• ข่าว
  • เทคโนโลยี
    • หุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์
    • วิศวกรรม
    • ยานพาหนะ
    • พลังงาน
    • เทคโนโลยีอาหาร
    • เทคโนโลยีการคำนวณ
    • เทคโนโลยีอวกาศ
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
    • วิทยาศาสตร์สุขภาพ
    • ชีววิทยาโมเลกุล
    • วิวัฒนาการ
    • สัตววิทยา
    • พฤกษศาสตร์
    • จุลชีววิทยา
    • กีฏวิทยา
    • นิเวศวิทยา
  • ดาราศาสตร์
    • ฟิสิกส์ดาราศาสตร์
    • จักรวาลวิทยา
    • วิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์
  • อื่น ๆ
    • ศิลปะ & วัฒนธรรม
    • คณิตศาสตร์
    • ประวัติศาสตร์
    • จิตวิทยา
    • ปรัชญา
    • วิทยาศาสตร์การกีฬา
    • Sci-fi
  • ร้านค้า
No Result
View All Result
The Principia
  • ข่าว
  • เทคโนโลยี
    • หุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์
    • วิศวกรรม
    • ยานพาหนะ
    • พลังงาน
    • เทคโนโลยีอาหาร
    • เทคโนโลยีการคำนวณ
    • เทคโนโลยีอวกาศ
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
    • วิทยาศาสตร์สุขภาพ
    • ชีววิทยาโมเลกุล
    • วิวัฒนาการ
    • สัตววิทยา
    • พฤกษศาสตร์
    • จุลชีววิทยา
    • กีฏวิทยา
    • นิเวศวิทยา
  • ดาราศาสตร์
    • ฟิสิกส์ดาราศาสตร์
    • จักรวาลวิทยา
    • วิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์
  • อื่น ๆ
    • ศิลปะ & วัฒนธรรม
    • คณิตศาสตร์
    • ประวัติศาสตร์
    • จิตวิทยา
    • ปรัชญา
    • วิทยาศาสตร์การกีฬา
    • Sci-fi
  • ร้านค้า
No Result
View All Result
The Principia
No Result
View All Result

ชัดตาแตก ดวงจันทร์ไททันบริวารของดาวเสาร์ถูกถ่ายโดยเจมส์ เว็บบ์

Peeravut BoonsatbyPeeravut Boonsat
03/12/2022
in Astronomy, News, Planetary Sceince, Space Tech
A A
0
ชัดตาแตก ดวงจันทร์ไททันบริวารของดาวเสาร์ถูกถ่ายโดยเจมส์ เว็บบ์
Share on FacebookShare on Twitter

เป็นเวลากว่า 5 ปีนับตั้งแต่ยาน Cassini ปลดประจำการและได้จมดิ่งลงสู่ดาวเสาร์ เราก็ไม่เคยได้สำรวจดวงจันทร์ไททัน ดาวบริวารของดาวเสาร์ที่น่าประหลาดใจนี้อีกเลย

จากการศึกษาของยาน Cassini–Huygens เมื่อปี 2004 เราทราบว่าดวงจันทร์ไททันนั้นประกอบไปด้วยพื้นดินที่ปกคลุมไปด้วยพื้นน้ำแข็ง แม่น้ำและทะเลถูกเติมเต็มไปด้วยไฮโดรคาร์บอนเหลวและชั้นบรรยากาศที่หนาทึบและมีเพียงแสงสลัว ๆ เท่านั้นที่สาดส่องลงสู่ดินแดนเบื้องล่าง ภายหลังจากที่ยาน Huygens ได้เดินทางไปถึงและได้ลงจอดบนพื้นผิว เราก็ได้ทราบว่าสันฐานของดวงจันทร์ไททันแห่งนี้ ภาพแรกที่เรานึกคือทะเลมีเทนที่เติมเต็มตลอดพื้นผิวคล้ายกับที่โลกเราถูกปกคลุมด้วยน้ำ แต่ทว่าในความเป็นจริงแล้วไฮโดรคาร์บอนบนดาวส่วนใหญ่ระเหยเป็นไอขึ้นไปบนชั้นบรรยากาศก่อนที่ตกลงมาเป็นฝนเติมเต็มทะเลสาบบริเวณขั้วของดวงจันทร์ก่อนที่จะระเหยเป็นไออีกครั้งในหน้าแล้ง นอกจากนี้เรายังพบทะเลสาบหลุมยุบขนาดยักษ์ Kraken Mare ที่เกิดจากการระเบิดของมีเทนทำให้แผ่นดินทรุดตัวลงกลายเป็นทะเลสาบขนาดยักษ์ที่กินบริเวณกว้างกว่า 1,170 กิโลเมตรบนผิวดาว

ในปัจจุบันนั้น ทาง ESA ได้เผยแพร่รูปซึ่งถูกถ่ายโดย NirCam หรือ Near Infrared Camera บนกล้องโทรทรรศน์อวกาศ James Webb ซึ่งเป็นภาพที่ถ่ายในย่านแสงอินฟราเรด จำนวน 2 ภาพซึ่งมีความคมชัดที่สุดที่เคยถ่ายมา โดยภาพแรก (ภาพซ้าย) มีการใช้ Filter พิเศษ เพื่อให้เห็นปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นในชั้นบรรยากาศของดวงจันทร์ไททันได้อย่างชัดเจน ซึ่งในภาพเราจะเห็นกลุ่มเมฆ ในบริเวณ A และ B ในภาพถ่าย รวมถึงกลุ่มหมอกบริเวณขั้วใต้ของดาว ในขณะที่อีกภาพ (ภาพขวา) นั้นเป็นการเอาภาพที่ถ่ายได้จากแสงปกติ ทำให้เรามองเห็นสภาพแวดล้อมตามความเป็นจริงขณะนั้นเพียงแต่จะมองเห็นไม่ได้ชัดเจนเท่ากับภาพแรก แต่ในภาพยังเผยให้เห็นถึง Kraken Mare ที่จะเป็นเป้าหมายในการสำรวจของยานอวกาศในอนาคต หากเราถ่ายภาพในช่วงแสงเดียวกันหลังจากผ่านไป 2 วันเราจะพบกับพลวัตการเปลี่ยนแปลงของชั้นบรรยากาศบนดวงจันทร์ไททันแห่งนี้

โดยการสำรวจไททันนั้น ได้เปิดทางสู่การต่อยอดองค์ความรู้ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น วิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์ ที่เน้นศึกษาธาตุองค์ประกอบของดาว บรรยากาศ และหยาดน้ำฟ้า ไปจนถึงการค้นหาความเป็นไปได้ของการมีสิ่งมีชีวิต

ภาพถ่ายดวงจันทร์ไททันจากกล้องเจมส์เว็บบ์ทั้งสองภาพ
ที่มา : James Webb Space Telescope view of Saturn’s weirdest moon Titan thrills scientists | Space

อ้างอิง

James Webb Space Telescope view of Saturn’s weirdest moon Titan thrills scientists | Space

Tags: astronomyJames Webbnasa
Peeravut Boonsat

Peeravut Boonsat

ผมคือนิวไทป์ผู้บ้าชีววิทยา เพราะชีวะคือชีวิต ถ้าอยากมีชีวิตให้รักเด็กชีวะนะครับ

Related Posts

นักวิทย์เผยซากเอเลี่ยนแห่งเม็กซิโกเป็นของปลอม
News

นักวิทย์เผยซากเอเลี่ยนแห่งเม็กซิโกเป็นของปลอม

byThe Principia
24/09/2023
ปฏิบัติการสำรวจธรรมชาติ: แม่น้ำบ้านเรา
Environment

ปฏิบัติการสำรวจธรรมชาติ: แม่น้ำบ้านเรา

byThe Principia
22/09/2023
รางวัล Ig Nobel 2023 กับงานวิจัยสุดแปลก ตั้งแต่นักวิทย์เลียหินทำไม ไปจนถึงหุ่นยนต์ศพแมงมุม
News

รางวัล Ig Nobel 2023 กับงานวิจัยสุดแปลก ตั้งแต่นักวิทย์เลียหินทำไม ไปจนถึงหุ่นยนต์ศพแมงมุม

byTanakrit Srivilas
20/09/2023
ข้อมูลจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เว็บบ์ พบว่า ในเอกภพของเรามีหลุมดำมวลยิ่งยวดน้อยกว่าที่คิด
Astronomy

ข้อมูลจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เว็บบ์ พบว่า ในเอกภพของเรามีหลุมดำมวลยิ่งยวดน้อยกว่าที่คิด

byThe Principia
24/09/2023
The Principia

ส่งเสริมสังคมสร้างสรรค์ ด้วยการสื่อสารวิทยาศาสตร์

© 2021 ThePrincipia. All rights reserved.

The Principia Media

About Us
Members
Contact Us
theprincipia2021@gmail.com

Follow us

No Result
View All Result
  • ข่าว
  • เทคโนโลยี
    • หุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์
    • วิศวกรรม
    • ยานพาหนะ
    • พลังงาน
    • เทคโนโลยีอาหาร
    • เทคโนโลยีการคำนวณ
    • เทคโนโลยีอวกาศ
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
    • วิทยาศาสตร์สุขภาพ
    • ชีววิทยาโมเลกุล
    • วิวัฒนาการ
    • สัตววิทยา
    • พฤกษศาสตร์
    • จุลชีววิทยา
    • กีฏวิทยา
    • นิเวศวิทยา
  • ดาราศาสตร์
    • ฟิสิกส์ดาราศาสตร์
    • จักรวาลวิทยา
    • วิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์
  • อื่น ๆ
    • ศิลปะ & วัฒนธรรม
    • คณิตศาสตร์
    • ประวัติศาสตร์
    • จิตวิทยา
    • ปรัชญา
    • วิทยาศาสตร์การกีฬา
    • Sci-fi
  • ร้านค้า