• ข่าว
  • เทคโนโลยี
    • หุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์
    • วิศวกรรม
    • ยานพาหนะ
    • พลังงาน
    • เทคโนโลยีอาหาร
    • เทคโนโลยีการคำนวณ
    • เทคโนโลยีอวกาศ
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
    • วิทยาศาสตร์สุขภาพ
    • ชีววิทยาโมเลกุล
    • วิวัฒนาการ
    • สัตววิทยา
    • พฤกษศาสตร์
    • จุลชีววิทยา
    • กีฏวิทยา
    • นิเวศวิทยา
  • ดาราศาสตร์
    • ฟิสิกส์ดาราศาสตร์
    • จักรวาลวิทยา
    • วิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์
  • อื่น ๆ
    • ศิลปะ & วัฒนธรรม
    • คณิตศาสตร์
    • ประวัติศาสตร์
    • จิตวิทยา
    • ปรัชญา
    • วิทยาศาสตร์การกีฬา
    • Sci-fi
  • ร้านค้า
No Result
View All Result
The Principia
  • ข่าว
  • เทคโนโลยี
    • หุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์
    • วิศวกรรม
    • ยานพาหนะ
    • พลังงาน
    • เทคโนโลยีอาหาร
    • เทคโนโลยีการคำนวณ
    • เทคโนโลยีอวกาศ
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
    • วิทยาศาสตร์สุขภาพ
    • ชีววิทยาโมเลกุล
    • วิวัฒนาการ
    • สัตววิทยา
    • พฤกษศาสตร์
    • จุลชีววิทยา
    • กีฏวิทยา
    • นิเวศวิทยา
  • ดาราศาสตร์
    • ฟิสิกส์ดาราศาสตร์
    • จักรวาลวิทยา
    • วิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์
  • อื่น ๆ
    • ศิลปะ & วัฒนธรรม
    • คณิตศาสตร์
    • ประวัติศาสตร์
    • จิตวิทยา
    • ปรัชญา
    • วิทยาศาสตร์การกีฬา
    • Sci-fi
  • ร้านค้า
No Result
View All Result
The Principia
No Result
View All Result

อุณหภูมิบนดาวเนปจูนกำลังผันผวนอย่างแปลกประหลาด

Nakarin ChantasoChinapong LienpanichbyNakarin ChantasoandChinapong Lienpanich
14/04/2022
in Astronomy, Planetary Sceince
A A
0
อุณหภูมิบนดาวเนปจูนกำลังผันผวนอย่างแปลกประหลาด

ที่มาภาพ NASA/JPL-Caltech/Kevin M. Gill

Share on FacebookShare on Twitter

ดาวเนปจูนซึ่งเป็นดาวเคราะห์ในลำดับสุดท้ายในระบบสุริยะของเรากำลังเผชิญกับฤดูร้อนอันยาวนานกว่า 4 ทศวรรษ ณ บริเวณขั้วโลกใต้ของดาว แต่ถึงกระนั้นอุณหภูมิของดาวเนปจูนก็กลับไม่ได้อุ่นขึ้นแม้แต่น้อย แถมยังมีอากาศหนาวเย็นลงถึง 8 องศาเซลเซียสอีกต่างหาก ซึ่งกลุ่มนักดาราศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเลสเตอร์และนักวิทย์จากนาซาก็ได้ติดตามความหนาวเย็นที่ผิดปกตินี้มาตั้งแต่ช่วงปี 2003 ถึง 2018 แล้ว ก่อนที่พวกเขาจะเผยแพร่ผลงานวิจัยลงวารสาร Planetary Science Journal อย่างเป็นทางการเมื่อช่วงต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมานี้ 

แต่ก่อนที่เราจะไปสำรวจดาวเนปจูนกันต่อ เราก็ต้องเข้าใจก่อนว่าการที่ดาวเนปจูนมีฤดูกาลเหมือนกับโลกนั้นก็เพราะว่าแกนหมุนของดาวเนปจูนนั้นเอียงอยู่ที่ 28 องศา ในขณะที่ดาวเคราะห์โลกของเรานั้น มีแกนเอียงอยู่ที่ 23.5 องศา ซึ่งถือว่าใกล้เคียงกันมาก ๆ ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจที่พื้นที่ส่วนใหญ่ของดาวเนปจูนก็มี 4 ฤดูกาลต่อการโคจรรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบเฉกเช่นโลกของเรา แต่ทว่าหนึ่งฤดูบนดาวเนปจูนนั้นกลับยาวนานพอ ๆ กับ 40 ปีบนโลก เนื่องจากตัวดาวเนปจูนมีตำแหน่งอยู่ห่างไกลดวงอาทิตย์เสียจนต้องใช้เวลาโคจรถึง 165 ปีด้วยกัน

ดาวเนปจูนที่เห็นในแสงที่มองเห็นได้ (กลาง) และความยาวคลื่นอินฟราเรดความร้อน (ขวา) ในปี 2020 ภาพตรงกลางรวมภาพหลายภาพจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลในขณะที่ภาพอินฟราเรดความร้อนทางด้านขวาถูกถ่ายจากกล้องโทรทรรศน์ซูบารุ Credit: Michael Roman/NASA/ESA/STSci/M.H. Wong/L.A. Sromovsky/P.M. Fry

หากว่ากันตามหลักเทอร์โมไดนามิกแล้ว ฤดูร้อนที่ยาวนานก็ควรที่ทำให้ชั้นบรรยากาศของดาวเนปจูนอุ่นขึ้นบ้างแม้เพียงเล็กน้อยก็ตาม ไม่ใช่มีอุณหภูมิหนาวเย็นลงเรื่อย ๆ อย่างที่นักดาราศาสตร์เฝ้าสังเกตมาเป็นเวลากว่า 20 ปี ซึ่งยังได้รับการยืนยันอีกด้วยว่ากล้องโทรทรรศน์ภาคพื้นที่ใช้การถ่ายภาพย่านอินฟราเรดของดาวเนปจูนก็ไม่ได้มีความผิดปกติใด ๆ ราวกับว่ามีอะไรบางอย่างขวางกั้นไม่ให้รังสีของดวงอาทิตย์ตกลงไปกระทบดาวเนปจูนอย่างไรอย่างนั้น

Credit: Michael Roman/NASA/JPL/Voyager-ISS/Justin Cowart

แต่จนแล้วจนรอดในช่วงปี 2018 อุณหภูมิของดาวเนปจูนก็เริ่มอุ่นขึ้นอย่างรวดเร็วถึง 11 องศาเซลเซียสเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ที่ตัวดาวเผชิญกับฤดูร้อนรอบล่าสุด ซึ่งนักดาราศาสตร์ต่างยอมรับว่าพวกเขายังคงมีหลักฐานน้อยเกินไปที่จะสรุปถึงสาเหตุของความผันผวนทางอุณหภูมิบนดาวเนปจูนได้ในตอนนี้ เพราะว่าข้อมูลทั้งหมดของเรานั้นเป็นแค่เศษเสี้ยวเวลาเดียวจาก 1 ปีบนดาวเนปจูน (165 ปีบนโลก) นั่นเอง 

โดยมีการคาดการณ์ว่าหลังจากนี้กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์ (JWST) อาจจะช่วยมอบกุญแจสำคัญในการไขปริศนานี้ได้ ผ่านภารกิจสังเกตการณ์ดาวยูเรนัสและดาวเนปจูนในช่วงปลายปี 2022 นี้

อ้างอิง

Unexpected Atmospheric Temperature Changes Detected on Neptune

Subseasonal Variation in Neptune’s Mid-infrared Emission

Temperatures on Neptune Are Mysteriously Fluctuating, And It Doesn’t Make Sense

Tags: NeptunePlanetary Science
Nakarin Chantaso

Nakarin Chantaso

บรรณาธิการบริหารและผู้ร่วมก่อตั้ง The Principia ผู้ชื่นชอบในศิลปะ การสื่อสาร อวกาศ และเป็นทาสแมว

Chinapong Lienpanich

Chinapong Lienpanich

Mostly being a space-nerd who dreamt to work at NASA, but now a 21 years old Film Student dedicating to generalize space communication.

Related Posts

โลกพ้นภัย ดาวเคราะห์น้อย 2023BU เฉียดโลกมากที่สุด
Astronomy

โลกพ้นภัย ดาวเคราะห์น้อย 2023BU เฉียดโลกมากที่สุด

byPeeravut Boonsat
29/01/2023
เปิดไฟล์โปรเจ็กต์ A119 แผนยิงระเบิดใส่ดวงจันทร์
Astronomy

เปิดไฟล์โปรเจ็กต์ A119 แผนยิงระเบิดใส่ดวงจันทร์

byChinapong Lienpanich
31/12/2022
รูหนอนในฟิสิกส์ กับ Bifrost (God of war: Ragnarok)
Cosmology

รูหนอนในฟิสิกส์ กับ Bifrost (God of war: Ragnarok)

byTakol Tangphati
15/12/2022
mu Space เชิญสื่อร่วมฟังอัปเดตเทคโนโลยีล่าสุดภายในงาน TECHDAY 2022
Astronomy

mu Space เชิญสื่อร่วมฟังอัปเดตเทคโนโลยีล่าสุดภายในงาน TECHDAY 2022

byTakol Tangphatiand2 others
11/12/2022
The Principia

ส่งเสริมสังคมสร้างสรรค์ ด้วยการสื่อสารวิทยาศาสตร์

© 2021 ThePrincipia. All rights reserved.

The Principia Media

About Us
Members
Contact Us
theprincipia2021@gmail.com

Follow us

No Result
View All Result
  • ข่าว
  • เทคโนโลยี
    • หุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์
    • วิศวกรรม
    • ยานพาหนะ
    • พลังงาน
    • เทคโนโลยีอาหาร
    • เทคโนโลยีการคำนวณ
    • เทคโนโลยีอวกาศ
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
    • วิทยาศาสตร์สุขภาพ
    • ชีววิทยาโมเลกุล
    • วิวัฒนาการ
    • สัตววิทยา
    • พฤกษศาสตร์
    • จุลชีววิทยา
    • กีฏวิทยา
    • นิเวศวิทยา
  • ดาราศาสตร์
    • ฟิสิกส์ดาราศาสตร์
    • จักรวาลวิทยา
    • วิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์
  • อื่น ๆ
    • ศิลปะ & วัฒนธรรม
    • คณิตศาสตร์
    • ประวัติศาสตร์
    • จิตวิทยา
    • ปรัชญา
    • วิทยาศาสตร์การกีฬา
    • Sci-fi
  • ร้านค้า