• ข่าว
  • เทคโนโลยี
    • หุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์
    • วิศวกรรม
    • ยานพาหนะ
    • พลังงาน
    • เทคโนโลยีอาหาร
    • เทคโนโลยีการคำนวณ
    • เทคโนโลยีอวกาศ
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
    • วิทยาศาสตร์สุขภาพ
    • ชีววิทยาโมเลกุล
    • วิวัฒนาการ
    • สัตววิทยา
    • พฤกษศาสตร์
    • จุลชีววิทยา
    • กีฏวิทยา
    • นิเวศวิทยา
  • ดาราศาสตร์
    • ฟิสิกส์ดาราศาสตร์
    • จักรวาลวิทยา
    • วิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์
  • อื่น ๆ
    • ศิลปะ & วัฒนธรรม
    • คณิตศาสตร์
    • ประวัติศาสตร์
    • จิตวิทยา
    • ปรัชญา
    • วิทยาศาสตร์การกีฬา
    • Sci-fi
  • ร้านค้า
No Result
View All Result
The Principia
  • ข่าว
  • เทคโนโลยี
    • หุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์
    • วิศวกรรม
    • ยานพาหนะ
    • พลังงาน
    • เทคโนโลยีอาหาร
    • เทคโนโลยีการคำนวณ
    • เทคโนโลยีอวกาศ
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
    • วิทยาศาสตร์สุขภาพ
    • ชีววิทยาโมเลกุล
    • วิวัฒนาการ
    • สัตววิทยา
    • พฤกษศาสตร์
    • จุลชีววิทยา
    • กีฏวิทยา
    • นิเวศวิทยา
  • ดาราศาสตร์
    • ฟิสิกส์ดาราศาสตร์
    • จักรวาลวิทยา
    • วิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์
  • อื่น ๆ
    • ศิลปะ & วัฒนธรรม
    • คณิตศาสตร์
    • ประวัติศาสตร์
    • จิตวิทยา
    • ปรัชญา
    • วิทยาศาสตร์การกีฬา
    • Sci-fi
  • ร้านค้า
No Result
View All Result
The Principia
No Result
View All Result

ECMO เทคโนโลยีหัวใจ – ปอดเทียมส่งเสริมการรักษาชีวิตผู้ป่วย

Tanakrit SrivilasPeeravut BoonsatbyTanakrit SrivilasandPeeravut Boonsat
16/12/2022
in Health, Technology
A A
0
ECMO เทคโนโลยีหัวใจ – ปอดเทียมส่งเสริมการรักษาชีวิตผู้ป่วย
Share on FacebookShare on Twitter

หัวใจและปอดถือเป็นอวัยวะที่สำคัญเนื่องจาก แก๊ส O2 เป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญในกระบวนการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตซึ่งถูกส่งผ่านเซลล์เม็ดเลือดในระบบหมุนเวียนโลหิตโดยมีหัวใจทำหน้าที่เป็นปั้มที่คอยส่งเลือดไปยังอวัยวะเป้าหมาย ในขณะเดียวกันอวัยวะต่าง ๆ จะส่งของเสีย โดยเฉพาะแก๊ส CO2 มาแลกเปลี่ยนกับแก๊ส O2 ในอากาศผ่านถุงลมในปอด ความสัมพันธ์ของอวัยวะทั้งสองเป็นหนึ่งในกลไกจากหลาย ๆ กลไกของร่างกายเพื่อให้เรายังสามารถดำรงชีวิต

นางพยาบาลขณะตรวจสอบเครื่อง ECMO เพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้
ที่มา : A man in Phoenix had a miraculous recovery from Covid-19 | CNN

ECMO คืออะไร

ECMO หรือ Extracorporeal Membrane Oxygenation เป็นหนึ่งในเครื่องมือพยุงหัวใจชนิดชั่วคราวซึ่งทำหน้าที่ทดแทนปอดและหัวใจในเวลาที่อวัยวะอ่อนแอเกินไปที่จะทำงานอย่างถูกต้อง ECMO นั้นไม่ได้ทำหน้าที่รักษา แต่ช่วยให้อวัยวะเหล่านี้ได้พักผ่อน

เป้าหมายของ ECMO คืออะไร?

เครื่อง ECMO นั้นมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ปอดและหัวใจซึ่งได้รับความเสียหายมีระยะเวลาในการพักฟื้นตัวโดยการลดภาระของปอดและหัวใจซึ่งเสียหาย โดยเครื่อง ECMO จะใช้เฉพาะหลังจากได้ใช้มาตรการทางการแพทย์อื่น ๆ แล้ว เมื่อหัวใจและ/หรือ ปอดได้หายเป็นปกติแล้วจะไม่ต้องใช้เครื่อง ECMO

ชนิดของ ECMO

ECMO มีด้วย 3 ระบบคือ

  • Veno – arterial ECMO (VA – ECMO): ช่วยในการแลกเปลี่ยนก๊าซและสนับสนุนการไหลเวียนของโลหิต ในขณะที่เลือดนั้นถูกสูบจากเส้นเลือดดำสู่เส้นเลือดแดง ระบบนี้จะสนับสนุนหัวใจและปอด เช่นเดียวกับระบบที่ใช้ในห้องปฏิบัติการสำหรับการผ่าตัดหัวใจ
  • Veno – venous (VV – ECMO): ช่วยในการแลกเปลี่ยนก๊าซ เลือดจะถูกดูดออกจากเส้นเลือดดำและสูบกลับเข้าไปอีกครั้ง ระบบนี้จะใช้ได้กับปอดเท่านั้น
  • Arterio – venous ECMO (AV – ECMO): ช่วยในการแลกเปลี่ยนก๊าซโดยการใช้แรงดันของเลือดเพื่อที่จะสูบเลือดจากเส้นเลือดดำสู่เส้นเลือดแดง

หลักการการทำงาน

การทำงานของVA-ECMO นั้นเหมือนกับการทำงานของหัวใจและปอดโดยมีกระบวนการดังนี้

  1. นำเลือดออกจากผู้ป่วยผ่านทางปั้ม
  2. นำเลือดไปฟอกที่ปอดเทียม เติม O2 และนำ CO2 ออก
  3. นำเลือดดีกลับเข้าสู่ร่างกายด้วยวิธีเดียวกันกับเครื่องหัวใจและปอดเทียม(cardiopulmonary bypass machine) โดยแพทย์จะสอดใส่ท่อ cannula เข้าบริเวณหลอดเลือดดำและหลอดเลือดแดงขนาดใหญ่บริเวณขาหรือคอ
หลักการการทำงานของ VA-ECMO
ที่มา : Venoarterial Extracorporeal Membrane Oxygenation in Cardiogenic Shock – ScienceDirect

ข้อบ่งชี้การใช้งาน

เกณฑ์การใช้งาน ECMO จะใช้ก็ต่อเมื่อ

  1. ผู้ป่วยที่ต้องการการช่วยเหลือเฉพาะระบบการหายใจอย่างเดียว
  2. ผู้ป่วยที่ต้องการการช่วยเหลือทั้งระบบการไหลเวียนโลหิตและระบบการหายใจโดยเฉพาะในรายที่มีอาการรุนแรงมาก
  3. การช่วยเหลือขณะทำปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ (cardiopulmonary resuscitation: CPR)

ข้อควรระวัง

ในผู้ป่วยที่มีภาวะอวัยวะล้มเหลวหลายจุด ไม่สามารถใช้งาน ECMO ได้เนื่องจากในการใช้เครื่อง ECMO จำเป็นต้องใช้ยากันเลือดเเข็งตัวส่งผลให้ผู้ป่วยไม่สามารถสมานแผลได้เนื่องจากกระบวนการแข็งตัวที่ของเลือดถูกระงับ

อาการตกเลือดเนื่องจากการให้ยากันเลือดเเข็งตัว

การติดเชื้อบริเวณแผลที่ทำการใส่ท่อทางเดินเลือด

เกิดลิ่มเลือดหรือฟองอากาศในท่อทางเดินเลือด ในช่องหัวใจ หรือในปอดเทียม

 อาจพบภาวะไตทำงานบกพร่อง

เพิ่มโอกาสการเกิด stroke ถ้ามีลิ่มเลือดในหัวใจช่องซ้าย

ผู้ป่วยบางรายอาจเกิดเลือดไปเลี้ยงบริเวณขาไม่เพียงพอจนทำให้เกิดภาวะขาดเลือด

เมื่อไหร่จึงควรหยุดการใช้งาน ECMO

เครื่อง ECMO นั้นเป็นเครื่องพยุงหัวใจและปอดแบบชั่วคราวดังนั้นแพทย์จะหยุดการใช้งานเครื่อง ECMO ก็ต่อเมื่อผู้ป่วยผ่านพ้นภาวะวิกฤติและการบาดเจ็บรุนแรง โดยแพทย์จะลดความช่วยเหลือของเครื่องจนอาการกลับคงที่แล้วจึงเปลี่ยนเป็นเครื่องช่วยหายใจ

ประสิทธิภาพการรักษา

ผลการรักษาขึ้นอยู่กับความเร็วในการตัดสินใจใช้เครื่อง ECMO ข้อมูลจาก Extracorporeal Life Support Organization (ELSO) พบว่า
ECMO สำหรับหัวใจ รอดชีวิตร้อยละ 50
ECMO สำหรับระบบหายใจ รอดชีวิตร้อยละ 60
Extracorporeal cardiopulmonary resuscitation (ECPR) รอดชีวิตร้อยละ 30

หากผู้ป่วยไม่ได้รับการช่วยเหลืออย่างเหมาะสมอาจได้เกิดภาวะสมองตายเนื่องจากขาดออกซิเจน และอาจเสียชีวิตได้เนื่องจากหัวใจและปอดไม่ทำงาน

Automated External Defibrillator

ภาวะหัวใจล้มเหลวถือเป็นภาวะที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน ถึงแม้ว่าผู้ป่วยจะไม่เคยมีอาการหรือออกกำลังกาย ดูแลสุขภาพอยู่เสมอก็ตามเป็นภัยร้ายที่กว่าจะรู้ตัวก็สายเกินไปแล้วและเกิดได้ตลอดเวลาทุกจังหวะการเต้นของหัวใจล้วนมีความเสี่ยง เครื่อง ECMO นี้ถึงแม้ว่าจะสามารถทำงานทดแทนหัวใจแต่เนื่องจากการใช้งานจำเป็นต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญที่มีความชำนาญ แต่ทว่าความตายไม่เคยรอผู้เชี่ยวชาญดังนั้นเราจึงควรรู้จักเครื่องมือที่ช่วยรักษาอาการผู้ป่วยทุกคนก่อนถึงมือผู้เชี่ยวชาญอย่าง AED หรือเครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าแบบอัตโนมัติ ซึ่งไม่จำเป็นต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญที่มีความชำนาญมากเท่า ECMO ก็สามารถช่วยเหลือผู้ป่วยได้

ดังนั้นเราจึงควรกระจายเครื่อง AED เพื่อเพิ่มโอกาสการรอดชีวิตและปฎิบัติตามห่วงโซ่การรอดชีวิต

ห่วงโซ่การรอดชีวิต คือเทคนิคการใช้ CPR i่วมกับเครื่อง AED เพื่อเพิ่มโอกาสการรอดชีวิต ที่มา : AED ทางเลือกเพื่อทางรอด (bangkokpattayahospital.com)

อ้างอิง

เครื่องช่วยพยุงการทำงานของหัวใจและปอด (ECMO) | บำรุงราษฎร์ (bumrungrad.com)

AED ทางเลือกเพื่อทางรอด (bangkokpattayahospital.com)

Venoarterial Extracorporeal Membrane Oxygenation in Cardiogenic Shock – ScienceDirect

Tags: biomedical engineeringcardiovascularECMOmedicine technology
Tanakrit Srivilas

Tanakrit Srivilas

Jack of all trades, passionate about Biotechnology, Molecular genetics, Evolutionary biology, and Communication.

Peeravut Boonsat

Peeravut Boonsat

ผมคือนิวไทป์ผู้บ้าชีววิทยา เพราะชีวะคือชีวิต ถ้าอยากมีชีวิตให้รักเด็กชีวะนะครับ

Related Posts

DNA of Things เปลี่ยนวัตถุทุกชนิดให้กลายเป็นที่เก็บข้อมูลดิจิตอลด้วยดีเอ็นเอ
Biology

DNA of Things เปลี่ยนวัตถุทุกชนิดให้กลายเป็นที่เก็บข้อมูลดิจิตอลด้วยดีเอ็นเอ

byWatcharin Unwet
13/01/2023
แบตเตอรี่ ขุมกำลัง ของรถยนต์ไฟฟ้า
Energy & Fuels

แบตเตอรี่ ขุมกำลัง ของรถยนต์ไฟฟ้า

byPichayut Tananchayakul
10/01/2023
Cell Rover มิติใหม่แห่งการศึกษาชีววิทยาของเซลล์โดยทำให้เซลล์เป็นไซบอร์ก
Biology

Cell Rover มิติใหม่แห่งการศึกษาชีววิทยาของเซลล์โดยทำให้เซลล์เป็นไซบอร์ก

byWatcharin Unwet
06/01/2023
ไฟฟ้าไร้สาย อนาคตการส่งกระแสไฟฟ้า
Energy & Fuels

ไฟฟ้าไร้สาย อนาคตการส่งกระแสไฟฟ้า

byPeeranath Watthanasean
31/12/2022
The Principia

ส่งเสริมสังคมสร้างสรรค์ ด้วยการสื่อสารวิทยาศาสตร์

© 2021 ThePrincipia. All rights reserved.

The Principia Media

About Us
Members
Contact Us
theprincipia2021@gmail.com

Follow us

No Result
View All Result
  • ข่าว
  • เทคโนโลยี
    • หุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์
    • วิศวกรรม
    • ยานพาหนะ
    • พลังงาน
    • เทคโนโลยีอาหาร
    • เทคโนโลยีการคำนวณ
    • เทคโนโลยีอวกาศ
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
    • วิทยาศาสตร์สุขภาพ
    • ชีววิทยาโมเลกุล
    • วิวัฒนาการ
    • สัตววิทยา
    • พฤกษศาสตร์
    • จุลชีววิทยา
    • กีฏวิทยา
    • นิเวศวิทยา
  • ดาราศาสตร์
    • ฟิสิกส์ดาราศาสตร์
    • จักรวาลวิทยา
    • วิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์
  • อื่น ๆ
    • ศิลปะ & วัฒนธรรม
    • คณิตศาสตร์
    • ประวัติศาสตร์
    • จิตวิทยา
    • ปรัชญา
    • วิทยาศาสตร์การกีฬา
    • Sci-fi
  • ร้านค้า