• ข่าว
  • เทคโนโลยี
    • หุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์
    • วิศวกรรม
    • ยานพาหนะ
    • พลังงาน
    • เทคโนโลยีอาหาร
    • เทคโนโลยีการคำนวณ
    • เทคโนโลยีอวกาศ
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
    • วิทยาศาสตร์สุขภาพ
    • ชีววิทยาโมเลกุล
    • วิวัฒนาการ
    • สัตววิทยา
    • พฤกษศาสตร์
    • จุลชีววิทยา
    • กีฏวิทยา
    • นิเวศวิทยา
  • ดาราศาสตร์
    • ฟิสิกส์ดาราศาสตร์
    • จักรวาลวิทยา
    • วิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์
  • อื่น ๆ
    • ศิลปะ & วัฒนธรรม
    • คณิตศาสตร์
    • ประวัติศาสตร์
    • จิตวิทยา
    • ปรัชญา
    • วิทยาศาสตร์การกีฬา
    • Sci-fi
  • ร้านค้า
No Result
View All Result
The Principia
  • ข่าว
  • เทคโนโลยี
    • หุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์
    • วิศวกรรม
    • ยานพาหนะ
    • พลังงาน
    • เทคโนโลยีอาหาร
    • เทคโนโลยีการคำนวณ
    • เทคโนโลยีอวกาศ
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
    • วิทยาศาสตร์สุขภาพ
    • ชีววิทยาโมเลกุล
    • วิวัฒนาการ
    • สัตววิทยา
    • พฤกษศาสตร์
    • จุลชีววิทยา
    • กีฏวิทยา
    • นิเวศวิทยา
  • ดาราศาสตร์
    • ฟิสิกส์ดาราศาสตร์
    • จักรวาลวิทยา
    • วิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์
  • อื่น ๆ
    • ศิลปะ & วัฒนธรรม
    • คณิตศาสตร์
    • ประวัติศาสตร์
    • จิตวิทยา
    • ปรัชญา
    • วิทยาศาสตร์การกีฬา
    • Sci-fi
  • ร้านค้า
No Result
View All Result
The Principia
No Result
View All Result

โรคร้ายในปอด เนื่องจากมลพิษในอากาศ

Tanakrit SrivilasbyTanakrit Srivilas
19/11/2022
in Diseases, Environment, Health, Health
A A
0
โรคร้ายในปอด เนื่องจากมลพิษในอากาศ
Share on FacebookShare on Twitter

Hilight

  • มะเร็งปอด เป็นโรคมะเร็งที่คร่าชีวิตคนไปจำนวนมากที่สุดในกลุ่มโรคมะเร็งทั้งหมด อีกทั้งยังเป็นมะเร็งที่พบได้เยอะที่สุดชนิดหนึ่งของโลก
  • อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ มีจำนวนผู้เสียชีวิตจากโรคมะเร็งปอดเป็นอันดับ 1 ของประเทศไทย รวมถึงผู้คนในเชียงใหม่ที่ไม่เคยสูบบุหรี่ รักษาสุขภาพ ก็มีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งปอด
  • นักวิจัยวิเคราะห์ว่า สาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งปอดที่ภาคเหนือของประเทศไทย เกิดจากการสูบบุหรี่ แก๊สเรดอนที่อยู่ในอาคาร และฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) ที่อยู่นอกอาคาร

ในช่วงต้นปีของทุกปี มักจะมีข่าวคราวที่เกี่ยวข้องกับปริมาณฝุ่น PM2.5 ที่อยู่ในอากาศมีปริมาณมากขึ้นทั่วประเทศไทย โดยเฉพาะในเมืองใหญ่ เช่น จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งมีปริมาณฝุ่น PM2.5 เกินมาตรฐานมาตั้งแต่ปี 2007 และเคยมีปริมาณฝุ่น PM2.5 มากที่สุดเป็นอันดับ 1 ของโลกหลายปีต่อเนื่อง

นอกจากนี้ภายในอาคารยังมีสารกัมมันตรังสีที่เรียกว่า เรดอน (Radon) ซึ่งเป็นแก๊สที่ขึ้นมาจากใต้ดิน และมีการศึกษาพบว่าปริมาณเรดอนในอาคารมากที่มาก มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคมะเร็งปอดในเขตภาคเหนือ

มะเร็งปอด เป็นมะเร็งที่พบได้มากที่สุดชนิดหนึ่งของโลก และเป็นโรคที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดในกลุ่มมะเร็งทั้งหมด สาเหตุหลักเกิดได้จาก การสูบบุหรี่ สารเคมีที่กระจายอยู่ในอากาศ ฝุ่นควันต่าง ๆ และควันจากท่อไอเสีย ซึ่งสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งปอดนั้นพบได้ทั่วไป ทำให้ผู้ป่วยบางรายไม่จำเป็นต้องมีประวัติการเป็นมะเร็งในครอบครัวก็สามารถเป็นโรคนี้ได้เช่นกัน

มลพิษทางอากาศที่คนเชียงใหม่จำเป็นจะต้องเผชิญหน้าในทุก ๆ ปี
ที่มา ไทยรัฐ ออนไลน์

ในปีนี้มีข่าวเกี่ยวกับการเป็นโรคมะเร็งปอดของบุคคลที่อายุไม่มาก รักษาสุขภาพอย่างดี ไม่สูบบุหรี่ แต่อาศัยอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งมีปัญหาเรื่องมลภาวะทางอากาศสูงเกินมาตรฐานอยู่บ่อยครั้ง เช่น นพ.กฤตไท ธนสมบัติกุล อาจารย์ประจำศูนย์ระบาดวิทยาคลินิกและสถิติศาสตร์คลินิก มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่ประกาศพบว่าตนเป็นมะเร็งปอดระยะสุดท้ายในวัย 28 ปี ในขณะที่ดูแลร่างกายเป็นอย่างดี รวมถึงการจากไปของ รศ.ดร. ภาณุวรรณ จันทวรรณกูร ผู้เชี่ยวชาญเรื่องผึ้งระดับโลกจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่เคยได้รับรางวัลนักวิจัยดีเด่น และร่วมผลักดันเรื่อง พ.ร.บ.อากาศสะอาด

เมื่อปี 2008 มีการขุดค้นพบสถิติเก่าที่แสดงให้เห็นว่า อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ พบผู้ป่วยและเสียชีวิตจากมะเร็งปอดมากที่สุดในประเทศ ตอนนี้ถึงเวลาหันกลับมาดูสาเหตุ ว่าเกิดอะไรขึ้นกับคุณภาพอากาศของประเทศไทย จนส่งผลกระทบถึงสุขภาพทางเดินหายใจของคนในจังหวัดเชียงใหม่

เมื่อช่วงเดือนมีนาคม ปี 2021 จังหวัดเชียงใหม่มีปริมาณฝุ่นควันที่เป็นมลพิษในอากาศมากเป็นอันดับ 1 ของโลก
ที่มา ประชาชาติธุรกิจ ออนไลน์

มะเร็งปอด เกิดจากอะไร

โรคมะเร็ง เกิดจากความผิดปกติของเซลล์ในอวัยวะต่าง ๆ จนมีการเจริญเติบโตที่มากเกินไปจนกลายเป็นก้อนเนื้อที่มีการลุกลามไปยังอวัยวะข้างเคียง หรืออวัยวะอื่นผ่านระบบทางเดินเลือด และระบบทางเดินน้ำเหลืองได้

โดยข้อมูลในปี 2020 จากกองทุนวิจัยมะเร็งโลก ระบุว่ามะเร็งปอด เป็นมะเร็งที่พบได้มากที่สุดในโลกสำหรับเพศชาย และพบได้มากที่สุดเป็นอันดับสองของโลกสำหรับเพศหญิง (รองจากมะเร็งเต้านม) รวมถึงมะเร็งปอดยังเป็นโรคที่มีผู้เสียชีวิตประมาณ 1 ใน 5 ของผู้ป่วยโรคมะเร็งทุกชนิด ถือว่ามากที่สุดในกลุ่มมะเร็งทั้งหมด

ภาพเอ็กซเรย์ช่องอกที่แสดงให้เห็นถึงมะเร็งปอด
ที่มา Wikipedia

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และโรงพยาบาลมะเร็งลำปาง ตีพิมพ์ผลงานวิจัยลงในวารสารวิชาการชื่อดังอย่าง Nature ศึกษาข้อมูลผู้ป่วยมะเร็ง 8 จังหวัดภาคเหนือ และได้กล่าวไว้ในงานวิจัยว่า สาเหตุการเกิดโรคมะเร็งอันดับที่หนึ่งคือ การสูบบุหรี่ และที่ตามมาติด ๆ เป็นอันดับสองคือ การรับแก๊สเรดอนเข้าสู่ร่างกาย นอกจากนี้ยังมีหมอกควันฝุ่นละอองขนาดเล็ก ทั้ง PM10 และ PM2.5 ก็มีส่วนที่ทำให้เกิดมะเร็งปอดอีกด้วย

โดยสาเหตุการเกิดมะเร็งปอดดังกล่าว ไม่นับผลจากพันธุกรรมหรือปัจจัยทางชีวภาพอื่น ๆ แปลว่า ต่อให้ไม่มีญาติคนใดมีประวัติการเป็นมะเร็งมาก่อน ก็สามารถเกิดโรคมะเร็งได้จากปัจจัยต่าง ๆ ที่กล่าวไปข้างต้น

ผลการศึกษาเรื่องอัตราการเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งปอดของคนภาคเหนือในประเทศไทย เนื่องจากการรับสารเรดอนเข้าสู่ร่างกาย
ที่มา Nature

ควันพิษจากบุหรี่

บุหรี่ เป็นสาเหตุหลักของโรคทางเดินหายใจหลายชนิด เพราะส่วนประกอบที่อยู่ภายในบุหรี่ล้วนเป็นสารเคมีที่ให้โทษต่อร่างกาย เช่น นิโคติน น้ำมันดิน สารหนู ตะกั่ว ปรอท และคาร์บอนมอนออกไซด์ ซึ่งพิษจากบุหรี่ไม่ได้ส่งผลต่อผู้สูบเพียงเท่านั้น แต่การที่ได้รับควันบุหรี่จากคนใกล้ชิดโดยที่ไม่ได้สูบเอง ก็ให้ผลเสียกับสุขภาพทางเดินหายใจเช่นกัน ซึ่งพิษจากบุหรี่ในปัจจุบันเป็นเรื่องที่ทุกคนน่าจะรู้กันอยู่บ้างแล้ว

สารเคมีที่อยู่ในบุหรี่ ส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกายได้ ทั้งต่อตัวผู้สูบเอง และคนรอบข้างที่บังเอิญรับควันบุหรี่เข้าร่างกายแม้จะไม่ได้สูบเอง
ที่มา Pixabay

สิ่งที่มีอันตรายไม่ต่างกัน แต่อาจจะเป็นภัยเงียบที่คนสนใจไม่มากเท่าบุหรี่จริง ๆ นั่นคือ บุหรี่ไฟฟ้า โดยกลไกการทำงานของบุหรี่ไฟฟ้าคือ การใช้ไฟฟ้าทำให้เกิดความร้อนเพื่อระเหยนิโคตินเหลวเข้าสู่ร่างกาย โดยที่ไม่มีควันจากการเผาไหม้ยาสูบเหมือนบุหรี่ทั่วไป

โดยส่วนประกอบหลัก ๆ จากบุหรี่ไฟฟ้าที่เข้าสู่ร่างกาย ได้แก่ นิโคติน ที่ทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น หัวใจเต้นเร็วขึ้น และทำให้เกิดอาการติดการสูบบุหรี่ โพรไพลีนไกลคอลและกลีเซอรีน เป็นส่วนประกอบสำหรับการทำให้เกิดไอ และให้ความชื้น หากสูดดมมาก ๆ อาจก่อให้เกิดการระคายเคืองปอดได้ และเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดหอบหืด รวมถึง สารแต่งกลิ่นและรส ถ้าหากไม่มีการศึกษาให้ดี บางชนิดอาจผสมสารที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย

ในไอของบุหรี่ไฟฟ้าก็สามารถพบสารประกอบอื่น ๆ ที่เป็นอันตรายได้ เช่น โลหะหนัก สารหนู สารกลุ่ม Benzene สารกลุ่ม Formaldehyde รวมถึง PM2.5 ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลเพียงพอว่าบุหรี่ไฟฟ้าทำให้เกิดโรคมะเร็งปอด แต่มีผลการศึกษารับรองว่า การสูบบุหรี่ไฟฟ้าเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมองและโรคปอดอักเสบเฉียบพลัน ซึ่งมีข่าวเมื่อต้นเดือนพฤศจิกายน 2022 พบผู้ป่วยปอดอักเสบรุนแรง (EVALI) จากบุหรี่ไฟฟ้าแล้ว

ความเสี่ยงของโรคต่าง ๆ ที่เกิดจากบุหรี่ไฟฟ้า รวมถึงอันตรายจากสารเคมีที่เป็นองค์ประกอบในควันบุหรี่ไฟฟ้า ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของดีเอ็นเอในเซลล์ปอด หัวใจ และกระเพาะปัสสาวะได้ ทำให้การสูบบุหรี่ไฟฟ้ามีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคมะเร็งได้จริง ๆ

บุหรี่ไฟฟ้ามีกระบวนการทำงานที่แตกต่างจากบุหรี่ธรรมดา แต่ก็ส่งผลเสียต่อร่างกายจากสารเคมีที่เป็นองค์ประกอบภายในเช่นกัน
ที่มา Pixabay

แก๊สเรดอน ภัยร้ายภายในบ้าน

แก๊สเรดอน (Radon) เป็นสารกัมมันตรังสีซึ่งไม่มีสี ไม่มีกลิ่น และไม่สามารถรับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัสใดของมนุษย์ โดยแก๊สเรดอนกำลังเป็นที่สนใจเพราะมันเป็นสาเหตุหลักอันดับที่สองรองจากบุหรี่ เนื่องจากเรดอนสามารถก่อให้เกิดโรคมะเร็งปอดในมนุษย์และสัตว์ได้

จากงานวิจัยในปี 2022 ของสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และโรงพยาบาลมะเร็งลำปาง มีการศึกษาผู้สูงอายุจาก 192 ครัวเรือนใน 8 จังหวัดทางภาคเหนือของประเทศไทย

โดยมีการตรวจวัดปริมาณแก๊สเรดอนภายในบ้านทั้ง 192 หลัง เปรียบเทียบกับการเกิดมะเร็งปอดของผู้อยู่อาศัยในบ้านแต่ละหลัง พบว่าบ้านที่มีการศึกษามีปริมาณของแก๊สเรดอนอยู่ที่ 11 – 405 เบ็กเคอเรลต่อลูกบาศก์เมตร โดยมีมากกว่า 41% ของบ้านที่ศึกษาทั้งหมด ที่มีปริมาณแก๊สเรดอนเกินกว่าที่องค์การอนามัยโลกกำหนดไว้ (กำหนดไว้ที่ 100 เบ็กเคอเรลต่อลูกบาศก์เมตร) โดยบ้านที่มีปริมาณแก๊สเรดอนสูงมักจะเจอผู้ป่วยมะเร็งปอด

พื้นที่ใน 8 จังหวัดภาคเหนือ กับปริมาณเรดอนที่ตรวจวัดได้ในบ้าน 192 หลัง จะเห็นว่ามีหลายพื้นที่มีปริมาณเรดอนเกินกว่า 100 เบ็กเคอเรลต่อลูกบาศก์เมตร ตามที่ WHO ระบุไว้
ที่มา Nature

จังหวัดเชียงใหม่เป็นพื้นที่ที่มีการเกิดแผ่นดินไหวได้ ทางนักวิจัยแสดงแผนที่ความรุนแรงจากการเกิดแผ่นดินไหวที่มีความสัมพันธ์กับรอยเลื่อนมีพลัง และมีความสัมพันธ์กับแก๊สเรดอนที่ลอยขึ้นมาสู่ผิวดินที่มากขึ้น โดนแก๊สเรดอนมีอยู่มากในหินแกรนิต หินไนส์สิกแกรนิต ที่มีอยู่เยอะในจังหวัดเชียงใหม่

แผนที่การเกิดแผ่นดินไหวของประเทศไทย ที่สัมพันธ์กับรอยเลื่อนมีพลัง ที่คาดว่าเป็นช่องเปิดให้แก๊สเรดอนลอยขึ้นมาจากใต้ดินสู่ผิวดิน
ที่มา Nature

คนส่วนใหญ่อาจจะยังไม่รู้ถึงความน่ากลัวของเรดอน และอาจจะไม่รู้ด้วยซ้ำว่าเรดอนมีอยู่เยอะมากในบ้านคนจริง ๆ ที่ภาคเหนือของประเทศไทย งานวิจัยดังกล่าวถือเป็นสัญญาณเตือนให้ทุกคนได้ตระหนักถึงความอันตรายที่คนในเชียงใหม่จะต้องเผชิญอยู่

PM10 และ PM2.5 ฝุ่นละอองขนาดเล็ก ที่ก่อปัญหาขนาดใหญ่

สิ่งสำคัญที่คนในประเทศไทยตระหนักถึงอยู่ทุกปี นั่นคือ อันตรายจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก หรือที่เรียกว่า Particulate Matter (PM) ซึ่งมีขนาดแตกต่างกันไป หากฝุ่นละอองมีเส้นผ่านศูนย์กลางน้อยกว่า 10 ไมครอน จะเรียกว่า PM10 ส่วนฝุ่นละอองที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางน้อยกว่า 2.5 ไมครอน จะเรียกว่า PM2.5

ขนาดของฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM10 และ PM2.5 เปรียบเทียบกับขนาดเส้นผมของมนุษย์
ที่มา United States Environmental Protection Agency (U.S. EPA)

อันตรายของฝุ่นละอองเล็ก ๆ พวกนี้คือ มันเล็กมากเสียจนเรามองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ทำให้เราไม่ทันระวัง และมันยังเล็กมากเสียจนสามารถเข้าสู่ร่างกาย เดินทางลึกเข้าไปจนถึงปอดได้อย่างง่ายดาย รวมถึงอาจเข้าไปสู่กระแสเลือด ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพในส่วนอื่นของร่างกายได้มากมาย เช่น อันตรายต่อหัวใจและสมอง

แต่ถ้าโฟกัสที่อันตรายต่อปอดและทางเดินหายใจ ฝุ่นละอองขนาดเล็กเหล่านี้ส่งผลโดยตรงกับระบบทางเดินหายใจ ทำให้เกิดอาการหอบหืด และเมื่อสะสมไปเป็นระยะเวลานาน อาจกลายเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของดีเอ็นเอ จนเกิดมะเร็งปอดได้ในที่สุด

ฝุ่นละอองขนาดเล็ก ส่วนใหญ่แล้วเกิดจากการเผาไหม้ เช่น การเผาไหม้ของเครื่องยนต์ดีเซล โดยเฉพาะช่วงที่มีการจราจรที่ติดขัด แต่สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดฝุ่นละอองขนาดเล็กจำนวนมากที่ภาคเหนือของประเทศไทยนั้น มาจากไฟป่า ซึ่งอาจเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ หรืออาจเกิดจากฝีมือมนุษย์ รวมถึงยังมาจากการเผาเศษวัชพืชและวัสดุทางการเกษตรจากกิจกรรมการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

การเผาวัสดุเกษตรในพื้นที่โล่ง จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อปี 2020
ที่มา ประชาไท

วิธีแก้ปัญหาคือ การจัดทำระบบข้อมูลเชิงพื้นที่เพื่อติดตามหาสาเหตุและสถานการณ์ให้ได้ทันท่วงที รวมถึงนโยบายจากภาครัฐที่จะช่วยเหลือเกษตรกรเพื่อไม่ให้ต้องเผาวัชพืชและวัสดุในพื้นที่เกษตรกรรม และเพื่อป้องกันไม่ให้เกษตรกรเข้าไปใช้ที่ดินในเขตป่าอนุรักษ์และป่าสงวนแห่งชาติด้วย

รักษาสุขภาพ ควบคู่กับรักษาสภาพอากาศ

วิธีการที่ดีที่สุดที่เราสามารถทำได้เลยในวันนี้คือ การรักษาสุขภาพตัวเอง เช่น กินอาหารที่มีประโยชน์ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่อการก่อโรคมะเร็ง ลดการสูบบุหรี่ลง ใส่หน้ากากที่กันฝุ่นละอองขนาดเล็กในอากาศได้เมื่อออกจากบ้าน ซ่อมแซมรอยร้าวตามพื้นบ้านเมื่อมีโอกาสเพื่อป้องกันการเล็ดลอดของสารเคมีเข้ามาในตัวบ้าน และถ้าหากเป็นไปได้ อาจจะย้ายที่พักอาศัยออกจากพื้นที่เสี่ยง

นอกจากนั้นที่เราทำได้คือ เป็นหนึ่งในกระบอกเสียง ผลักดันหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และมีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดการกับมลพิษในสิ่งแวดล้อม ทั้งในอากาศ และในที่อยู่อาศัย ให้ทำงานอย่างเต็มที่และเป็นระบบ เพื่อผลประโยชน์ของทุกคน

อ้างอิง

Estimation of lung cancer deaths attributable to indoor radon exposure in upper northern Thailand

มะเร็ง รู้เร็วรักษาได้

สถิติเก่า พบ ‘อ.สารภี จ.เชียงใหม่’ มีผู้ป่วยมะเร็งปอดและเสียชีวิตมากที่สุดของประเทศ

เปิดสถิติ ‘มะเร็งปอด’ ในเชียงใหม่-ภาคเหนือ สูงกว่าภาคอื่น ข้อมูลวิจัยพบชนิดของมะเร็งปอดเกี่ยวข้องกับ PM2.5

เศร้า “มะเร็งปอด” คร่าชีวิต รศ.ดร.ภาณุวรรณ นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น มช.

เปิดสถิติ ‘ภาคเหนือ’ ป่วย ‘มะเร็งปอด’ สูงสุด สาเหตุเกิดจากอะไร

โรคมะเร็งปอด

สารพิษในบุหรี่

บุหรี่ไฟฟ้า (ELECTRIC CIGARETTE)

บุหรี่ไฟฟ้า ปลอดภัยจริงหรือ?

บุหรี่ไฟฟ้า ดีจริงอย่างที่โฆษณาหรือว่ามีโอกาสฆ่าคนสูบได้เช่นกัน

บุหรี่ไฟฟ้า กับคำถามที่ทุกคนอยากรู้

มหันตภัยเงียบภายในอาคาร (Indoor air pollution)

PM 2.5 ฝุ่นเล็กจิ๋ว แต่ส่งผลต่อสุขภาพมหาศาล

หมอกควัน PM2.5 ในภาคเหนือมาจากไหน?

Tags: Air PollutionE-CigaretteElectronic CigaretteEnvironmentEVALILung CancerLung InjuryLungsPM10PM2.5pollutionRadonSmokeSmokingTobacco
Tanakrit Srivilas

Tanakrit Srivilas

Jack of all trades, passionate about Biotechnology, Molecular genetics, Evolutionary biology, and Communication.

Related Posts

วัคซีน HIV ล้มเหลวอีกแล้ว
Biology

วัคซีน HIV ล้มเหลวอีกแล้ว

byTanakrit Srivilas
23/01/2023
นอนบนเตียงระวังโดนดูด (เลือด)
Biology

นอนบนเตียงระวังโดนดูด (เลือด)

byThanaset Trairat
15/01/2023
เรื่องของหมัดที่ต้อง “กำหมัด”
Biology

เรื่องของหมัดที่ต้อง “กำหมัด”

byThanaset Trairat
09/01/2023
ชายผู้ยุติโรคมรณะที่ชื่อว่า “โรคพิษสุนัขบ้า”
Biology

ชายผู้ยุติโรคมรณะที่ชื่อว่า “โรคพิษสุนัขบ้า”

byTanakrit Srivilas
27/12/2022
The Principia

ส่งเสริมสังคมสร้างสรรค์ ด้วยการสื่อสารวิทยาศาสตร์

© 2021 ThePrincipia. All rights reserved.

The Principia Media

About Us
Members
Contact Us
theprincipia2021@gmail.com

Follow us

No Result
View All Result
  • ข่าว
  • เทคโนโลยี
    • หุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์
    • วิศวกรรม
    • ยานพาหนะ
    • พลังงาน
    • เทคโนโลยีอาหาร
    • เทคโนโลยีการคำนวณ
    • เทคโนโลยีอวกาศ
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
    • วิทยาศาสตร์สุขภาพ
    • ชีววิทยาโมเลกุล
    • วิวัฒนาการ
    • สัตววิทยา
    • พฤกษศาสตร์
    • จุลชีววิทยา
    • กีฏวิทยา
    • นิเวศวิทยา
  • ดาราศาสตร์
    • ฟิสิกส์ดาราศาสตร์
    • จักรวาลวิทยา
    • วิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์
  • อื่น ๆ
    • ศิลปะ & วัฒนธรรม
    • คณิตศาสตร์
    • ประวัติศาสตร์
    • จิตวิทยา
    • ปรัชญา
    • วิทยาศาสตร์การกีฬา
    • Sci-fi
  • ร้านค้า