“ข้าขอสาบานต่อแพทย์อะพอลโล เอสคิวเลเฟียส ไฮจีเอีย แพนาซีอา และเหล่าทวยเทพ ได้โปรดเป็นพยานว่า ข้าจะปฏิบัติตามคำสาบานและคำมั่นนี้อย่างเต็มความสามารถและสติปัญญาของข้า…”
วิชาที่เก่าแก่พอ ๆ กับการดำรงอยู่ของมนุษยชาติคือ การแพทย์ (Medicine) เมื่อเรารู้สึกว่าร่างกายของเรานั้นมีอะไรผิดปรกติไป เราแสวงหาทางที่ทำให้เรากลับมาใช้ชีวิตปกติได้ ในอดีตมนุษย์เชื่อว่าอาการเจ็บป่วยเกิดจากสิ่งเร้นลับ พลังเหนือธรรมชาติ แต่แล้วในช่วงศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสตกาล แพทย์ชาวกรีกนามว่าฮิปโปเครติส (Hippocrates) ได้วางรากฐานให้การแพทย์แบบใหม่
Hippocrates เป็นแพทย์ในยุคคลาสสิกของอารยธรรมกรีก (Greece’s Classical period) เขาได้รับยกย่องให้เป็นบิดาแห่งการแพทย์ ผลงานอย่าง Corpus Hippocraticum (The Hippocratic Collection) วางรากฐานให้กับการแพทย์ยุคโบราณ งานเขียนเล่มนี้กล่าวถึงกายวิภาคศาสตร์ของคนและสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ โรคในผู้หญิงและเด็ก การรักษาและผ่าตัด รวมไปถึงคำปฏิญาณตนเพื่อปวารณาตนเป็นแพทย์ คำสัตย์ที่ให้ไว้ถือเป็นกรอบจริยธรรมทางการแพทย์ที่ส่งผลต่อแนวคิดจริยธรรมการแพทย์ในปัจจุบันอีกด้วย
คำปฏิญาณนี้ถูกเรียกว่า คำปฏิญาณฮิปโปเครติส (Hippocratic Oath) ที่เหล่านักเรียนแพทย์ต้องกล่าวให้คำมั่นสัญญาต่ออาจารย์และตนเอง รับภาระหน้าที่ในการรักษาอันเป็นประโยชน์เท่านั้น รักษาตามความสามารถและวิจารณญาณของตน ละเว้นการทำอันตรายหรือทำร้ายผู้อื่น ตลอดถึงการใช้ชีวิตเป็นแบบอย่าง ถือว่าเป็นหลักการพื้นฐานที่แพทย์ในสมัยนั้นต้องปฏิบัติตาม ต้นฉบับที่เก่าที่สุดประมาณศตวรรษที่ 10 ถูกเก็บรักษาไว้ที่หอสมุดแห่งวาติกัน (Vatican Library) เป็นเอกสารทางประวัติศาสตร์การแพทย์ที่สำคัญชิ้นหนึ่ง
ผมขอหยิบคำปฏิญาณในภาษาอังกฤษและไทยเต็ม ๆ มาให้ได้อ่านกัน โดยภาษาไทยขออ้างอิงสำนวนการแปลของ ผศ.ภญ.ดร.รวงทิพย์ ตันติปิฎก จากภาษาอังกฤษ Hippocrates of Cos. “The Oath” LCL 147: 298-299 ความว่า
I swear by Apollo Physician, by Asclepius, by Health, by Panacea and by all the gods and goddesses, making them my witnesses, that I will carry out, according to my ability and judgment, this oath and this indenture.
ข้าขอสาบานต่อแพทย์อะพอลโล เอสคิวเลเฟียส ไฮจีเอีย แพนาซีอา และเหล่าทวยเทพ ได้โปรดเป็นพยานว่า ข้าจะปฏิบัติตามคําสาบานและคํามั่นนี้อย่างเต็มความสามารถและสติปัญญาของข้า
To hold my teacher in this art equal to my own parents; to make him partner in my livelihood; when he is in need of money to share mine with him; to consider his family as my own brothers, and to teach them this art, if they want to learn it, without fee or indenture; to impart precept,oral instruction, and all other instruction to my own sons, the sons of my teacher, and to indentured pupils who have taken the physician’s oath, but to nobody else.
ข้าจะเทิดทูนอาจารย์ดังเช่นบิดามารดา และมีท่านเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตข้า หากท่านต้องการเงินทอง ข้าพร้อมจะแบ่งส่วนที่ข้ามี และถือว่าคนในครอบครัวของท่านเป็นดุจพี่น้องร่วมสายโลหิต หากเขาต้องการ ข้าจะสอนสั่งศิลปวิทยาการ โดยไม่คิดค่าจ้างหรือมีข้อผูกมัด ข้าจะพร่ำสอนศีลธรรม คําสั่งสอน และความรู้อื่นที่ข้ามีทั้งหมดให้แก่บุตรของข้า บุตรของอาจารย์และศิษย์ผู้ให้คํามั่นและสาบานตนแล้ว เท่านั้น ไม่สอนให้ผู้อื่นนอกเหนือจากนี้
I will use treatment to help the sick according to my ability and judgment, but never with a view to injury and wrong-doing.
ข้าจะบําบัดรักษาผู้ป่วยเต็มกําลังความสามารถและสติปัญญาของข้า แต่จะไม่ทําให้ผู้ป่วยบาดเจ็บหรือกระทําในสิ่งที่ผิดโดยเด็ดขาด
Neither will I administer a poison to anybody when asked to do so, nor will I suggest such a course. Similarly I will not give to a woman a pessary to cause abortion. But I will keep pure and holy both my life and my art. I will not use the knife, not even, verily, on sufferers from stone, but I will give place to such as are craftsmen
ข้าจะไม่ให้ยาพิษแก่ผู้ใด แม้จะถูกร้องขอ ทั้งจะไม่ให้คําแนะนําเพื่อการนั้น ข้าจะไม่ทําแท้งให้แก่หญิงผู้ใดเช่นเดียวกัน ข้าจะยังความบริสุทธิ์และศักดิ์สิทธิ์ในชีวิตและศิลปวิทยาการของข้า ข้าจะไม่ใช้มีดผ่าตัดเอาก้อนนิ่วออกจากตัวผู้ป่วย แต่จะหลีกทางให้กับผู้ชํานาญในการนี้
ปัจจุบันคำปฏิญาณดังกล่าวมีการปรับปรุงตามยุคสมัยที่เปลี่ยนไป หนึ่งในเวอร์ชันที่สำคัญคือ Declaration of Geneva ที่ร่างในปี 1948 โดย World Medical Association (WMA) ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2
หลักจริยธรรมแพทย์ (Medical ethics) อันมีต้นทางจากคำปฏิญาณตน อันได้แก่ Autonomy (อิสรภาพในการเลือกหรือปฏิเสธวิธีการรักษา), Beneficence (ผู้ประกอบวิชาชีพแพทย์ต้องกระทำเพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้ป่วย), Non-maleficence (ไม่สร้างความอันตรายแก่ผู้ป่วย) และ Justice (ตระหนักถึงการกระจายการเข้าถึงการรักษาและตัดสินใจให้รักษาอย่างยุติธรรม) ฉะนั้นการยึดหลักการจริยธรรมไม่ใช่ถือตามพิธีกรรมเท่านั้น หรือกล่าวคำสัตย์ปฏิญาณเพียงลมจากปาก เพราะนี่คือคำสัญญาที่แพทย์จะให้ต่อผู้รักษาที่ยอมฝากชีวิตไว้ให้ดูแล
อ้างอิง
https://www.britannica.com/summary/Hippocrates
https://www.britannica.com/topic/Hippocratic-oath
https://www.loebclassics.com/…/1923/pb_LCL147.299.xml
https://en.wikipedia.org/wiki/Medical_ethics
https://en.wikipedia.org/wiki/Hippocratic_Oath
https://silpa-mag.com/history/article_71475
https://wma.net/what-we-do/medical-ethics/declaration-of-geneva