• ข่าว
  • เทคโนโลยี
    • หุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์
    • วิศวกรรม
    • ยานพาหนะ
    • พลังงาน
    • เทคโนโลยีอาหาร
    • เทคโนโลยีการคำนวณ
    • เทคโนโลยีอวกาศ
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
    • วิทยาศาสตร์สุขภาพ
    • ชีววิทยาโมเลกุล
    • วิวัฒนาการ
    • สัตววิทยา
    • พฤกษศาสตร์
    • จุลชีววิทยา
    • กีฏวิทยา
    • นิเวศวิทยา
  • ดาราศาสตร์
    • ฟิสิกส์ดาราศาสตร์
    • จักรวาลวิทยา
    • วิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์
  • อื่น ๆ
    • ศิลปะ & วัฒนธรรม
    • คณิตศาสตร์
    • ประวัติศาสตร์
    • จิตวิทยา
    • ปรัชญา
    • วิทยาศาสตร์การกีฬา
    • Sci-fi
  • ร้านค้า
No Result
View All Result
The Principia
  • ข่าว
  • เทคโนโลยี
    • หุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์
    • วิศวกรรม
    • ยานพาหนะ
    • พลังงาน
    • เทคโนโลยีอาหาร
    • เทคโนโลยีการคำนวณ
    • เทคโนโลยีอวกาศ
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
    • วิทยาศาสตร์สุขภาพ
    • ชีววิทยาโมเลกุล
    • วิวัฒนาการ
    • สัตววิทยา
    • พฤกษศาสตร์
    • จุลชีววิทยา
    • กีฏวิทยา
    • นิเวศวิทยา
  • ดาราศาสตร์
    • ฟิสิกส์ดาราศาสตร์
    • จักรวาลวิทยา
    • วิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์
  • อื่น ๆ
    • ศิลปะ & วัฒนธรรม
    • คณิตศาสตร์
    • ประวัติศาสตร์
    • จิตวิทยา
    • ปรัชญา
    • วิทยาศาสตร์การกีฬา
    • Sci-fi
  • ร้านค้า
No Result
View All Result
The Principia
No Result
View All Result

‘สุริยคราสห้ามทัพ’ เมื่อ 28 พฤษภาคม 585 ปีก่อนคริสตกาล

Puri SiwasirikarunbyPuri Siwasirikarun
28/05/2022
in Astronomy, History
A A
0
‘สุริยคราสห้ามทัพ’ เมื่อ 28 พฤษภาคม 585 ปีก่อนคริสตกาล

ที่มาภาพ History Daily

Share on FacebookShare on Twitter

Solar Eclipse หรือ สุริยคราส/สุริยุปราคา เป็นปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ เกิดขึ้นเมื่อดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์และโลก โคจรเรียงอยู่ในแนวเดียวกันโดยมีดวงจันทร์อยู่ตรงกลาง ทำให้เกิดเงาของดวงจันทร์ เราจึงเห็นดวงอาทิตย์มืดไป ปรากฏการณ์นี้มีความสำคัญตั้งแต่ในอดีตถึงปัจจุบัน แทรกอยู่ในทุกความเชื่อและศาสนาของผู้คนทั่วโลก ผู้คนในบริเวณอุษาคเนย์ก็มีความเชื่อเรื่องของคราสและโชคลาง บ้างว่าเป็นอาเพศ ต้องเคาะหม้อไหเพื่อส่งเสียงขับไล่ปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายที่อมดวงอาทิตย์หรือดวงจันทร์ เป็นที่มาของคำว่า ‘กบกินเดือน’ และ ‘กบกินตะวัน’

สุริยุปราคา (Solar eclipse) เกิดขึ้นเมื่อดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และโลก โคจรเรียงอยู่ในแนวเดียวกัน เราจึงเห็นดวงอาทิตย์มืดไป
ที่มา Rice Space Institute

แต่เมื่อสุริยคราสไปเกิดในฟากตะวันตกแถบทะเลไอโอเนียน (Ionian) กลับมีนักคิดที่คำนวณคราสดังกล่าวนี้ได้อย่างถูกต้องแม่นยำ ชื่อของเขาคือ ธาลีสแห่งมิเลตุส (Thales of Miletus) ผู้คำนวณทำนายว่าจะเกิดสุริยุปราคาในปี 585 ก่อนคริสตกาล ผลที่เกิดขึ้นจากสุริยุปราคาในครั้งนี้ไม่เพียงแต่การันตีความสามารถในการคำนวณของธาลีส แต่ยังหยุดสงครามอีกด้วย เรียกได้ว่าเป็น “สุริยคราสห้ามทัพ”

รูปปั้นของ ธาลีสแห่งมิเลตุส (Thales of Miletus) นักปราชญ์ชาวกรีก
ที่มา Classical Liberal Arts Academy

ช่วงเวลานั้นเกิดสงครามระหว่างชาวลีเดียน (Lydians) ซึ่งปัจจุบันคือประเทศตุรกี และชาวเมเดส (Medes) ชาวอิหร่านโบราณ ทั้งสองฝ่ายทำสงครามกันยืดเยื้อยาวนาน ผลัดกันแพ้ผลัดกันชนะและไม่มีทีท่าว่าจะยอมแพ้กันง่าย ๆ แต่แล้วท้องฟ้าในสมรภูมิรบของวันที่ 28 พฤษภาคม 585 ปีก่อนคริสต์ศักราช จู่ ๆ ก็ค่อย ๆ มืดมิดลงอย่างผิดวิสัย กองทัพทั้งสองฝ่ายถูกห้อมล้อมด้วยความมืด สร้างความแปลกใจและตื่นกลัวแก่เหล่าชายฉกรรจ์ในกองทัพ แม้ความมืดอันเกิดจากสุริยคราสครั้งนี้จะกินเวลาสั้น ๆ ไม่กี่นาที แต่ก็สร้างความตระหนกตกใจจนทหารทั้งสองฝ่ายวางอาวุธในที่สุด สิ้นสุดสงครามอันยาวนานถึง 6 ปี

ภาพจำลองสมรภูมิรบระหว่างชาวลิเดียน และชาวเมเดส ในวันที่ 28 พฤษภาคม 585 ปีก่อนคริสตศักราช
ที่มา History Daily

เรื่องราวสงครามครั้งนี้ถูกจดบันทึกในงานเขียนของบิดาแห่งประวัติศาสตร์นามว่า ‘เฮอโรโดตุส (Herodotus)’ ที่นอกจากจะอธิบายถึงสงครามครั้งนี้แล้ว ยังมีการกล่าวถึงนักปรัชญาอย่างธาลีสแห่งมิเลตุสไว้ว่า

“Thales of Miletus had foretold this loss of daylight to the Ionians, fixing it within the year in which the change did indeed happen.”

สรุปใจความได้ว่า ธาลีสแห่งมิเลตุสเคยทำนายว่าชาวไอโอเนียน (ที่ชาวอินเดียเรียก ‘พวกโยนก’) จะสูญเสียกลางวันไปและสุดท้ายจะมีการเปลี่ยนแปลง จากคำกล่าวนี้เราอาจสรุปได้ว่าธาลีสได้ทำนายการเกิดสุริยุปราคาที่เกิดขึ้นวันเดียวกับการสิ้นสุดของสงครามระหว่างชาวลีเดียนและชาวเมเดส

บันทึกประวัติศาสตร์เรื่อง Histories ของ Herodotus ได้มีการจดสำเนาสืบทอดกันมาเป็นภาษากรีกและละติน
อย่างเช่นสำเนาเล่มนี้จากปีค.ศ. 1449 ขณะนี้ถูกเก็บรักษาอยู่ในพิพิธภัณฑ์บริติช
ที่มา British Museum

การคำนวณวันเวลาที่แน่ชัดของเหตุการณ์นี้ไม่ได้มีการจดบันทึกไว้ในเอกสารโบราณ แต่เป็นการคำนวณย้อนกลับไปของนักดาราศาสตร์ในปัจจุบัน ที่ประมาณการไว้ว่าสุริยุปราคาครั้งนี้เกิดขึ้นในวันที่ 28 พฤษภาคม 585 ปีก่อนคริสต์ศักราช โดยเงามืดของดวงจันทร์ได้พาดผ่านตั้งแต่ตอนกลางของทวีปอเมริกา ผ่านมหาสมุทรแอตแลนติกจนถึงฝรั่งเศส อิตาลีและตุรกี อันเป็นบริเวณสมรภูมิที่สงครามกำลังครุกรุ่น เมืองมิเลตุสที่ธาลีสอาศัยก็ในบริเวณไม่ห่างกันนักจึงสามารถมองเห็นวิถีของคราสได้

นักดาราศาสตร์สมัยใหม่ได้จำลองแผนที่สุริยุปราคาที่เกิดขึ้นในวันที่ 28 พฤษภาคม 585 ปีก่อนคริสตกาล
ที่มา History Daily

อย่างไรก็ดีบรรดานักดาราศาสตร์และนักประวัติศาสตร์ไม่ได้ให้เครติดกับการคำนวณของธาลีสเหมือนที่เฮอโรโดตุสกล่าวอ้างไว้ เพราะถึงแม้ธาลีสจะได้รับยกย่องเป็นนักวิทยาศาสตร์คนแรกแห่งโลกตะวันตก แต่ด้วยเครื่องมือทางดาราศาสตร์ที่จำกัดจึงไม่อาจสามารถคำนวณคราสได้อย่างแม่นยำ ยิ่งไปกว่านั้นธาลีสเองเชื่อว่าโลกเป็นแผ่นแบนลอยอยู่ในน้ำ จึงอาจขัดกับการเกิดสุริยคราสที่เงาเป็นทรงกลม และหากเธลีสคำนวณได้จริงแม่นยำทำไมจึงคำนวณแม่นยำเพียงปีไม่ครอบคลุมถึงวันและเวลา ทำให้ข้อมูลที่ว่าธาลีสสามารถทำนายวันเวลาการเกิดสุริยคราสตรงกับวันสิ้นสุดสงครามนั้นฟังดูไม่มีน้ำหนักเท่าไร

ถึงกระนั้นเมื่อ 3,000 ปีที่แล้ว ผู้คนในสมัยนั้นรวมทั้งธาลีสยังเชื่อว่าโลกแบน
ที่มา History Daily

แต่ถึงอย่างนั้นเราก็สามารถคิดอีกแง่ว่าเขาอาจโชคดีที่ทำนายการเกิดสุริยุปราคาได้ตรง ผ่านการหยิบจับเอาความรู้และการคำนวณทางดาราศาสตร์ของชาวบาบิโลนมาใช้ รวมถึงการที่ธาลีสวิเคราะห์จากคาบวัฏจักซารอส (Saros cycle) ที่ใช้ในการคำนวณการเกิดอุปราคา เราอาจกล่าวได้ว่าการคำนวณที่ดูมีหลักการคงเป็นอะไรไปได้ไม่มากกว่าการคาดเดาเท่านั้น

รูปจำลองเรื่องราวเกี่ยวกับ ‘สุริยคราสห้ามทัพ’
ที่มา Astronomy Today

สุดท้ายเราคงต้องย้อนกลับมาที่บันทึกของเฮอโรโดตุส จากชื่อเสียงด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ของธาลีสที่เปลี่ยนเเปลงกรอบคิดจากความเชื่อสู่เหตุผล แต่กระนั้นดาราศาสตร์และคณิตศาสตร์ก็ยังดูเหมือนเป็นมายากลบางอย่างที่เล่นกับความเชื่อ การที่เฮอโรโดตุสอ้างถึงธาลีสคงเป็นการยกย่องฮีโร่ผ่านเรื่องราวสงครามที่ฟังมาปากต่อปากมากกว่าจะมีหลักฐานการคำนวณทางคณิตศาสตร์

ถึงธาลีสจะทำนายการเกิดสุริยุปราคาครั้งนี้ได้อย่างแม่นยำหรือไม่ ก็ไม่สำคัญเท่ากับเหตุการณ์บนท้องฟ้าที่เกิดขึ้นจริงในสงครามครั้งนั้น เรื่องราวเหล่านี้เป็นแรงบันดาลใจให้เราศึกษาวิทยาศาสตร์ด้วยแว่นตาที่ให้เหตุผลและหลักการในการแสวงหาข้อเท็จจริง มากกว่าที่จะเชื่อเพียงเพราะได้ยินมาหรือหลักฐานเพียงน้อยนิด

อ้างอิง

Wikipedia | สุริยุปราคา

History Daily | The Power Of An Eclipse: The Story Of The Eclipse Of Thales

Puri Siwasirikarun

Puri Siwasirikarun

Nullius in Verba จงอย่าเชื่อเพียงสดับ สาวก Newton และผู้สนใจศึกษาทุกสรรพสิ่งในโลก เจ้าของช่อง YouTube วิทยาศาสตร์ The Projectile

Related Posts

โลกพ้นภัย ดาวเคราะห์น้อย 2023BU เฉียดโลกมากที่สุด
Astronomy

โลกพ้นภัย ดาวเคราะห์น้อย 2023BU เฉียดโลกมากที่สุด

byPeeravut Boonsat
29/01/2023
เปิดไฟล์โปรเจ็กต์ A119 แผนยิงระเบิดใส่ดวงจันทร์
Astronomy

เปิดไฟล์โปรเจ็กต์ A119 แผนยิงระเบิดใส่ดวงจันทร์

byChinapong Lienpanich
31/12/2022
ชายผู้ยุติโรคมรณะที่ชื่อว่า “โรคพิษสุนัขบ้า”
Biology

ชายผู้ยุติโรคมรณะที่ชื่อว่า “โรคพิษสุนัขบ้า”

byTanakrit Srivilas
27/12/2022
รูหนอนในฟิสิกส์ กับ Bifrost (God of war: Ragnarok)
Cosmology

รูหนอนในฟิสิกส์ กับ Bifrost (God of war: Ragnarok)

byTakol Tangphati
15/12/2022
The Principia

ส่งเสริมสังคมสร้างสรรค์ ด้วยการสื่อสารวิทยาศาสตร์

© 2021 ThePrincipia. All rights reserved.

The Principia Media

About Us
Members
Contact Us
theprincipia2021@gmail.com

Follow us

No Result
View All Result
  • ข่าว
  • เทคโนโลยี
    • หุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์
    • วิศวกรรม
    • ยานพาหนะ
    • พลังงาน
    • เทคโนโลยีอาหาร
    • เทคโนโลยีการคำนวณ
    • เทคโนโลยีอวกาศ
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
    • วิทยาศาสตร์สุขภาพ
    • ชีววิทยาโมเลกุล
    • วิวัฒนาการ
    • สัตววิทยา
    • พฤกษศาสตร์
    • จุลชีววิทยา
    • กีฏวิทยา
    • นิเวศวิทยา
  • ดาราศาสตร์
    • ฟิสิกส์ดาราศาสตร์
    • จักรวาลวิทยา
    • วิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์
  • อื่น ๆ
    • ศิลปะ & วัฒนธรรม
    • คณิตศาสตร์
    • ประวัติศาสตร์
    • จิตวิทยา
    • ปรัชญา
    • วิทยาศาสตร์การกีฬา
    • Sci-fi
  • ร้านค้า