• ข่าว
  • เทคโนโลยี
    • หุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์
    • วิศวกรรม
    • ยานพาหนะ
    • พลังงาน
    • เทคโนโลยีอาหาร
    • เทคโนโลยีการคำนวณ
    • เทคโนโลยีอวกาศ
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
    • วิทยาศาสตร์สุขภาพ
    • ชีววิทยาโมเลกุล
    • วิวัฒนาการ
    • สัตววิทยา
    • พฤกษศาสตร์
    • จุลชีววิทยา
    • กีฏวิทยา
    • นิเวศวิทยา
  • ดาราศาสตร์
    • ฟิสิกส์ดาราศาสตร์
    • จักรวาลวิทยา
    • วิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์
  • อื่น ๆ
    • ศิลปะ & วัฒนธรรม
    • คณิตศาสตร์
    • ประวัติศาสตร์
    • จิตวิทยา
    • ปรัชญา
    • วิทยาศาสตร์การกีฬา
    • Sci-fi
  • ร้านค้า
No Result
View All Result
The Principia
  • ข่าว
  • เทคโนโลยี
    • หุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์
    • วิศวกรรม
    • ยานพาหนะ
    • พลังงาน
    • เทคโนโลยีอาหาร
    • เทคโนโลยีการคำนวณ
    • เทคโนโลยีอวกาศ
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
    • วิทยาศาสตร์สุขภาพ
    • ชีววิทยาโมเลกุล
    • วิวัฒนาการ
    • สัตววิทยา
    • พฤกษศาสตร์
    • จุลชีววิทยา
    • กีฏวิทยา
    • นิเวศวิทยา
  • ดาราศาสตร์
    • ฟิสิกส์ดาราศาสตร์
    • จักรวาลวิทยา
    • วิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์
  • อื่น ๆ
    • ศิลปะ & วัฒนธรรม
    • คณิตศาสตร์
    • ประวัติศาสตร์
    • จิตวิทยา
    • ปรัชญา
    • วิทยาศาสตร์การกีฬา
    • Sci-fi
  • ร้านค้า
No Result
View All Result
The Principia
No Result
View All Result

ประกาศผล Fields Medals 2022 รางวัลโนเบลของนักคณิตศาสตร์

Anut PhadungkitbyAnut Phadungkit
06/07/2022
in Mathematic, News
A A
0
ประกาศผล Fields Medals 2022 รางวัลโนเบลของนักคณิตศาสตร์
Share on FacebookShare on Twitter

สิ้นสุดแล้วสำหรับรางวัลเหรียญฟิลด์ (Fields Medal) ที่มอบให้กับนักคณิตศาสตร์เก่ง ๆ ระดับโลกที่มีผลงานเข้าตาคณะกรรมการคัดเลือกในปี ค.ศ.2022 ซึ่งการได้รับรางวัลเหรียญฟิลด์หลาย ๆ คนยกให้เทียบเท่ากับ “รางวัลโนเบลสาขาคณิตศาสตร์” แต่ต่างกันตรงที่รางวัลนี้ถูกจัดขึ้นทุก ๆ 4 ปี มีกฎเหล็กสำคัญคือจะมอบให้เฉพาะบุคคลที่มีอายุไม่เกิน 40 ปีเท่านั้น และแต่ละปีจะมอบให้ไม่เกิน 4 คน

รางวัลนี้ได้รับมอบครั้งแรก ณ งานประชุมนักคณิตศาสตร์ระดับนานาชาติ (International Congress of Mathematicians: ICM) ในปี ค.ศ.1936 แต่เว้นวรรคไปเป็นเวลานานจนกลับมามอบให้อีกใน 14 ปีถัดมาและจัดขึ้นเป็นธรรมเนียมทุก ๆ 4 ปีหลังจากนั้น โดยชื่อรางวัลตั้งตามผู้อุปถัมภ์ จอห์น ชาร์ลส์ ฟิลด์ (John Charles Fields) นักคณิตศาสตร์ชาวแคนาดา

จอห์น ชาร์ลส์ ฟิลด์ (John Charles Fields) นักคณิตศาสตร์ชาวแคนาดา ผู้ก่อตั้งรางวัลเหรียญฟิลด์ (Fields Medals)
ที่มา Visuotinė lietuvių enciklopedija

โดยปีนี้งานประชุมดังกล่าวเดิมทีจะจัดที่เมืองเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ประเทศรัสเซีย ได้ย้ายมาจัดที่กรุงเฮลซิงกิ ประเทศฟินแลนด์ เนื่องด้วยเหตุการณ์รุกรานยูเครนของรัสเซีย โดยมีผู้ได้รับรางวัลเหรียญฟิลด์ทั้งสิ้น 4 ท่าน ได้แก่

อูโก้ ดูมินิล-โกแปง (Hugo Duminil-Copin) นักคณิตศาสตร์พ่อลูกอ่อนชาวฝรั่งเศสและเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ได้รับรางวัลจากผลงานเกี่ยวกับ Phase transition หรือเรื่องของการเปลี่ยนสถานะของสสารในสาขาฟิสิกส์สถิติ (Statistical physics) โดยอาศัยทฤษฎีความน่าจะเป็น (Probabilistic theory) มาช่วยแก้ปัญหามาอย่างยาวนาน

อูโก้ ดูมินิล-โกแปง (Hugo Duminil-Copin) นักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศส
ที่มา IMU

ฮอ จุน อี (June Huh) นักคณิตศาสตร์เชื้อสายอเมริกัน-เกาหลี ผู้เคยตัดสินใจลาออกจากโรงเรียนเพื่อเป็นนักกวีตอนอายุ 16 ปี และเคยคิดว่าเป็นคนไม่เอาไหนสักเรื่อง จนกระทั่งพบกับเฮย์สุเกะ ฮิโรนากะ (Heisuke Hironaka) ผู้เคยได้รับเหรียญฟิลด์ปี ค.ศ.1970 ในคาบเรียนวิชาเรขาคณิตเชิงพีชคณิต (Algebraic geometry) จนเป็นแรงบันดาลใจให้มาทำงานวิจัยทางด้านคณิตศาสตร์ ปัจจุบันได้รับตำแหน่งอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยพรินส์ตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา และเป็นชาวเกาหลีคนแรกที่ได้รับเหรียญฟิลด์จากผลงานที่นำศาสตร์ทางด้านเรขาคณิตเชิงพีชคณิตมาใช้ประกอบกับศาสตร์ทางด้านกฎการนับและการจัดหมวดหมู่ (Combinatorics)

ฮอ จุน อี (June Huh) นักคณิตศาสตร์เชื้อสายอเมริกัน-เกาหลี
ที่มา IMU

เจมส์ เมย์นาร์ด (James Maynard) นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษสังกัดมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ผู้อุทิศงานทางด้านทฤษฎีจำนวนเชิงวิเคราะห์ (Analytic number theory) เพราะความหลงใหลในปัญหาของจำนวนเฉพาะที่เปรียบได้กับ “สารตั้งต้น” ที่ใช้ประกอบตัวเลขขึ้นมาใหม่ รวมทั้งยังสนใจในเรื่องของหลักการประมาณค่าไดโอแฟนไทน์ (Diophantine approximation) เพื่อประมาณเศษส่วนที่ใกล้เคียงกับจำนวนจริงใดๆ โดยเฉพาะจำนวนอตรรกยะที่เขียนอยู่ในรูปเศษส่วนไม่ได้

เจมส์ เมย์นาร์ด (James Maynard) นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษ
ที่มา IMU

และคนสุดท้ายที่เป็นประเด็นสำคัญของงานมอบรางวัลครั้งนี้อย่างนักคณิตศาสตร์หญิงชาวยูเครน มารีนา เวียซอฟสกา (Maryna Viazovska) สังกัดสถาบันเทคโนโลยีแห่งสหพันธ์สวิส โลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ด้วยผลงานการแก้ปัญหา “Sphere packing” หรือจะรู้จักกันดีในปัญหาการกองผลส้มตามตลาดนัดอย่างไรให้มีความหนาแน่นพอสมควรและเหลือพื้นที่ว่างในการจัดวางน้อยที่สุด ซึ่งเราจะเห็นกองส้มเหล่านั้นกองตั้งซ้อนแบบพีระมิดในปริภูมิสามมิติ แต่มารีนาแก้ปัญหานี้ได้บนปริภูมิแปดมิติโดยใช้เวลาแก้ปัญหานี้นานถึง 13 ปี โดยมารีนาเป็นสตรีคนที่สองที่ได้รับรางวัลนี้ ถัดจากมาร์ยัม เมียซัคคานี่ (Maryam Mirzakhani) นักคณิตศาสตร์หญิงชาวอิหร่านผู้ล่วงลับที่ได้รางวัลในปี ค.ศ.2014

มารีนา เวียซอฟสกา (Maryna Viazovska) นักคณิตศาสตร์หญิงชาวยูเครน
ที่มา IMU

ในคลิปวิดิโอแนะนำตัวของมารีนายังกล่าวระลึกถึงยูเรีย ซดานอฟสกา (Yulia Zdanovska) นักคณิตศาสตร์หญิงวัยเพียง 21 ปีที่เสียชีวิตจากภัยสงครามในเมืองคาร์คีฟ ประเทศยูเครนเมื่อเดือนมีนาคม โดยมารีนายกย่องยูเรียว่าเป็นผู้ที่เต็มเปี่ยมไปด้วยแสงสว่างและความฝันในการสอนคณิตศาสตร์ให้กับเด็กๆ ที่ยูเครน “เมื่อผู้คนวัยหนุ่มสาวที่มีความสามารถได้เสียชีวิตลง คุณคิดว่าอาชีพครูจะมีประโยชน์อะไรในเมื่อเราต้องสูญเสียพวกเขาให้กับสงครามอันเลวร้ายเช่นนี้? When someone like her dies, it’s like the future dies”

ทุกท่านสามารถรับชมคลิปวิดิโอของนักคณิตทั้งสี่ท่านได้ทางช่อง International Mathematical Union ใน Youtube ได้เลย

อ้างอิง

https://en.wikipedia.org/wiki/Fields_Medal#cite_note-118

https://www.mathunion.org/imu-awards/fields-medal

https://www.mathunion.org/imu-awards/fields-medal/fields-medals-2022?fbclid=IwAR1lUZxnOowmUdxml2XmQNZoKZMyoihhybjNoaXqtW3mnYguS45Up3e13xs

https://www.dailymail.co.uk/sciencetech/article-10982963/Ukrainian-mathematician-awarded-prestigious-Fields-Medal.html

https://www.quantamagazine.org/june-huh-high-school-dropout-wins-the-fields-medal-20220705/

https://www.newscientist.com/article/2327304-fields-medal-2022-work-on-prime-numbers-and-spheres-wins-maths-prize/

https://www.rfi.fr/en/people-and-entertainment/20220705-maryna-viazovska-ukrainian-fields-winner-changed-forever-by-war

Tags: fields medalsMathematicmathematician
Anut Phadungkit

Anut Phadungkit

ผู้รักและใฝ่รู้ในประวัติศาสตร์คณิตศาสตร์ คนบ้ากีฬาฟุตบอลและอเมริกันเกมส์ ฉันเองแอดมินเพจและช่อง youtube: MathisPie

Related Posts

การประชุมสุดยอดนักวิทยาศาสตร์เยาวชนโลก Global Young Scientists Summit ประจำปี 2566
News

การประชุมสุดยอดนักวิทยาศาสตร์เยาวชนโลก Global Young Scientists Summit ประจำปี 2566

byPichayut Tananchayakul
03/02/2023
พืชที่ไม่ได้สังเคราะห์ด้วยแสงชนิดใหม่อีกชนิดเพิ่มถูกค้นพบ
Botany

พืชที่ไม่ได้สังเคราะห์ด้วยแสงชนิดใหม่อีกชนิดเพิ่มถูกค้นพบ

byPeeravut Boonsat
06/02/2023
ทำไมวาฬถึงตัวใหญ่
Biology

ทำไมวาฬถึงตัวใหญ่

byPeeravut Boonsat
29/01/2023
The Principia บุก ม.เกษตรฯ ในโครงการ “ส่งเสริมการเป็นนักสื่อสารวิทยาศาสตร์มืออาชีพ”
News

The Principia บุก ม.เกษตรฯ ในโครงการ “ส่งเสริมการเป็นนักสื่อสารวิทยาศาสตร์มืออาชีพ”

byTanakrit Srivilas
28/01/2023
The Principia

ส่งเสริมสังคมสร้างสรรค์ ด้วยการสื่อสารวิทยาศาสตร์

© 2021 ThePrincipia. All rights reserved.

The Principia Media

About Us
Members
Contact Us
theprincipia2021@gmail.com

Follow us

No Result
View All Result
  • ข่าว
  • เทคโนโลยี
    • หุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์
    • วิศวกรรม
    • ยานพาหนะ
    • พลังงาน
    • เทคโนโลยีอาหาร
    • เทคโนโลยีการคำนวณ
    • เทคโนโลยีอวกาศ
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
    • วิทยาศาสตร์สุขภาพ
    • ชีววิทยาโมเลกุล
    • วิวัฒนาการ
    • สัตววิทยา
    • พฤกษศาสตร์
    • จุลชีววิทยา
    • กีฏวิทยา
    • นิเวศวิทยา
  • ดาราศาสตร์
    • ฟิสิกส์ดาราศาสตร์
    • จักรวาลวิทยา
    • วิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์
  • อื่น ๆ
    • ศิลปะ & วัฒนธรรม
    • คณิตศาสตร์
    • ประวัติศาสตร์
    • จิตวิทยา
    • ปรัชญา
    • วิทยาศาสตร์การกีฬา
    • Sci-fi
  • ร้านค้า