ทีมนักวิจัยสหวิทยาการจากแผนกพืชสวนสิ่งแวดล้อมของวิทยาลัยแพทยศาสตร์ UF ได้ศึกษาเกี่ยวกับผลของการทำสวนต่อสุขภาพจิตโดยการศึกษานี้เกิดขึ้นที่สวนพฤกษาศาสตร์ของมหาวิทยาลัย
โดยให้ผู้หญิงจำนวน 35 คน ที่มีอายุระหว่าง 26-49 ปี ซึ่งในกลุ่มตัวอย่างนี้ทุกคนล้วนมีสุขภาพที่ดีเยี่ยม ซึ่งหมายความว่าพวกเขาได้รับการตรวจคัดกรองลักษณะต่าง ๆ รวมถึงความผิดปกติด้านสุขภาพเรื้อรัง การใช้บุหรี่ และการใช้ยาผิดวิธี โดยกลุ่มตัวอย่างประมาณครึ่งหนึ่งจะได้ทำกิจกรรมจัดสวนและอีกส่วนจะทำงานศิลปะเป็นจำนวน 2 ครั้งต่อสัปดาห์ติดต่อกัน 8 สัปดาห์ โดยกลุ่มการทำสวนผู้เข้าร่วมได้เรียนรู้วิธีการเปรียบเทียบและหว่านเมล็ดปลูกพืชชนิดต่าง ๆ และเก็บเกี่ยว ลิ้มรสพืชที่กินได้ ส่วนผู้ที่อยู่ในกลุ่มของการทํางานศิลปะได้เรียนรู้เทคนิคต่าง ๆ เช่น การทํากระดาษ ศิลปะภาพพิมพ์ การวาดภาพและการทำภาพปะติด
หลังจากการทดสอบพบว่ากิจกรรมทั้ง 2 มีผลลดความเครียด ความวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้าได้ทั้งคู่แต่ทว่าการทำสวนจะช่วยลดความวิตกกังวลได้มากกว่าการทำงานศิลปะเล็กน้อย
โดยทางผู้จัดการทดลองนี้ต้องการแสดงให้เห็นว่าการทำสวนมีผลต่อการบำบัดสุขภาพจิต โดยคาดหวังว่าในอนาคตจะมีการใช้พืชเข้าร่วมในการบำบัดรักษาภายในสถานพยาบาลต่าง ๆ ซึ่งวิธีนี้เคยใช้กันมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 โดยเรียกวิธีการบำบัดนี้ว่า ‘therapeutic horticulture’
แล้วทำไมการอยู่ใกล้ต้นไม้ถึงทำให้เรารู้สึกดี? คำตอบอาจพบได้ในบทบาทสำคัญของพืชในวิวิฒนาการของมนุษย์การเพิ่มขึ้นของอารยธรรม (ผู้เขียนงานวิจัยอธิบาย) โดยพวกเราจะมีความสนใจพืชโดยธรรมชาติแต่กำเนิดเพราะเราพึ่งพาพวกมันเป็นอาหารที่พักพิงและวิธีการอื่น ๆ ในการอยู่รอดของเรา
นักวิจัยตั้งข้อสังเกต ไม่ว่าเหตุผลลึก ๆ จะเป็นอย่างไรผู้เข้าร่วมการศึกษาหลายคนออกจากการทดลองด้วยความหลงใหลที่ค้นพบใหม่
อย่างไรก็ตามการทําสวนหรือการทําศิลปะไม่ได้มีอิทธิพลอย่างชัดเจนต่ออัตราการเต้นของหัวใจ ความดันโลหิตหรือส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด