีใครเคยพบเห็น ผ่านชิ้นส่วนกระดูก เศษซากคาร์บอนที่หลงเหลือ หรือแม้กระทั่งร่องรอยการมีอยู่ของสิ่งมีชีวิตในสมัยโบราณ คือสิ่งที่เรารู้จักกันในชื่อว่า “ฟอสซิล”

รู้จักสิ่งมีชีวิต จากโบราณกาล

บรรพชีวินวิทยา (Paleontology) คือศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตดึกดำบรรพ์ จากซากและร่องรอยของสิ่งมีชีวิตที่มีอายุมากกว่าหมื่นปี โดยบรรพชีวินวิทยานับว่าเป็นศาสตร์แขนงหนึ่งของวิชาธรณีวิทยา เนื่องจากมีการค้นพบฟอสซิลได้จากการขุดชั้นหินต่าง ๆ ในธรรมชาติ รวมถึงยังใช้ความรู้ในวิชาชีววิทยา ทั้งในการเปรียบเทียบสรีระวิทยาของสิ่งมีชีวิตจากฟอสซิลของพวกมัน และการบันทึกลักษณะสิ่งมีชีวิตเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลทางวิวัฒนาการ โดยหน่วยงานหลักที่ศึกษาและรับผิดชอบเรื่องซากดึกดำบรรพ์ในประเทศไทย คือกรมทรัพยากรธรณี

ในหมู่นักบรรพชีวิน เรื่องราวที่น่าตื่นเต้นสุด ๆ เรื่องหนึ่ง คงหนีไม่พ้นการขุดค้นฟอสซิลของสิ่งมีชีวิตโบราณ ที่เคยอาศัยและใช้ชีวิตบนโลกใบนี้มาก่อนหน้าพวกเราหลายล้านปี แล้วหลังจากนั้น ฟอสซิลที่ถูกค้นพบก็จะถูกศึกษาถึงลักษณะ รูปร่าง และหน้าตาอย่างละเอียด จนเราได้พบเห็นกับภาพไดโนเสาร์ สิ่งมีชีวิตโบราณที่ไม่มีใครคนไหนมีโอกาสเคยได้เห็นตัวจริง

นักบรรพชีวินวิทยา ศึกษาและเปรียบเทียบข้อมูลทางชีวิทยาของฟอสซิลที่พบเจอ
ที่มา admissionpremium

ฟอสซิล (fossils) คือ ซากหรือร่องรอยของสิ่งมีชีวิตโบราณ ไม่ว่าจะเป็นพืช สัตว์ หรือแม้กระทั่งแบคทีเรีย ที่ถูกเก็บรักษาไว้โดยธรรมชาติ ส่วนใหญ่จะถูกเก็บรักษาไว้ในชั้นหินใต้เปลือกโลก ก่อนที่สุดท้ายฟอสซิลจะกลายมาเป็นหลักฐานสำคัญ ที่ทำให้เราได้ศึกษาและทำความเข้าใจถึง หน้าตา ลักษณะนิสัย พฤติกรรม ถิ่นที่อยู่ หรือแม้กระทั่งอาหารที่ชอบกิน เพื่อนำมาประกอบรวมกันเป็นหลักฐานด้านวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตในอดีต

นักบรรพชีวินวิทยาที่ขุดค้นพบฟอสซิลในธรรมชาติ ค่อย ๆ แกะกระดูกออกจากชั้นหินอย่างระมัดระวังด้วยไม้จิ้มฟัน
ที่มา Robert Sisson

ซากดึกดำบรรพ์

ฟอสซิลประเภทซากของสิ่งมีชีวิตโบราณ ถูกเก็บรักษาไว้ในธรรมชาติได้จากหลากหลายวิธี ทั้งการโดนแช่แข็ง (Frozen) จนทำให้ร่างกายถูกเก็บรักษาไว้อย่างค่อนข้างสมบูรณ์จากความเย็น กระบวนการการเกิดมัมมี่ (Mummification) ที่เนื้อเยื่ออ่อนบริเวณผิวหนังและอวัยวะภายใน แห้งจนร่างกายไม่สลายหายไป และกระบวนการการเกิดฟอสซิลที่พบเห็นได้บ่อยที่สุดเรียกว่า กระบวนการแทรกซึมของแร่ธาตุ (Permineralization) ซึ่งเกิดจากซากสิ่งมีชีวิตที่ตายไป ถูกทับถมภายใต้หินตะกอนเป็นเวลานาน หลังจากนั้นน้ำจะซึมเข้าตามช่องว่างของกระดูกสิ่งมีชีวิต โดยน้ำจะนำพาแร่ธาตุต่าง ๆ แทรกซึมเข้าไปด้วย รวมถึงสารละลายซิลิกา (Silica) และสารละลายแคลเซียมคาร์บอเนต (Calcium Carbonate) ที่เข้าไปแทนที่สารอินทรีย์ในร่างกาย ซึ่งแร่ธาตุเหล่านี้จะยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียที่ทำให้ร่างกายเน่าเปื่อย และยังทำให้กระดูกของสิ่งมีชีวิตเหล่านี้แข็งเป็นหินอยู่ภายใต้หินตะกอน เฝ้ารอให้ใครสักคนมาค้นพบ

หินเป็นสิ่งที่มีความแข็ง แต่ก็ไม่ได้แปลว่ามันจะอยู่คงทนได้ตลอดกาล จากปัจจัยในธรรมชาติ ทั้งลมที่ปัดเป่า น้ำที่ไหลเซาะแสงแดดที่ร้อนจัด หรือแรงกระแทกจากสิ่งที่อยู่รอบ ๆ ทำให้หินค่อย ๆ ผุกร่อนกลายเป็นหินก้อนเล็ก ๆ ซึ่งแหล่งที่เก็บรักษาฟอสซิลของสิ่งมีชีวิตโบราณไว้อย่างหินตะกอน ก็เป็นหินที่เกิดจากการรวมตัวกันของเศษหิน ฝุ่นผง และอนุภาคต่าง ๆ ที่ถูกพัดพามารวมกัน ซึ่งอาจจะรวมถึงซากไร้ชีวิตของสิ่งมีชีวิตโบราณอยู่ในนั้นด้วย เมื่อหินก้อนเล็ก ๆ รวมกันมากขึ้น ทับถมกันหลายชั้น จะเกิดแรงกดดันและปฏิกิริยาเคมีที่ทำให้มันกลายเป็นหินตะกอนก้อนใหญ่อีกครั้ง หลายล้านปีผ่านไป การเคลื่อนตัวของเปลือกโลกนั้นก็ทำให้หินเกิดความเปลี่ยนแปลงได้อีกหลายครั้งนับไม่ถ้วน ปรากฎการณ์หนึ่งคือกากรยกตัวของแผ่นดิน ทำให้ฟอสซิลที่ถูกทับถมอยู่ใต้หินก้อนยักษ์ ขึ้นมาอยู่ที่ระดับเดียวกับพื้นดินที่เราอาศัยอยู่ และเมื่อหินตะกอนผุกร่อนอีกครั้ง เราก็จะพบกับฟอสซิลในที่สุด

วิดีโออธิบายกระบวนการเกิดฟอสซิลฉบับการ์ตูน โดย BBC Bitesize

ฟอสซิลที่โลกใบนี้ค้นพบ ประมาณ 99% เป็นสัตว์น้ำ เพราะแหล่งน้ำคือสภาพแวดล้อมที่เหมาะแก่การเก็บรักษาซากสิ่งมีชีวิต เมื่อสัตว์น้ำตายลงจะจมสู่พื้นทะเลซึ่งเป็นดินโคลน และมันจะถูกทับถมอย่างรวดเร็วจนกลายเป็นฟอสซิลในเวลาต่อมา ส่วนฟอสซิลของสัตว์บกที่เราพบเห็นกัน อาจตายใกล้กับแหล่งน้ำที่มีดินโคลนช่วยรักษาสภาพโครงกระดูกของสัตว์เหล่านี้ไว้ หรืออาจจะอยู่ห่างไกลแหล่งน้ำแต่เจอกับพายุทรายที่ปกคลุมร่างเอาไว้พอดี ถึงอย่างไรสุดท้ายโครงกระดูกที่ถูกเก็บรักษาอย่างดีในธรรมชาติก็คงอยู่มาจนถึงคราวที่นักบรรพชีวินวิทยาได้มาค้นพบจนได้

ฟอสซิลไดโนเสาร์ต่อสู้กัน ระหว่างไดโนเสาร์ Protoceratops andrewsi และ Velociraptor mongoliensis ซึ่งมีการคาดการณ์ว่า ฟอสซิลอาจจะถูกเก็บรักษาจากการที่เนินทรายถล่มทับร่างของไดโนเสาร์ทั้งสองขณะต่อสู้กันพอดี จนถึงแก่ชีวิตทั้งคู่
ที่มา Hel Mort และ Raul Martin

ร่องรอยดึกดำบรรพ์

ฟอสซิลอีกประเภทหนึ่ง คือร่องรอยของสิ่งมีชีวิตโบราณ ที่ทำให้เราได้ศึกษาเกี่ยวกับลักษณะร่างกาย อาหารการกิน แหล่งที่อยู่ รวมถึงพฤติกรรมที่เราไม่อาจพบได้ของพวกม้น โดยฟอสซิลประเภทนี้เราอาจจะไม่ได้พบเจอกับชิ้นส่วนร่างกาย แต่ก็เป็นสิ่งที่สิ่งมีชีวิตดึกดำบรรพ์ทิ้งไว้ให้เราได้ศึกษา เช่น รอยเท้า อุจจาระ ไข่ คราบถ่านหินที่ทิ้งเอาไว้ หรือแม้กระทั่งขนของพวกมัน

รอยเท้าไดโนเสาร์เป็นร่องรอยสำคัญที่ทำให้เรารู้ถึงแหล่งที่อยู่ของสิ่งมีชีวิตโบราณ รวมถึงยังทำให้เราเข้าใจรูปร่างหน้าตาของพวกมันมากขึ้น จากขนาดและรูปร่างของรอยเท้าที่พบเจอได้ในธรรมชาติ ทำให้เรารู้ว่ามันเดินกี่เท้า มันตัวใหญ่ไหม มันเดินทางกันเป็นฝูงหรืออยู่กันแบบโดดเดี่ยว นี่แค่รอยเท้านะ ลองคิดดูว่ารอยเท้าของคนเราที่เหยียบไปบนดินโคลนหน้าบ้าน และถูกพบโดยนักวิทยาศาสตร์ในอีก 500 ล้านปีข้างหน้า เขาสามารถรู้ได้ว่าเราใส่รองเท้ายี่่ห้ออะไร ขนาดเท่าไหร่ และเดินมากับใคร

รอยเท้าไดโนเสาร์ ที่วนอุทยานภูแฝก ตำบลภูแล่นช้าง อำเภอนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์ ประเทศไทย
ที่มา Thailand Tourism Directory

อุจจาระของไดโนเสาร์ก็สำคัญไม่แพ้กันในแง่ของการศึกษา เพราะฟอสซิลอุจจาระของไดโนเสาร์สามารถบ่งบอกได้ถึงอาหารการกินของสัตว์โลกล้านปีที่แล้ว ว่ามันชอบกินอะไร รับสารอาหารอะไรจากสิ่งที่มันกิน รวมถึงอาหารแบบไหนที่ทำให้พวกมันป่วย

กระบวนการเกิดถ่านหินที่เรียกว่า Carbonization เปลี่ยนเนื้อเยื่ออ่อนของร่างกายสิ่งมีชีวิตให้กลายเป็นถ่านหิน ซึ่งถ่านหินที่เราเรียกกันว่าเป็นเชื้อเพลิงฟอสซิลนั้นก็ได้มาจากซากพืชซากสัตว์จำนวนมากที่ย่อยสลายผ่านกระบวนการแปลงเป็นถ่านหินดังกล่าวนั่นเอง แต่หลายครั้งที่กระบวนการดังกล่าวเปลี่ยนชิ้นส่วนของสิ่งมีชีวิตเป็นถ่านหินโดยคงไว้ซึ่งรูปร่างที่เราสามารถนำมาศึกษาต่อได้ ทำให้เรารู้ว่าสิ่งมีชีวิตดึกดำบรรพ์มีหน้าตาคร่าว ๆ แตกต่างจากสิ่งมีชีวิตในยุคนี้อย่างไร

ฟอสซิลของใบแปะก๊วยจากกระบวนการ Carbonization ที่มีอายุราว 49 ล้านปี เป็นหลักฐานชั้นดีที่บ่งชี้ว่าต้นแปะก๊วยนั้นเป็นสิ่งมีชีวิตที่อยู่มาตั้งแต่สมัยโบราณ จนบางคนขนานนามมันว่าเป็นฟอสซิลที่มีชีวิต
ที่มา Kevmin

อีกกระบวนการหนึ่งที่พิเศษมาก ๆ ในการเก็บรักษาซากดึกดำบรรพ์ เกิดจากยางไม้ที่อาจจะไหลมาจับกับแมลง ทำให้แมลงขยับไปไหนไม่ได้และตายในที่สุด หลังจากนั้นยางไม้จะกลายเป็นอำพันและเก็บรักษาสภาพร่างกายแมลงตัวนั้นอย่างสมบูรณ์ คล้ายกับต้นกำเนิดยีนไดโนเสาร์จากภาพยนตร์ Jurassic Park ภาคแรกที่ยุงดูดเลือดไดโนเสาร์มาและโชคร้ายต้องติดอยู่ในอำพันหลายล้านปี ซึ่งส่วนใหญ่ซากดึกดำบรรพ์ในอำพันมักจะเป็นแมลง แต่นักบรรพชีวินวิทยาก็พบชิ้นส่วนของสิ่งมีชีวิตตัวโต ๆ เหมือนกัน เช่น หางที่มีขนปุกปุยของไดโนเสาร์

หางไดโนเสาร์ Coelurosaur ที่่มีขนลักษณะคล้ายกับขนนกในปัจจุบัน ถูกเก็บรักษาอยู่ในอำพัน
ที่มา abcnews

ถ้าเจอฟอสซิลไดโนเสาร์ต้องทำยังไง?

ในประเทศไทยมีการพบเจอหลักฐานการมีอยู่ของสิ่งมีชีวิตดึกดำบรรพ์อยู่เรื่อย ๆ อย่างล่าสุดคือการค้นพบฟอสซิลของสัตว์น้ำโบราณอย่างแอมโมไนต์ ญาติที่สูญพันธุ์ไปแล้วของพวกหอยงวงช้าง บริเวณศูนย์การค้าย่านสยามสแควร์ โดยที่ผู้รับผิดชอบเรื่องซากดึกดำบรรพ์ในประเทศไทยอย่างกรมทรัพยากรธรณีก็ออกมายืนยันว่า แอมโมไนต์ที่มีการค้นพบกลางสยามนั้นเป็นของจริง คาดว่าสาเหตุที่พบฟอสซิลแอมโมไนต์ เพราะบริเวณทางเดินที่ทำใหม่ในย่านสยามสแควร์นั้นอาจใช้หินทรายซึ่งได้มาจากแหล่งหินในแอฟริกา ซึ่งมีฟอสซิลปะปนมาได้อยู่บ่อย ๆ

ฟอสซิลของแอมโมไนต์ในบริเวณพื้นทางเดินทำใหม่ย่านสยามสแควร์
ที่มา Bangkok Post

แล้วถ้าเกิดเป็นเราเองที่ไปพบฟอสซิลเข้า เราจะโพสต์ลงเฟซบุ๊ก แจ้งตำรวจ หรือโทรหากรมทรัพยากรธรณีดี? ทางที่ถูกต้องที่กรมทรัพยากรธรณีแนะนำมาก็คือ เมื่อพบวัตถุน่าสงสัยให้ไปแจ้งกับเจ้าพนักงานท้องถิ่นอย่าง นายก อบต. หรือนายกเทศมนตรี ภายใน 7 วันหลังจากที่พบ พร้อมแนบเอกสารแจ้งพบสิ่งอันมีเหตุควรเชื่อได้ว่าเป็นซากดึกดําบรรพ์ต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น เมื่อแจ้งเสร็จก็จะเป็นหน้าที่ของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่จะทำเรื่องส่งต่อไปถึงกรมทรัพยากรธรณีเอง

ก็หวังว่าจะมีสักวันที่คุณคนใดคนหนึ่งได้พบกับ “ฟอสซิล” สมบติล้ำค่าใต้พื้นดิน ที่บอกเล่าประวัติศาสตร์อันยาวนานของสิ่งมีชีวิตชนิดต่าง ๆ ที่ได้ถือกำเนิดขึ้นมาบนโลกใบนี้ และเมื่อถึงวันนั้นก็แจ้งเจ้าหน้าที่ให้ถูกต้องด้วยนะ เราจะได้มีเรื่องมาเขียนเล่าเรื่องราวสนุก ๆ ของบรรพชีวินวิทยากันต่อไป

อ้างอิง

ซากดึกดำบรรพ์ หรือฟอสซิล (Fossil)

ซากดึกดำบรรพ์กับความอยากรู้

ซากดึกดำบรรพ์ และไดโนเสาร์

Fossils 101 | National Geographic

How do dinosaur fossils form? | Natural History Museum

Fossils for Kids | Learn all about how fossils are formed, the types of fossils and more!

หินตะกอน

Fighting Dinosaurs

ชาวกรุงฮือฮา! สาวพบฟอสซิลกลางสยาม อ.เจษฎา ยันเป็นของจริง

Department confirms ammonite fossils found at Bangkok mall are real

Tags: DinosaurEvolutionJurassic WorldPaleontology
Tanakrit Srivilas

Tanakrit Srivilas

Jack of all trades, passionate about Biotechnology, Molecular genetics, Evolutionary biology, and Communication.

Related Posts

ถอดรหัสมนุษย์โบราณ ไขความลับวิวัฒนาการ กับรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ 2022
Biology

ถอดรหัสมนุษย์โบราณ ไขความลับวิวัฒนาการ กับรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ 2022

byTanakrit Srivilas
06/10/2022
สัตว์ดึกดำบรรพ์ สายพันธุ์ A – Z
Paleontology

สัตว์ดึกดำบรรพ์ สายพันธุ์ A – Z

byTanakrit Srivilas
30/06/2022
“ไดโนเสาร์ในแฟรนไชน์ Jurassic มาจากยุคนี้ จริงหรือ?”
Paleontology

“ไดโนเสาร์ในแฟรนไชน์ Jurassic มาจากยุคนี้ จริงหรือ?”

byPeeranath Watthanaseanand1 others
13/06/2022
รู้ได้ไง ไดโนเสาร์มีขน?
Paleontology

รู้ได้ไง ไดโนเสาร์มีขน?

byTanakrit Srivilas
11/06/2022
The Principia

ส่งเสริมสังคมสร้างสรรค์ ด้วยการสื่อสารวิทยาศาสตร์

© 2021 ThePrincipia. All rights reserved.

The Principia Media

About Us
Members
Contact Us
theprincipia2021@gmail.com

Follow us

No Result
View All Result
  • ข่าว
  • เทคโนโลยี
    • หุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์
    • วิศวกรรม
    • ยานพาหนะ
    • พลังงาน
    • เทคโนโลยีอาหาร
    • เทคโนโลยีการคำนวณ
    • เทคโนโลยีอวกาศ
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
    • วิทยาศาสตร์สุขภาพ
    • ชีววิทยาโมเลกุล
    • วิวัฒนาการ
    • สัตววิทยา
    • พฤกษศาสตร์
    • จุลชีววิทยา
    • กีฏวิทยา
    • นิเวศวิทยา
  • ดาราศาสตร์
    • ฟิสิกส์ดาราศาสตร์
    • จักรวาลวิทยา
    • วิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์
  • อื่น ๆ
    • ศิลปะ & วัฒนธรรม
    • คณิตศาสตร์
    • ประวัติศาสตร์
    • จิตวิทยา
    • ปรัชญา
    • วิทยาศาสตร์การกีฬา
    • Sci-fi
  • ร้านค้า