• ข่าว
  • เทคโนโลยี
    • หุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์
    • วิศวกรรม
    • ยานพาหนะ
    • พลังงาน
    • เทคโนโลยีอาหาร
    • เทคโนโลยีการคำนวณ
    • เทคโนโลยีอวกาศ
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
    • วิทยาศาสตร์สุขภาพ
    • ชีววิทยาโมเลกุล
    • วิวัฒนาการ
    • สัตววิทยา
    • พฤกษศาสตร์
    • จุลชีววิทยา
    • กีฏวิทยา
    • นิเวศวิทยา
  • ดาราศาสตร์
    • ฟิสิกส์ดาราศาสตร์
    • จักรวาลวิทยา
    • วิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์
  • อื่น ๆ
    • ศิลปะ & วัฒนธรรม
    • คณิตศาสตร์
    • ประวัติศาสตร์
    • จิตวิทยา
    • ปรัชญา
    • วิทยาศาสตร์การกีฬา
    • Sci-fi
  • ร้านค้า
No Result
View All Result
The Principia
  • ข่าว
  • เทคโนโลยี
    • หุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์
    • วิศวกรรม
    • ยานพาหนะ
    • พลังงาน
    • เทคโนโลยีอาหาร
    • เทคโนโลยีการคำนวณ
    • เทคโนโลยีอวกาศ
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
    • วิทยาศาสตร์สุขภาพ
    • ชีววิทยาโมเลกุล
    • วิวัฒนาการ
    • สัตววิทยา
    • พฤกษศาสตร์
    • จุลชีววิทยา
    • กีฏวิทยา
    • นิเวศวิทยา
  • ดาราศาสตร์
    • ฟิสิกส์ดาราศาสตร์
    • จักรวาลวิทยา
    • วิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์
  • อื่น ๆ
    • ศิลปะ & วัฒนธรรม
    • คณิตศาสตร์
    • ประวัติศาสตร์
    • จิตวิทยา
    • ปรัชญา
    • วิทยาศาสตร์การกีฬา
    • Sci-fi
  • ร้านค้า
No Result
View All Result
The Principia
No Result
View All Result

ต้นกำเนิด นิติเวชศาสตร์ ในประเทศไทย

Peeravut BoonsatbyPeeravut Boonsat
09/06/2022
in Forensic Science
A A
0
ต้นกำเนิด นิติเวชศาสตร์ ในประเทศไทย
Share on FacebookShare on Twitter

เมื่อประมาณต้นปีมานี้หลาย ๆ คนน่าจะได้ติดตามข่าวการสืบหาสาเหตุการเสียชีวิตของ แตงโม ภัทรธิดา ในคดีนี้มีการใช้หลักฐานต่าง ๆ เพื่อพิสูจน์หาสาเหตุการเสียชีวิตของดาราสาวผู้นี้ หลักการที่ใช้เพื่อพิสูจน์ความจริงนี้เราเรียกกันว่า “นิติเวชศาสตร์” (Forensic Medicine) และ “นิติวิทยาศาสตร์” (Forensic Scince) ซึ่งนอกจากคดีดังกล่าวแล้ว หลักการของทั้งนิติเวชศาสตร์ และนิติวิทยาศาสตร์ ก็มีความสำคัญต่อการไขคดีความต่าง ๆ มากมายหลายครั้ง วันนี้เราจะมาเล่าให้ฟังว่า นิติเวชศาสตร์ ที่เกี่ยวข้องกับการชันสูตรพลิกศพของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เริ่มต้นในประเทศไทยตั้งแต่เมื่อไหร่? และได้อย่างไร?

ก่อนอื่นขอให้ทุก ๆ ท่านทำความเข้าใจถึงความแตกต่างของศาสตร์ทั้ง 2 ที่ชื่อดูจะคล้าย ๆ กันก่อน “นิติเวชศาสตร์” คือ ศาสตร์ที่ว่าจากการหาสาเหตุการตายผ่านกระบวนการทางการแพทย์หรือที่เรียกว่าการชันสูตร ในขณะที่ “นิติวิทยาศาสตร์” คือ ศาสตร์ที่ว่าด้วยการหาสาเหตุการตาย โดยใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์ เช่น วิถีกระสุน คำนวณเวลาเสียชีวิต ฯลฯ

ประวัติของนิติเวชศาสตร์นั้นเริ่มต้นที่ ศาสตราจารย์ นายแพทย์สงกรานต์ นิยมเสน ได้เปิดสอนแก่นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สัปดาห์ละ 1 ชั่วโมง ในภาคเรียนที่ 3 แต่ไม่มีการสอบ เพราะเป็นการเรียนนอกหลักสูตร ซึ่งถือเป็นแพทย์ปริญญารุ่นแรกที่ได้เรียน นิติเวชวิทยา (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นนิติเวชศาสตร์) ต่อมาในเดือนมิถุนายนปี พ.ศ. 2489 ได้เกิดเหตุการณ์สวรรคตของในหลวงรัชกาลที่ 8 และมีข่าวคราวว่าในหลวงรัชกาลที่ 8 ทรงถูกลอบปลงพระชนม์ มิใช่อุบัติเหตุปืนลั่นตามที่รัฐบาลได้แจ้งมาก่อนหน้า ทางรัฐบาลจึงได้แต่งตั้งให้ ศาสตราจารย์ นายแพทย์สงกรานต์ นิยมเสน เป็นกรรมการ ในฐานะพยาธิแพทย์ และผู้ชำนาญวิชานิติเวชศาสตร์ ร่วมกับนายแพทย์ผู้ใหญ่คนอื่น ๆ อีกหลายท่านทำการผ่าพิสูจน์พระบรมศพ และเพื่อให้มีการพิสูจน์ที่กระจ่างชัด ศาสตราจารย์ นายแพทย์สงกรานต์จึงได้เสนอแผนการทดลองยิงศพ ต่อคณะกรรมการชันสูตรพระบรมศพ และคณะกรรมการอนุมัติให้ทำการทดลอง ตามข้อเสนอแนะนั้น ซึ่งเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่มีการเอาหลักการด้านนิติเวชศาสตร์และนิติวิทยาศาสตร์มาใช้ในการพิสูจน์หาความจริงของคดีความ (ปัจจุบันกระโหลกที่ใช้ทดสอบและวัตถุพยานบางชิ้นถูกเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์ของภาควิชานิติเวชศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล)

จากผลงานของอาจารย์ท่านทำให้ทางคณะแพทยศาสตร์เห็นความตระหนักของวิชานิติเวชศาสตร์ และอนุญาตให้มีการสอบไล่โดยนำคะแนนไปรวมกับวิชารังสีวิทยา ก่อนที่ในเวลาต่อมาเมื่อมีการตั้งภาควิชานิติเวชศาสตร์ขึ้นแล้ว จึงได้บรรจุให้การสอบไล่นิติเวชศาสตร์เป็นวิชาย่อยวิชาหนึ่งในหลักสูตรแพทยศาสตร์

ศาสตราจารย์ นายแพทย์สงกรานต์ นิยมเสน อดีตหัวหน้าภาควิชานิติเวชศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
ที่มา โรงพยาบลศิริราช

ต่อมาภายหลังการสวรรคตของในหลวงรัชกาล 8 ศาสตราจารย์ นายแพทย์สงกรานต์ นิยมเสน นอกจากจะสอนที่คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลแล้ว ท่านยังได้รับเชิญไปสอนในสถาบันการศึกษามากมายหลายแห่ง เช่น โรงเรียนนายร้อยตำรวจ (ต่อมาเป็นโรงเรียนสืบสวนสอบสวนกรมตำรวจ) การอบรมพนักงานอัยการและผู้ช่วยผู้พิพากษา นักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนักศึกษาปริญญาโทคณะสาธารณสุขศาสตร์

ในด้านการปฎิบัติงานนั้น อาจารย์สงกรานต์ ได้เป็นผู้เสนอให้โรงพยาบาลศิริราชรับศพที่มีคดีที่เจ้าหน้าที่ตำรวจส่งมา โดยที่ขณะนั้น โรงพยาบาลศิริราชไม่รับผู้ป่วยที่มีคดีไว้รักษาพยาบาล นอกจากรับเพียงบางราย เป็นครั้งคราว ฉะนั้น ผู้ป่วยที่ตายในโรงพยาบาลศิริราช ส่วนใหญ่จึงไม่ใช่ศพคดีที่ต้องมีการชันสูตรพลิกศพตามกฎหมาย นายแพทย์ชัชวาลย์ โอสถานนท์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศิริราชในขณะนั้น จึงทำหนังสือกับกรมตำรวจโดยแจ้งว่า ทางโรงพยาบาลศิริราชยินดีจะช่วยเหลือกิจการด้านชันสูตรพลิกศพ เกี่ยวกับคดีต่าง ๆ ของทางการ และทางกรมตำรวจ จึงได้ออกแจ้งเรื่องนี้ไปยังพนักงานสอบสวนให้ทราบทั่วกัน ถึงแม้ในช่วงแรกจำนวนศพที่ถูกส่งมาจะน้อย ไม่เพียงพอต่อการศึกษาก็ตาม ศาสตราจารย์ นายแพทย์สงกรานต์ จึงได้ทำบันทึกถึงผู้บังคับการโรงเรียนสืบสวนสอบสวนกรมตำรวจ ในฐานะอาจารย์ที่สอนในโรงเรียนสืบสวนสอบสวนด้วย โดยขอให้ทางโรงเรียนหาวิธีการที่ให้มีการส่งศพไปตรวจที่โรงพยาบาลศิริราชมากขึ้น เพื่อประโยชน์ในการศึกษาภาคปฏิบัติ ทั้งนักเรียนนายร้อยตำรวจ และนักเรียนสืบสวนด้วย

อ้างอิง

นิติเวชศาสตร์ในประเทศไทย

นิติเวชศาสตร์

Tags: forensicforensic medicineforensic science
Peeravut Boonsat

Peeravut Boonsat

ผมคือนิวไทป์ผู้บ้าชีววิทยา เพราะชีวะคือชีวิต ถ้าอยากมีชีวิตให้รักเด็กชีวะนะครับ

Related Posts

No Content Available
The Principia

ส่งเสริมสังคมสร้างสรรค์ ด้วยการสื่อสารวิทยาศาสตร์

© 2021 ThePrincipia. All rights reserved.

The Principia Media

About Us
Members
Contact Us
theprincipia2021@gmail.com

Follow us

No Result
View All Result
  • ข่าว
  • เทคโนโลยี
    • หุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์
    • วิศวกรรม
    • ยานพาหนะ
    • พลังงาน
    • เทคโนโลยีอาหาร
    • เทคโนโลยีการคำนวณ
    • เทคโนโลยีอวกาศ
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
    • วิทยาศาสตร์สุขภาพ
    • ชีววิทยาโมเลกุล
    • วิวัฒนาการ
    • สัตววิทยา
    • พฤกษศาสตร์
    • จุลชีววิทยา
    • กีฏวิทยา
    • นิเวศวิทยา
  • ดาราศาสตร์
    • ฟิสิกส์ดาราศาสตร์
    • จักรวาลวิทยา
    • วิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์
  • อื่น ๆ
    • ศิลปะ & วัฒนธรรม
    • คณิตศาสตร์
    • ประวัติศาสตร์
    • จิตวิทยา
    • ปรัชญา
    • วิทยาศาสตร์การกีฬา
    • Sci-fi
  • ร้านค้า