วันที่ 1 ธันวาคมนี้ “ดาวอังคารจะโคจรมาใกล้โลกที่สุด”

ที่มา : ภาพโดย WikiImages จาก Pixabay
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (NARIT) เผยว่าวันที่ 1 ธันวาคม 2565 ดาวอังคารจะโคจรมาอยู่ในตำแหน่งใกล้โลกที่สุด ห่างจากโลกประมาณ 81.5 ล้านกิโลเมตร จากนั้นจะโคจรมาอยู่ในตำแหน่งตรงข้ามดวงอาทิตย์ ในวันที่ 8 ธันวาคม 2565
โดยในช่วงเวลาดังกล่าวหลังพระอาทิตย์ลับขอบฟ้า ดาวอังคารจะสว่างที่สุดในขอบฟ้าทิศตะวันออก มีสีส้มแดงและสว่างตลอดทั้งคืนจนถึงรุ่งเช้า โดยหากในช่วงเวลานี้เราใช้กล้องโทรทรรศน์ขนาด 10 นิ้ว กำลังขยายตั้งแต่ 100 เท่าขึ้นไป จะสามารถมองเห็นพื้นผิวและรายละเอียดของดาวอังคารรวมทั้งพื้นผิวน้ำแข็งบริเวณขั้วดาวของดาวอังคาร โดยดาวอังคารจะเข้าใกล้โลกที่สุดในช่วงตลอดทั้งเดือนธันวาคม
นอกจากนี้เนื่องจากวงโคจรของดาวอังคารเป็นวงรีที่เข้าใกล้โลกมาก ๆ เป็นผลให้วันที่ดาวอังคารอยู่ตำแหน่งตรงข้ามดวงอาทิตย์จะไม่ใช่วันที่ดาวอังคารเข้าใกล้โลกมากที่สุด โดยหากดาวอังคารจะเข้าใกล้โลกในทุก ๆ 2 ปี 2 เดือนและจะเข้าใกล้โลกมากที่สุดทุก ๆ 15-17 ปี
โดยในวันข้างต้นทาง NARIT ได้เตรียมจัดกิจกรรมสังเกตการณ์ “ดาวอังคารใกล้โลก” ชวนส่องพื้นผิวและขั้วน้ำแข็งของดาวเคราะห์แดง ณ จุดสังเกตการณ์หลัก 4 แห่ง ได้แก่ อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร อ. แม่ริม จ. เชียงใหม่ และหอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา นครราชสีมา ฉะเชิงเทรา สงขลา เวลา 18:00 – 22:00 น. ฟรี ! ไม่มีค่าใช้จ่าย และชมถ่ายทอดสดปรากฏการณ์ดาวอังคารใกล้โลกผ่าน NARIT Facebook Live ได้ทาง NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ | Mae Rim | Facebook