• ข่าว
  • เทคโนโลยี
    • หุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์
    • วิศวกรรม
    • ยานพาหนะ
    • พลังงาน
    • เทคโนโลยีอาหาร
    • เทคโนโลยีการคำนวณ
    • เทคโนโลยีอวกาศ
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
    • วิทยาศาสตร์สุขภาพ
    • ชีววิทยาโมเลกุล
    • วิวัฒนาการ
    • สัตววิทยา
    • พฤกษศาสตร์
    • จุลชีววิทยา
    • กีฏวิทยา
    • นิเวศวิทยา
  • ดาราศาสตร์
    • ฟิสิกส์ดาราศาสตร์
    • จักรวาลวิทยา
    • วิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์
  • อื่น ๆ
    • ศิลปะ & วัฒนธรรม
    • คณิตศาสตร์
    • ประวัติศาสตร์
    • จิตวิทยา
    • ปรัชญา
    • วิทยาศาสตร์การกีฬา
    • Sci-fi
  • ร้านค้า
No Result
View All Result
The Principia
  • ข่าว
  • เทคโนโลยี
    • หุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์
    • วิศวกรรม
    • ยานพาหนะ
    • พลังงาน
    • เทคโนโลยีอาหาร
    • เทคโนโลยีการคำนวณ
    • เทคโนโลยีอวกาศ
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
    • วิทยาศาสตร์สุขภาพ
    • ชีววิทยาโมเลกุล
    • วิวัฒนาการ
    • สัตววิทยา
    • พฤกษศาสตร์
    • จุลชีววิทยา
    • กีฏวิทยา
    • นิเวศวิทยา
  • ดาราศาสตร์
    • ฟิสิกส์ดาราศาสตร์
    • จักรวาลวิทยา
    • วิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์
  • อื่น ๆ
    • ศิลปะ & วัฒนธรรม
    • คณิตศาสตร์
    • ประวัติศาสตร์
    • จิตวิทยา
    • ปรัชญา
    • วิทยาศาสตร์การกีฬา
    • Sci-fi
  • ร้านค้า
No Result
View All Result
The Principia
No Result
View All Result

โครงข่ายใต้ดิน ช่องทางการสื่อสารของต้นไม้

Watcharin UnwetbyWatcharin Unwet
17/10/2022
in Biology, Botany, Mycology
A A
0
โครงข่ายใต้ดิน ช่องทางการสื่อสารของต้นไม้

ที่มา : https://dario-cortese.medium.com/the-internet-of-plants-mycorrhizal-fungi-sorting-facts-from-myths-7ab5c7b73bf1

Share on FacebookShare on Twitter

เคยสงสัยไหมว่า ในขณะที่เราสามารถติดต่อสื่อสารกันได้อย่างง่ายดายด้วยปลายนิ้วผ่านอินเตอร์เน็ต โพสต์หรือแชร์เรื่องราวให้เพื่อนผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social Network) สัตว์ก็มีการส่งเสียงหรือสัญญาณรูปแบบต่างๆระหว่างกัน แล้วต้นไม้ล่ะ มันมีการพูดคุยสื่อสารกันบ้างหรือเปล่า 

คำตอบคือ “มี” แต่ก็คงไม่ได้คุยกันให้เราเห็นข้างบนหรอก ต้นไม้เหล่านี้จะแอบซุบซิบกันอยู่ในชั้นใต้ดิน แต่คำถามก็คือ พวกมันทำได้อย่างไร 

อย่างที่เรารู้กันดีว่าต้นไม้จะมีรากที่ฝังอยู่ที่ชั้นใต้ดินเพื่อดูดน้ำและแร่ธาตุ เช่น ไนโตรเจน หรือ ฟอสฟอรัส ซี่งจะหาได้จากในดินเท่านั้น แต่ลำพังแค่รากเพียงอย่างเดียวอาจจะไม่เพียงพอ มันจึงต้องมีตัวช่วยในการหาแร่ธาตุเหล่านี้ ซึ่งก็คือเชื้อราไมคอร์ไรซา (Mycorrhiza) นั่นเอง

เชื้อราไมคอร์ไรซา (Mycorrhiza) 
ที่มา Oregon Caves National Monument

ตัวเชื้อราพวกนี้จะมีการสร้างเส้นใย (Hyphae) งอกยาวไปอยู่ที่บริเวณปลายรากของต้นไม้ เส้นใยเหล่านี้จะเป็นตัวช่วยรากต้นไม้ให้ดูดซึมแร่ธาตุอย่างฟอสฟอรัสและไนโตรเจนได้ดีขึ้น แต่เส้นใยของราพวกนี้ไม่ได้ทำให้รากต้นไม้ฟรีๆนะ สิ่งที่ต้นไม้ต้องให้กับเส้นใยของเชื้อราเป็นการตอบแทนก็คือสารที่เชื้อราขาดแคลนอย่างเช่น คาร์บอน ที่ต้นไม้เองก็มีเยอะอยู่แล้ว เพราะมันสามารถสร้างได้จากกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง (Photosynthesis) ซึ่งตัวคาร์บอนนี้เป็นองค์ประกอบสำคัญของสารที่สำคัญ อย่าง คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน หรือแม้กระทั่งสารพันธุกรรมก็ตาม จะได้เห็นได้ว่าเชื้อราและรากต้นไม้จะมีความสัมพันธ์ระหว่างกัน (Symbiosis) เป็นความสัมพันธ์แบบพึ่งพา (Mutualism) ที่ทั้งสองฝ่ายจะได้ประโยชน์ทั้งคู่เมื่ออยู่ด้วยกัน ในวงการเกษตร เราจะพบเจอผลิตภัณฑ์ปุ๋ยที่มีการคลุกกับเชื้อราเหล่านี้เพื่อเพิ่มผลผลิตให้กับพืช ซึ่งก็ใช้ประโยชน์จากความสัมพันธ์แบบพึ่งพาระหว่างรากพืชกับเชื้อรานี้นั่นแหละ

การเชื่อมโยงกันระหว่างเชื้อราและรากพืช
ที่มา Getty Images

เมื่อเส้นใยเชื้อราได้รับสารอาหารจากต้นไม้อย่างเพียงพอ ก็จะมีการเจริญเติบโตมากขึ้น โดยเส้นใยเหล่านี้จะงอกยาวขึ้นไปตามผิวรากของต้นไม้ เพื่อเข้าสู่รากในตำแหน่งอื่นๆต่อไป และยิ่งไปกว่านั้น เส้นใยก็ยังมีการงอกแบบขยายออกไปในดินเพื่อสร้างเป็นโครงข่ายเส้นใยเชื้อราให้กว้างขวางมากขึ้น และโครงข่ายเส้นใยของเชื้อรานี้เอง ที่จะเป็นตัวเชื่อมถึงกันระหว่างรากต้นไม้ในพื้นที่ต่างๆ ให้สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ เหมือนกับอินเตอร์เน็ต เรียกว่า Mycorrhizal network หรือที่เรียกกันง่ายๆว่า Wood Wide Web โดยล้อมาจาก World Wide Web นั่นเอง

โครงข่ายเส้นใยเชื้อราเหล่านี้ ไม่ได้มีไว้เพื่อแลกเปลี่ยนสารอาหารระหว่างพืชกับเชื้อราเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังสามารถเชื่อมโยงไว้แลกเปลี่ยนหรือแชร์สารอาหารระหว่างต้นไม้ด้วยกันได้ อย่างเช่น ถ้ามีต้นไม้ต้นเล็กๆ อยู่รอบๆต้นใหญ่ แล้วได้สารอาหารไม่พอ ต้นไม้ต้นใหญ่ก็สามารถส่งอาหารผ่านทางโครงข่ายนี้ไปให้ต้นไม้ต้นเล็กที่อยู่รอบๆต้นใหญ่ได้เช่นกัน 

ลักษณะโครงข่ายเชื้อรา (Mycorrhizal network) ของต้นไม้สายพันธุ์ต่างๆ
ที่มา BBC Science Focus

ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อต้นไม้ต้นนึงตายไป ต้นไม้ที่อยู่รอบข้างก็สามารถดูดสารอาหารจากต้นที่ตายเพื่อเอาไปใช้งานได้โดยผ่านโครงข่ายเส้นใยเชื้อรานี้ และเมื่อมีภัยอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับต้นไม้ต้นนึง ต้นไม้ต้นนั้นก็จะส่งสารเคมีผ่านโครงข่ายเชื้อราไปยังต้นไม้ที่อยู่บริเวณใกล้เคียงเพื่อเป็นสัญญาณเตือนภัย เพื่อให้ต้นไม้ที่อยู่บริเวณนั้นสามารถเตรียมตัวรับมือได้ทัน 

ถึงประโยชน์ของโครงข่ายเส้นใยเชื้อราจะมีมากมาย แต่ในขณะเดียวกันก็จะมีพืชอย่างกล้วยไม้บางชนิดที่รู้ถึงการมีอยู่ของโครงข่ายเส้นใยเชื้อรานี้ รู้ว่ามีการส่งสารอาหารกันไปมา ก็เอาตัวเองเข้าไปเจาะขโมยสารอาหารกินในโครงข่ายนี้ซะเลย เป็นเหมือนกับแฮคเกอร์ที่เข้าไปเจาะระบบอินเตอร์เน็ตเลยทีเดียว และนอกจากนั้นก็จะมี พืชชนิดอื่น เช่น ต้น Black Walnut ที่สามารถปล่อยสารเคมีที่เป็นพิษเพื่อโจมตีต้นอื่นผ่านโครงข่ายเส้นใยเชื้อรานี้ได้เช่นกัน ใช่แล้ว มันร้ายมากเลยค่ะหัวหน้า

นี่เป็นเพียงส่วนเล็กๆส่วนนึงที่ทำให้เรารู้จักกับโลกใต้ดินมากขึ้น ยังมีเรื่องราวที่น่าพิศวงในนั้นอีกมากที่รอให้เราเข้าไปค้นหาแล้วมาเล่าสู่กันฟัง อยากให้ทุกคนรอติดตามต่อไป ถ้ามีการค้นพบที่น่าสนใจเพิ่มมาอีก ผู้เขียนจะหยิบมาเล่าให้ทุกคนฟังอีกแน่นอน

อ้างอิง

‘Wood wide web’—the underground network of microbes that connects trees—mapped for first time | Science | AAAS

Wood wide web: Trees’ social networks are mapped – BBC News

The Secrets of the Wood Wide Web | The New Yorker

Mycorrhizal networks: how trees talk through the wood-wide web | BBC Science Focus Magazine

สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | สรีรวิทยาพืชไร่ (Physiology of Field Crops)

Tags: Biologymicrobesplants
Watcharin Unwet

Watcharin Unwet

As a passionate Science communicator, my desire has always been transforming Science from complex concepts into much more engaging ideas.

Related Posts

ทำไมวาฬถึงตัวใหญ่
Biology

ทำไมวาฬถึงตัวใหญ่

byPeeravut Boonsat
29/01/2023
วัคซีน HIV ล้มเหลวอีกแล้ว
Biology

วัคซีน HIV ล้มเหลวอีกแล้ว

byTanakrit Srivilas
23/01/2023
พวกขึ้เหยียดอาจเป็นเพราะจุลินทรีย์เบียดบัง
Bacteriology

พวกขึ้เหยียดอาจเป็นเพราะจุลินทรีย์เบียดบัง

byPeeravut Boonsat
23/01/2023
นอนบนเตียงระวังโดนดูด (เลือด)
Biology

นอนบนเตียงระวังโดนดูด (เลือด)

byThanaset Trairat
15/01/2023
The Principia

ส่งเสริมสังคมสร้างสรรค์ ด้วยการสื่อสารวิทยาศาสตร์

© 2021 ThePrincipia. All rights reserved.

The Principia Media

About Us
Members
Contact Us
theprincipia2021@gmail.com

Follow us

No Result
View All Result
  • ข่าว
  • เทคโนโลยี
    • หุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์
    • วิศวกรรม
    • ยานพาหนะ
    • พลังงาน
    • เทคโนโลยีอาหาร
    • เทคโนโลยีการคำนวณ
    • เทคโนโลยีอวกาศ
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
    • วิทยาศาสตร์สุขภาพ
    • ชีววิทยาโมเลกุล
    • วิวัฒนาการ
    • สัตววิทยา
    • พฤกษศาสตร์
    • จุลชีววิทยา
    • กีฏวิทยา
    • นิเวศวิทยา
  • ดาราศาสตร์
    • ฟิสิกส์ดาราศาสตร์
    • จักรวาลวิทยา
    • วิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์
  • อื่น ๆ
    • ศิลปะ & วัฒนธรรม
    • คณิตศาสตร์
    • ประวัติศาสตร์
    • จิตวิทยา
    • ปรัชญา
    • วิทยาศาสตร์การกีฬา
    • Sci-fi
  • ร้านค้า