• ข่าว
  • เทคโนโลยี
    • หุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์
    • วิศวกรรม
    • ยานพาหนะ
    • พลังงาน
    • เทคโนโลยีอาหาร
    • เทคโนโลยีการคำนวณ
    • เทคโนโลยีอวกาศ
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
    • วิทยาศาสตร์สุขภาพ
    • ชีววิทยาโมเลกุล
    • วิวัฒนาการ
    • สัตววิทยา
    • พฤกษศาสตร์
    • จุลชีววิทยา
    • กีฏวิทยา
    • นิเวศวิทยา
  • ดาราศาสตร์
    • ฟิสิกส์ดาราศาสตร์
    • จักรวาลวิทยา
    • วิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์
  • อื่น ๆ
    • ศิลปะ & วัฒนธรรม
    • คณิตศาสตร์
    • ประวัติศาสตร์
    • จิตวิทยา
    • ปรัชญา
    • วิทยาศาสตร์การกีฬา
    • Sci-fi
  • ร้านค้า
No Result
View All Result
The Principia
  • ข่าว
  • เทคโนโลยี
    • หุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์
    • วิศวกรรม
    • ยานพาหนะ
    • พลังงาน
    • เทคโนโลยีอาหาร
    • เทคโนโลยีการคำนวณ
    • เทคโนโลยีอวกาศ
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
    • วิทยาศาสตร์สุขภาพ
    • ชีววิทยาโมเลกุล
    • วิวัฒนาการ
    • สัตววิทยา
    • พฤกษศาสตร์
    • จุลชีววิทยา
    • กีฏวิทยา
    • นิเวศวิทยา
  • ดาราศาสตร์
    • ฟิสิกส์ดาราศาสตร์
    • จักรวาลวิทยา
    • วิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์
  • อื่น ๆ
    • ศิลปะ & วัฒนธรรม
    • คณิตศาสตร์
    • ประวัติศาสตร์
    • จิตวิทยา
    • ปรัชญา
    • วิทยาศาสตร์การกีฬา
    • Sci-fi
  • ร้านค้า
No Result
View All Result
The Principia
No Result
View All Result

ทั้งช่วยชีวิต ทั้งคร่าชีวิต: นักวิทย์ผู้รักชาติจนตัวตาย แต่ได้รับผลตอบแทนแสนเจ็บปวด

Tanakrit SrivilasbyTanakrit Srivilas
09/12/2022
in Biography, Chemistry, History
A A
0
ทั้งช่วยชีวิต ทั้งคร่าชีวิต: นักวิทย์ผู้รักชาติจนตัวตาย แต่ได้รับผลตอบแทนแสนเจ็บปวด
Share on FacebookShare on Twitter

การค้นพบครั้งสำคัญของมนุษยชาติ หลายคนอาจนึกถึงสิ่งที่เปลี่ยนโลก ช่วยอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ในชีวิต ไม่ว่าจะเป็นไฟฟ้า รถไฟ หรือไอโฟน แต่จะมีสักกี่คนที่รู้ว่าการค้นพบที่สำคัญที่สุดของนักวิทยาศาสตร์ครั้งหนึ่ง เกี่ยวข้องกับการรักษาชีวิตมนุษย์จากความอดอยาก

คุณงามความดีของ ฮาร์เบอร์

ฟริตซ์ ฮาร์เบอร์ (Fritz Haber) นักเคมีชาวเยอรมัน เกิดเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม ในปี 1868 โดยผลงานที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของเขา และยังส่งผลให้เขาได้รับรางวัลโนเบลในเวลาต่อมาคือ การค้นพบกระบวนการสังเคราะห์แอมโมเนียในระดับอุตสาหกรรม เพื่อนำไนโตรเจนจากอากาศ มาใช้ประโยชน์ทางเกษตรกรรม

ฟริตซ์ ฮาร์เบอร์ (Fritz Haber) นักเคมีชาวเยอรมัน เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาเคมีในปี 1918
ที่มาภาพ: Jecinci

ในยุคนั้น วิทยาการยังไม่ดีมากพอ เกษตรกรรู้ว่า ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของพืชผล แต่ตอนนั้นยังไม่มีใครสามารถสกัดไนโตรเจนจำนวนมากจากอากาศได้ ทำได้เพียงสกัดจากแหล่งอื่น เช่น เหมืองดินประสิว (โพแทสเซียมไนเตรต) ซึ่งทำให้ต้นทุนการผลิตปุ๋ยไนโตรเจนสูงมาก

ตลอดศตวรรษที่ 19 มีทฤษฎีหลักการเติบโตของประชากร ที่เสนอโดยนักเศรษฐศาสตร์ชาวอังกฤษที่มีชื่อว่า ทอมัส มัลทัส (Thomas Malthus) กล่าวถึงอัตราการเติบโตของผลผลิตทางการเกษตรเป็นแบบลำดับเลขคณิต (เพิ่มด้วยส่วนต่างคงที่ เช่น 2, 4, 6, 8, 10 …) ในขณะที่อัตราการเติบโตของประชากรมนุษย์เป็นลำดับเรขาคณิต (เพิ่มด้วยอัตราทวีคูณแบบคงที่ เช่น 2, 4, 8, 16, 32, …) อีกไม่นาน อาหารจะมีไม่เพียงพอต่อการเลี้ยงมนุษย์ทั่วทั้งโลกอย่างแน่นอน ถ้าการค้นพบครั้งสำคัญของ ฟริตซ์ ฮาร์เบอร์ ไม่เกิดขึ้น

ในปี 1909 ฟริตซ์ ฮาเบอร์ ร่วมงานกับ คาร์ล บอสช์ (Carl Bosch) คิดค้นกระบวนการจับไนโตรเจนในอากาศได้สำเร็จ และสามารถผลิตแอมโมเนียในระดับอุตสาหกรรมเพื่อนำไปผลิตเป็นปุ๋ยเคมีได้ในเวลาต่อมา มีการประเมินว่าปุ๋ยที่ผลิตได้จากกระบวนการที่เขาค้นพบสามารถหล่อเลี้ยงคนได้มากถึง 1 ใน 3 ของประชากรโลก ถือว่าฮาร์เบอร์ได้สร้างคุณประโยชน์ด้วยการช่วยชีวิตมนุษยชาติจากความหิวโหย

การทำงานด้านวิทยาศาสตร์เคมีของ ฟริตซ์ ฮาร์เบอร์ และนักวิจัยท่านอื่น
ที่มาภาพ: United States Holocaust Memorial Museum, courtesy of Leorah Kroyanker

บิดาแห่งสงครามเคมี

แต่ขณะเดียวกัน ฟริตซ์ ฮาเบอร์ ยังได้ชื่อว่าเป็น บิดาแห่งสงครามเคมี (Father of Chemical Warfare) เพราะเขายังมีผลงานช่วยรัฐบาลพัฒนาแก๊สพิษที่ใช้เป็นอาวุธในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 อีกด้วย ไม่ว่าจะเป็น แก๊สมัสตาร์ด (mustard) แก๊สคลอรีน (chlorine) และแก๊สฟอสจีน (phosgene)

ฟริตซ์ ฮาร์เบอร์ เป็นทหารชั้นแนวหน้า นำกองกำลังจากเยอรมนีโจมตีข้าศึกด้วยแก๊สคลอรีน ที่เขาพัฒนาขึ้นมา
ที่มาภาพ: Archiv der Max Planck Gesselschaft, Berlin

หลายคนรอบตัวไม่เห็นด้วยกับฮาร์เบอร์ รวมถึงภรรยาของเขา คลารา อิมเมอร์วาห์ (Clara Immerwahr) ซึ่งมีปากเสียงกัน เพราะไม่อยากให้เขาใช้วิทยาศาสตร์มาเข่นฆ่าผู้คน ฮาเบอร์ประนามภรรยาว่า “ไม่รักชาติ” และได้ตอบโต้ไปว่า “ในยามสันติ นักวิทยาศาสตร์ทำเพื่อมนุษยชาติ ส่วนในยามสงคราม นักวิทยาศาสตร์ทำเพื่อประเทศชาติ” จนในปี 1915 คลาราก็ตัดสินใจจบชีวิตตนเองด้วยปืนสั้นของสามี

หลังจบสงครามโลกครั้งที่ 1 ในเวลาต่อมา อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ก็ขึ้นเป็นใหญ่ในประเทศเยอรมนี แต่แทนที่จะตอบแทนคนจงรักภักดีกับชาติด้วยรางวัล ฮาร์เบอร์ซึ่งมีเชื้อสายยิว กลับถูกโจมตีจากทางรัฐบาล ลูกทีมนักวิจัยถูกไล่ออกจนหมด แก๊สพิษไซคลอนบี (Zyklon B) ที่พัฒนาโดยสถาบันวิจัยของฮาร์เบอร์ ถูกนำมาใช้สังหารญาติพี่น้องชาวยิวของเขา ส่วนตัวฮาร์เบอร์ต้องร่อนเร่พเนจรออกจากประเทศที่เขารัก ไปทั่วทวีปยุโรป และจบชีวิตลงในวัย 65 ปี ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์

คลารา อิมเมอร์วาห์ (Clara Immerwahr) นักเคมีชาวเยอรมัน ผู้แต่งงานเป็นภรรยาของ ฟริตซ์ ฮาร์เบอร์ เป็นเหตุให้ต้องเสียใจกับการกระทำนั้นจนวันตาย
ที่มาภาพ: Wikipedia

เรื่องราวน่าสนใจของ ฟริตซ์ ฮาเบอร์ ยังมีเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย น่าติดตามอีกหลายอย่าง ถ้าหากว่ามีโอกาส The Principia จะทำหน้าที่หยิบยกเรื่องราวเหล่านั้นมาให้ทุกคนอีกแน่นอน รอติดตามด้วยนะครับ

อ้างอิง

คน(ไม่) สำคัญ – ฟริตซ์ ฮาเบอร์ บิดาแห่งการปฏิวัติเขียว และสงครามเคมี

นักเคมีรางวัลโนเบล Fritz Haber เทวาหรือซาตาน

ฟริทซ์ ฮาเบอร์ วีรบุรุษนักเคมีผู้ปราดเปรื่องหรืออาชญากรใจบาปในสงครามเคมี?

Tags: Chemical WarfareChemistchlorine gasFritz HaberGermanymustard gasnitratenitritenitrogenphosgene gasworld war I
Tanakrit Srivilas

Tanakrit Srivilas

Jack of all trades, passionate about Biotechnology, Molecular genetics, Evolutionary biology, and Communication.

Related Posts

เปิดไฟล์โปรเจ็กต์ A119 แผนยิงระเบิดใส่ดวงจันทร์
Astronomy

เปิดไฟล์โปรเจ็กต์ A119 แผนยิงระเบิดใส่ดวงจันทร์

byChinapong Lienpanich
31/12/2022
ชายผู้ยุติโรคมรณะที่ชื่อว่า “โรคพิษสุนัขบ้า”
Biology

ชายผู้ยุติโรคมรณะที่ชื่อว่า “โรคพิษสุนัขบ้า”

byTanakrit Srivilas
27/12/2022
ถ้วยฟุตบอลโลกทำจากอะไร?
Material Science

ถ้วยฟุตบอลโลกทำจากอะไร?

byTanakrit Srivilas
19/12/2022
เทคโนโลยี “Must Have” สำหรับฟุตบอลโลก 2022
Material Science

เทคโนโลยี “Must Have” สำหรับฟุตบอลโลก 2022

byTanakrit Srivilas
13/11/2022
The Principia

ส่งเสริมสังคมสร้างสรรค์ ด้วยการสื่อสารวิทยาศาสตร์

© 2021 ThePrincipia. All rights reserved.

The Principia Media

About Us
Members
Contact Us
theprincipia2021@gmail.com

Follow us

No Result
View All Result
  • ข่าว
  • เทคโนโลยี
    • หุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์
    • วิศวกรรม
    • ยานพาหนะ
    • พลังงาน
    • เทคโนโลยีอาหาร
    • เทคโนโลยีการคำนวณ
    • เทคโนโลยีอวกาศ
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
    • วิทยาศาสตร์สุขภาพ
    • ชีววิทยาโมเลกุล
    • วิวัฒนาการ
    • สัตววิทยา
    • พฤกษศาสตร์
    • จุลชีววิทยา
    • กีฏวิทยา
    • นิเวศวิทยา
  • ดาราศาสตร์
    • ฟิสิกส์ดาราศาสตร์
    • จักรวาลวิทยา
    • วิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์
  • อื่น ๆ
    • ศิลปะ & วัฒนธรรม
    • คณิตศาสตร์
    • ประวัติศาสตร์
    • จิตวิทยา
    • ปรัชญา
    • วิทยาศาสตร์การกีฬา
    • Sci-fi
  • ร้านค้า