• ข่าว
  • เทคโนโลยี
    • หุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์
    • วิศวกรรม
    • ยานพาหนะ
    • พลังงาน
    • เทคโนโลยีอาหาร
    • เทคโนโลยีการคำนวณ
    • เทคโนโลยีอวกาศ
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
    • วิทยาศาสตร์สุขภาพ
    • ชีววิทยาโมเลกุล
    • วิวัฒนาการ
    • สัตววิทยา
    • พฤกษศาสตร์
    • จุลชีววิทยา
    • กีฏวิทยา
    • นิเวศวิทยา
  • ดาราศาสตร์
    • ฟิสิกส์ดาราศาสตร์
    • จักรวาลวิทยา
    • วิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์
  • อื่น ๆ
    • ศิลปะ & วัฒนธรรม
    • คณิตศาสตร์
    • ประวัติศาสตร์
    • จิตวิทยา
    • ปรัชญา
    • วิทยาศาสตร์การกีฬา
    • Sci-fi
  • ร้านค้า
No Result
View All Result
The Principia
  • ข่าว
  • เทคโนโลยี
    • หุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์
    • วิศวกรรม
    • ยานพาหนะ
    • พลังงาน
    • เทคโนโลยีอาหาร
    • เทคโนโลยีการคำนวณ
    • เทคโนโลยีอวกาศ
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
    • วิทยาศาสตร์สุขภาพ
    • ชีววิทยาโมเลกุล
    • วิวัฒนาการ
    • สัตววิทยา
    • พฤกษศาสตร์
    • จุลชีววิทยา
    • กีฏวิทยา
    • นิเวศวิทยา
  • ดาราศาสตร์
    • ฟิสิกส์ดาราศาสตร์
    • จักรวาลวิทยา
    • วิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์
  • อื่น ๆ
    • ศิลปะ & วัฒนธรรม
    • คณิตศาสตร์
    • ประวัติศาสตร์
    • จิตวิทยา
    • ปรัชญา
    • วิทยาศาสตร์การกีฬา
    • Sci-fi
  • ร้านค้า
No Result
View All Result
The Principia
No Result
View All Result

การเดินทางกลับสู่ดวงจันทร์อีกครั้งกับภารกิจ Artemis

Peeravut BoonsatbyPeeravut Boonsat
02/09/2022
in Astronomy, Space Tech
A A
0
การเดินทางกลับสู่ดวงจันทร์อีกครั้งกับภารกิจ Artemis

ที่มา : https://www.nasa.gov/feature/goddard/2020/artemis-i-demonstrating-the-capabilities-of-nasa-s-united-networks

Share on FacebookShare on Twitter

เป็นเวลากว่า 50 ปีนับตั้งแต่ภาพถ่ายทอดสดของกล้องหน้ารถโรเวอร์บนดวงจันทร์เมื่อภารกิจอะพอลโล่ 17 มนุษยชาติก็ไม่เคยกลับไปเหยียบดวงจันทร์ ทั้งนี้เนื่องจากผลกระทบของสงครามเวียดนามส่งผลให้งบประมาณส่วนใหญ่ทุ่มเทให้กับสงครามที่กำลังคุกกรุ่นอยู่ที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พร้อมกันนั้นกระแสต่อต้านของประชาชนชาวอเมริกาในตอนนั้นที่มองว่าการเดินทางไปอวกาศคือการนำทรัพยากรไปใช้โดยไร้ประโยชน์ ทำให้โครงการอพอลโล่ต้องถูกยกเลิกไป

แต่ทว่าในอีกหลายปีต่อมาผู้นำจากหลากหลายประเทศต่างก็ตระหนักได้ว่าการสำรวจอวกาศได้ทำให้มนุษย์พัฒนาต่อยอดเทคโนโลยีได้อย่างก้าวกระโดดซึ่งได้ส่งต่อมรดกตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน

นักบินอวกาศในโครงการ Apollo 17 เก็บตัวอย่างหินและดินบนดวงจันทร์
ที่มา :Collecting Lunar Samples on Apollo 17 Spacewalk | NASA

ดังนั้นเองนาซ่าจึงได้ประกาศที่จะนำพามนุษย์กลับไปยังดวงจันทร์อีกครั้ง โดยในครั้งนี้ไม่ใช่เพื่อการลงจอดเพื่อไปปักธงแล้วกลับมาแต่เป็นการเตรียมการสำหรับการออกเดินทางสู่ห้วงอวกาศอันไกลโพ้นและขยายขอบเขตการสำรวจและถิ่นฐานของมนุษย์ให้แผ่ขยายออกไป โดยจุดมุ่งหมายโดยลึก ๆ ของมนุษยชาติในตอนนี้ก็คือดาวอังคาร แต่ทว่าการตั้งถิ่นฐานบนดาวอังคารเราจำเป็นต้องพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อรองรับสภาพแวดล้อมอันสุดโต่งของดาวเคราะห์ดวงนี้ ดังนั้นเองดวงจันทร์ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างโลกและดาวอังคารจึงเป็นจุดหมายที่เหล่านักดาราศาสตร์ทั่วโลกต่างให้ความสนใจและเป็นเป้าหมายของภารกิจที่กำลังจะเกิดขึ้นในอีกไม่นานต่อจากนี้

ภารกิจ Artemis

โลโก้ภารกิจ Artemis ที่มา : Artemis program – Wikipedia

จุดเริ่มต้นของภารกิจอาร์เทมิสเริ่มขึ้นเมื่อปี 2019 จิม ไบรเดนสไตน์ (Jim Bridenstine) ผู้อำนวยการนาซ่าในขณะนั้นได้ออกมาประกาศภารกิจที่จะพามนุษย์กลับไปยังดวงจันทร์ภายในปี 2024 (ตอนมาเลื่อนเป็น 2025) โดยการกลับไปดวงจันทร์ครั้งนี้เป็นเหมือนการเตรียมความพร้อมสำหรับการตั้งถิ่นฐานบนดาวเคราะห์ดวงอื่น ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตโดยเฉพาะดาวอังคารซึ่งจะเป็นดาวเคราะห์ดวงแรกที่เราจะเข้าไปตั้งถิ่นฐาน

ทำให้เราอาจเปรียบเทียบได้ว่าการตั้งถิ่นฐานบนดวงจันทร์ก็เหมือนกับกระบะทราย (Sandbox) ที่ใช้ทดสอบและพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่จำเป็นในอนาคตในการตั้งถิ่นฐาน แพร่ขยายและเพิ่มพูนการสำรวจออกไปยังห้วงลึกของอวกาศ

โดยโครงการนี้มิใช่ความสำเร็จของนาซ่าเพียงอย่างเดียวแต่เป็นความสำเร็จของมนุษยชาติทุกคนเนื่องจากเป็นความร่วมมือทั้งจากข้อตกลงในระดับนานาชาติและความร่วมมือจากบริษัทเอกชนที่พร้อมเป็นส่วนหนึ่งในภารกิจอันยิ่งใหญ่นี้

อะไรคือสิ่งที่เราจะได้รับจากการกลับไปครั้งนี้

ตลอดระยะเวลา 50 ปีมานี้ มนุษย์ได้บ่มเพาะและพัฒนาเทคโนโลยีอยู่เสมอจนกระทั้งในโครงการอาร์ทิมิสถือเป็นการเปิดตัวเทคโนโลยีใหม่ ๆ ซึ่งจะถูกใช้ในการตั้งถิ่นฐานและการเดินทางบนอวกาศในอนาคตไม่ว่าจะเป็น Space Launch System หรือ SLS จรวดที่ทรงพลังที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ หรือแม้แต่แคปซูลโดยสารโอไรออนที่ถูกพัฒนาจากความร่วมมือของนาซ่าและ ESA หรือองค์การอวกาศสหภาพยุโรป

จรวด SLS ที่ถูกติดตั้งที่ยานอวกาศโอไรออนเรียบร้อย
ที่มา :Space Launch System – Wikipedia

โดยความทรงพลังของจรวดรุ่นใหม่ SLS นี้นาซ่าได้เปิดเผยว่าด้วยจรวดรุ่นใหม่นี้ เราจะสามารถบรรทุกสัมภาระปริมาณ 27 ตันเพื่อเดินทางไปยังดวงจันทร์ได้

นอกจากจรวดและยานอวกาศรุ่นใหม่ซึ่งถูกทดสอบมาจนกว่าจะแน่ใจว่าพร้อมสำหรับการปล่อยในภารกิจทดสอบบินจริงใน ภารกิจอาร์ทิมิส 1 แล้ว ในภารกิจอาร์ทิมิส 3 นี้เราจะกลับไปเหยียบดวงจันทร์อีกครั้งโดยในครั้งนี้จะเป็นการส่งนักบินอวกาศจำนวน 4 คนขึ้นไปโดยจะมีเพียง 2 คนเท่านั้นที่ได้เหยียบบนพื้นผิวของดวงจันทร์โดยกำหนดให้คนแรกเป็นนักบินอวกาศหญิงเพื่อแสดงให้เห็นว่าอวกาศมิใช่พื้นที่สำหรับเพศใดเพศหนึ่ง แต่คือพื้นที่ของเราทุก ๆ คนโดยไม่จำกัดเพศหรือเชื้อชาติ

นอกจากนี้การกลับลงไปเหยียบบนดวงจันทร์แล้ว เรายังได้ส่งอุปกรณ์ทดลองและสำรวจต่าง ๆ เพื่อเก็บข้อมูลของดวงจันทร์เพิ่มเติมเพื่อศึกษาต่อในอนาคตซึ่งจะเพิ่มพูนองค์ความรู้ของเรา รวมทั้งการสร้างอาณานิคมซึ่งจะเป็นสนามทดลองและพัฒนาเทคโนโลยีที่จะใช้การดำรงชีวิตและตั้งถิ่นฐานในอนาคต โดยตำแหน่งในการจัดตั้งอาณานิคมจะอยู่ใกล้กับหลุมอุกกาบาตแชคเกอตัน ณ บริเวณขั้วใต้ของดวงจันทร์โดยตำแหน่งนี้เหมาะสมสำหรับการขุดเจาะน้ำแข็งซึ่งจะถูกนำมาใช้ในอาณานิคมของมนุษย์ในอนาคตและมีอุณหภูมิที่ไม่ผันผวนเท่ากับบริเวณเส้นศูนย์สูตรของดวงจันทร์ และบริเวณนี้ยังได้รับแสงอาทิตย์ต่อเนื่องตลอดเวลา

แต่ทว่าการขนส่งสัมภาระไปยังตำแหน่งที่จะตั้งอาณานิคมที่บริเวณขั้วใต้ของดวงจันทร์นั้นจำเป็นต้องมีการปรับวงโคจรและขั้นตอนที่ยุ่งยาก ทางนาซ่าเล็งเห็นถึงปัญหาที่เกิดจากความยุ่งยากนี้จึงได้ริเริ่มโครงการสร้างสถานีอวกาศ ลูน่าเกตเวย์ ซึ่งจะเป็นทั้งจุดแวะพักเติมสเบียงและเชื้อเพลิงสำหรับยานอวกาศที่จะเดินทางไปดาวอังคารในอนาคตและยังเป็นตัวกลางเชื่อมต่อระหว่างการปฏิบัติหน้าที่บนพื้นผิวดวงจันทร์กับโลก ซึ่งลูน่าเกตเวย์ นี้เกิดจากการลงนามข้อตกลงในสัญญาระหว่างนาซ่า สหภาพยุโรป ญี่ปุ่นและแคนาดาในการร่วมกันผลิตโมดูลและส่วนประกอบของสถานีอวกาศลูน่าเกตเวย์ โดยมีจรวด Falcon Heavy ของ SpaceX  ทำหน้าที่ขนส่งชิ้นส่วนของลูน่าเกตเวย์ โดยทางข้อมูลเบื้องต้นของลูนาร์เกตเวย์ในเฟสแรกจะมีขนาดประมาณ 1 ใน 6 ของสถานีอวกาศนานาชาติหรือ ISS ในปัจจุบัน

ภาพจำลองของลูน่าเกตเวย์เมื่อก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ ที่มา NASA

นอกจากนี้ในอนาคตเมื่อเกิดการตั้งถิ่นฐานขึ้นบนดาวอังคาร การติดต่อสื่อสารจะถือเป็นปัญหาใหญ่อันเนื่องจากในปัจจุบันการติดต่อสื่อสารในปัจจุบันเราใช้การติดต่อผ่านคลื่นวิทยุซึ่งจะใช้เวลา 4 ถึง 20 นาทีในการติดต่อจากดาวอังคารมายังโลกซึ่งขึ้นอยู่กับตำแหน่งของดาวอังคารในแต่ละช่วงปี ทำให้เราไม่อาจทราบปัญหาที่เกิดขึ้นบนดาวอังคารได้แบบเรียลไทม์ได้ ดังนั้นการเริ่มสร้างอาณานิคมบนดวงจันทร์จึงเป็นการเตรียมความพร้อมสำหรับอาณานิคมอื่น ๆ ที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต

ภาพรวมโครงการ

ในปัจจุบันนาซ่าได้ออกมาประกาศรายละเอียดของโครงการอาร์ทิมิสถึง 6 ภารกิจด้วยกัน โดยมีรายละเอียดดังนี้

  • อาร์ทิมิส 1 (วันที่ 29 สิงหาคม ปี 2022) ทดสอบจรวด SLS แล้วส่งยานอวกาศโอรออนแบบไร้คนขับไปโคจรรอบดวงจันทร์
แผนผังการเดินทางของอาร์ทิมิส 1 ที่มา :Artemis I Map | NASA
  • อาร์ทิมิส 2 (ปี 2024) ส่งนักบินอวกาศ 3 คนไปโคจรรอบดวงจันทร์กับยานอวกาศโอไรออน
แผนผังการเดินทางของอาร์ทิมิส 2 ที่มา : Artemis 2 – Wikipedia
  • อาร์ทิมิส 3 (ปี 2025-2026) ส่งนักบินอวกาศไปบนวงโคจรของดวงจันทร์ 4 คน โดยมี 2 คนที่จะได้ลงไปเหยียบพื้นผิวดวงจันทร์เป็นครั้งแรกในรอบ 50 กว่าปี ซึ่งคนแรกนั้นถูกกำหนดไว้ให้เป็นผู้หญิงอีกด้วย
แผนผังการเดินทางของอาร์ทิมิส 3 ที่มา :Artemis 3 – Wikipedia
  • อาร์ทิมิส 4 (ปี 2027) ส่งนักบินอวกาศ 4 คนไปยังวงโคจรของดวงจันทร์ พร้อมกับนำโมดูลที่อยู่อาศัย I-HAB ของลูนาร์เกตเวย์ไปติดตั้ง
  • อาร์ทิมิส 5 (ปี 2027) กลับสู่พื้นผิวดวงจันทร์พร้อมกับนำโรเวอร์ไปขับเล่น ในขณะที่ติดตั้งส่วนการสื่อสาร ESPIRIT บนลูนาร์เกตเวย์
  • อาร์ทิมิส 6 (ปี 2028) ลงจอดดวงจันทร์ครั้งที่ 3 ของโครงการและนำแอร์ล็อคไปติดบนลูนาร์เกตเวย์สำหรับไว้ซ่อมแซมสถานีและทำการทดลองต่าง ๆ

29 สิงหาคม 2022 วินาทีแห่งประวัติศาสตร์ที่โลกต้องจารึก

วันที่ 29 สิงหาคมหรืออีกไม่กี่ชั่วโมงต่อจากนี้ (28 สิงหาคม) ณ ฐานปล่อยหมายเลข 39B ศูนย์อวกาศเคเนดี้ รัฐฟลอริด้า ภายหลังการทดสอบนับครั้งไม่ถ้วนเพื่อความแน่ใจก่อนการทดสอบบินจริง ในที่สุดจรวดซึ่งจะพาเรากลับไปยังดวงจันทร์ก็พร้อมแล้วในที่สุด โดยภารกิจอาร์ทิมิส 1 จะกินเวลาประมาณ 42 วันนับตั้งแต่วินาทีการปล่อยจนกระทั้งตัวยานกลับลงสู่พื้นโลกอีกครั้ง

โดยท่านสามารถรับชมวินาทีประวัติศาสตร์นี้ได้ผ่านไลฟ์ยูทูปของนาซ่าได้ตามลิงก์นี้ (15) Artemis I Launch to the Moon (Official NASA Broadcast) – YouTube

สุดท้ายนี้ การออกสู่อวกาศของเราในครั้งนี้มิใช่การที่เราละทิ้งโลกหรือดวงดาวมาตุภูมิที่อุ้มชูชีวิตเราตั้งแต่อดีต แต่เป็นการทำให้โลกนั้นดีขึ้น เราไม่อาจปฏิเสธได้ว่าเทคโนโลยีที่เราใช้อยู่ในชีวิตประจำวันเป็นผลพลอยได้จากการออกสำรวจอวกาศในอดีต หากไร้ซึ่งการสำรวจในอดีตเราคงไม่มีคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล เครื่องกรองอากาศ อาหารแช่แข็งอบแห้ง (Freeze Dried) และอื่น ๆ อีกมากมาย นอกจากนี้การออกสำรวจอวกาศยังเป็นการขยายขอบเขตของเทคโนโลยีอย่างก้าวกระโดด นอกจากนี้ในแง่ของทรัพยากรแล้ว ณ ดินแดนอันไร้ขอบเขตนี้อาจจะเป็นคำตอบของการแก้ไขปัญหาทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดบนโลก

อ้างอิง

NASA Artemis

Artemis I: Demonstrating the Capabilities of NASA’s United Networks | NASA

Lunar Gateway – Wikipedia

Artemis 2 – Wikipedia

Artemis 3 – Wikipedia

Space Launch System – Wikipedia

SLS Reference Guide 2022 Print Version (nasa.gov)

Tags: artemisastronomygoto the moonnasa
Peeravut Boonsat

Peeravut Boonsat

ผมคือนิวไทป์ผู้บ้าชีววิทยา เพราะชีวะคือชีวิต ถ้าอยากมีชีวิตให้รักเด็กชีวะนะครับ

Related Posts

โลกพ้นภัย ดาวเคราะห์น้อย 2023BU เฉียดโลกมากที่สุด
Astronomy

โลกพ้นภัย ดาวเคราะห์น้อย 2023BU เฉียดโลกมากที่สุด

byPeeravut Boonsat
29/01/2023
เปิดไฟล์โปรเจ็กต์ A119 แผนยิงระเบิดใส่ดวงจันทร์
Astronomy

เปิดไฟล์โปรเจ็กต์ A119 แผนยิงระเบิดใส่ดวงจันทร์

byChinapong Lienpanich
31/12/2022
รูหนอนในฟิสิกส์ กับ Bifrost (God of war: Ragnarok)
Cosmology

รูหนอนในฟิสิกส์ กับ Bifrost (God of war: Ragnarok)

byTakol Tangphati
15/12/2022
mu Space เชิญสื่อร่วมฟังอัปเดตเทคโนโลยีล่าสุดภายในงาน TECHDAY 2022
Astronomy

mu Space เชิญสื่อร่วมฟังอัปเดตเทคโนโลยีล่าสุดภายในงาน TECHDAY 2022

byTakol Tangphatiand2 others
11/12/2022
The Principia

ส่งเสริมสังคมสร้างสรรค์ ด้วยการสื่อสารวิทยาศาสตร์

© 2021 ThePrincipia. All rights reserved.

The Principia Media

About Us
Members
Contact Us
theprincipia2021@gmail.com

Follow us

No Result
View All Result
  • ข่าว
  • เทคโนโลยี
    • หุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์
    • วิศวกรรม
    • ยานพาหนะ
    • พลังงาน
    • เทคโนโลยีอาหาร
    • เทคโนโลยีการคำนวณ
    • เทคโนโลยีอวกาศ
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
    • วิทยาศาสตร์สุขภาพ
    • ชีววิทยาโมเลกุล
    • วิวัฒนาการ
    • สัตววิทยา
    • พฤกษศาสตร์
    • จุลชีววิทยา
    • กีฏวิทยา
    • นิเวศวิทยา
  • ดาราศาสตร์
    • ฟิสิกส์ดาราศาสตร์
    • จักรวาลวิทยา
    • วิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์
  • อื่น ๆ
    • ศิลปะ & วัฒนธรรม
    • คณิตศาสตร์
    • ประวัติศาสตร์
    • จิตวิทยา
    • ปรัชญา
    • วิทยาศาสตร์การกีฬา
    • Sci-fi
  • ร้านค้า