• ข่าว
  • เทคโนโลยี
    • หุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์
    • วิศวกรรม
    • ยานพาหนะ
    • พลังงาน
    • เทคโนโลยีอาหาร
    • เทคโนโลยีการคำนวณ
    • เทคโนโลยีอวกาศ
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
    • วิทยาศาสตร์สุขภาพ
    • ชีววิทยาโมเลกุล
    • วิวัฒนาการ
    • สัตววิทยา
    • พฤกษศาสตร์
    • จุลชีววิทยา
    • กีฏวิทยา
    • นิเวศวิทยา
  • ดาราศาสตร์
    • ฟิสิกส์ดาราศาสตร์
    • จักรวาลวิทยา
    • วิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์
  • อื่น ๆ
    • Sci-fi
    • วิทยาศาสตร์การกีฬา
    • คณิตศาสตร์
    • จิตวิทยา
    • ศิลปะ & วัฒนธรรม
    • ประวัติศาสตร์
    • ปรัชญา
No Result
View All Result
The Principia
  • ข่าว
  • เทคโนโลยี
    • หุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์
    • วิศวกรรม
    • ยานพาหนะ
    • พลังงาน
    • เทคโนโลยีอาหาร
    • เทคโนโลยีการคำนวณ
    • เทคโนโลยีอวกาศ
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
    • วิทยาศาสตร์สุขภาพ
    • ชีววิทยาโมเลกุล
    • วิวัฒนาการ
    • สัตววิทยา
    • พฤกษศาสตร์
    • จุลชีววิทยา
    • กีฏวิทยา
    • นิเวศวิทยา
  • ดาราศาสตร์
    • ฟิสิกส์ดาราศาสตร์
    • จักรวาลวิทยา
    • วิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์
  • อื่น ๆ
    • Sci-fi
    • วิทยาศาสตร์การกีฬา
    • คณิตศาสตร์
    • จิตวิทยา
    • ศิลปะ & วัฒนธรรม
    • ประวัติศาสตร์
    • ปรัชญา
No Result
View All Result
The Principia
No Result
View All Result

ข้อมูลจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เว็บบ์ บ่งชี้ว่า ค่าคงที่ของฮับเบิลมีค่ามากกว่าที่คาดการณ์ไว้

Nattakit NamchoobyNattakit Namchoo
02/10/2023
in Astronomy, Astrophysic, Cosmology
A A
0
ข้อมูลจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เว็บบ์ บ่งชี้ว่า ค่าคงที่ของฮับเบิลมีค่ามากกว่าที่คาดการณ์ไว้
Share on FacebookShare on Twitter

ภาพกาแล็กซี NGC 5584 จากกล้องอินฟราเรดคลื่นสั้น (NIR Cam) บนกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เว็บบ์
Image Credit: NASA, ESA, A. Riess (STScI), W. Yuan (STScI).

หนึ่งในพื้นฐานที่สำคัญที่สุดในการศึกษาและเข้าใจถึงวิวัฒนาการของเอกภพคือ “ค่าคงที่ของฮับเบิล” ซึ่งอธิบายถึงอัตราการขยายตัวของเอกภพ แต่อย่างไรก็ตาม ค่าคงที่ของฮับเบิลที่ได้จากการสังเกตการณ์นั้น มีค่าเกินกว่าที่คาดไว้มาก ซึ่งเรียกว่า “Hubble Tention” โดยในปี 2023 นี้ Adam Riess จาก Johns Hopkins University ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ ในปี 2011 ได้ใช้กล้องเจมส์ เว็บบ์ ในการสังเกตการณ์เพื่อวัดค่าคงที่ของฮับเบิล

Adam Riess กล่าวว่า “เมื่อใดที่เราลองพยายามสังเกตบริเวณขอบการมองเห็นของเรา เมื่อนั้นมันมักจะสังเกตได้ยากเสมอ” และนั่นคือสิ่งที่นักดาราศาสตร์กำลังศึกษาอยู่ นักดาราศาสตร์ศึกษาค่าคงที่ของฮับเบิล เพื่อทราบถึงอัตราการขยายตัวของเอกภพ ซึ่งการที่จะศึกษาเกี่ยวกับอัตราการขยายตัวของเอกภพนั้น จำเป็นจะต้องมีการสังเกตการณ์ดาวแปรแสงชนิดเซฟิอิดส์ (Cepheid variable stars) ในกาแล็กซีที่อยู่ห่างไกลออกไป อย่างกาแล็กซี  NGC 5584 นักดาราศาสตร์ได้คำนวณระยะเวลาที่แสงจากดาวแปรแสงนั้นเดินทางมาถึงตัวรับสัญญาณบนกล้องเจมส์ เว็บบ์ พร้อมทั้งวิเคราะห์ร่วมกับการขยายตัวของเอกภพในช่วงเวลานั้น ซึ่งได้จากการศึกษาปรากฏการณ์การเลื่อนทางแดง (Redshift)

จากภาพ แสดงการเปรียบเทียบความละเอียดในการสังเกตการณ์ระหว่างกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล (ด้านบน) และกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เว็บบ์ (ด้านล่าง) โดยภาพจากกล้องฮับเบิลนั้น มีแสงจากดาวข้างเคียงรบกวนดาวแปรแสงที่สนใจค่อนข้างมาก ซึ่งต่างจากกล้องเจมส์ เว็บบ์ ซึ่งมีแสงจากดาวข้างเคียงรบกวนน้อยกว่า
Credit: NASA, ESA, A. Riess (STScI), W. Yuan (STScI).

สาเหตุที่ดาวแปรแสงชนิดเซฟิอิดส์เป็นดาวที่นักดาราศาสตร์สนใจศึกษาก็เพราะว่า ดาวแปรแสงชนิดนี้มีความสว่างค่อนข้างมาก ซึ่งง่ายต่อการรับสัญญาณมากกว่าดาวอื่น ๆ และถือเป็นกุญแจชิ้นสำคัญสำหรับการวัดระยะทางของกาแล็กซีที่อยู่ไกลออกไปกว่าร้อยล้านปีแสง ซึ่งจะนำไปสู่การคำนวณค่าคงที่ของฮับเบิลในที่สุด

ในอดีต กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลถูกส่งขึ้นไปในอวกาศเพื่อหลีกเลี่ยงค่าความแปรปรวนของแสงอันเนื่องมาจากการดูดกลืนแสงในชั้นบรรยากาศ ทำให้ข้อมูลที่ได้จากกล้องฮับเบิลมีความชัดเจนและเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาวิจัยเป็นอย่างมาก สรุปได้ว่า “ถ้าอัตราการขยายตัวของเอกภพมาก อายุของเอกภพจะน้อย”

อย่างไรก็ตาม การที่นักดาราศาสตร์ได้ศึกษาดาวแปรแสงนี้อีกครั้ง ก็เพราะว่าในปัจจุบันเรามีกล้องโทรทรรศน์อวกาศที่มีประสิทธิภาพมากกว่ากล้องฮับเบิลในอดีต ซึ่งก็คือกล้องเจมส์ เว็บบ์ เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่ถูกต้องและแม่นยำมากขึ้น อุปกรณ์หลักที่ใช้คือ NIR Cam หรือกล้องอินฟราเรดช่วงใกล้ที่ติดตั้งไปบนกล้องเจมส์ เว็บบ์ โดย NIR Cam นี้จะรับสัญญาณภาพที่ไม่มีการบดบังของฝุ่นในเอกภพ (ฝุ่นเหล่านี้ดูดกลืนช่วงแสงสีน้ำเงิน) ทำให้นักวิจัยได้ภาพที่มีความชัดเจนมากกว่าในอดีต กล่าวคือ ถูกรบกวนโดยแสงจากดาวข้างเคียงน้อยกว่า

ในปีแรกที่มีการส่งกล้องเจมส์ เว็บบ์ ขึ้นไปบนอวกาศ นักวิจัยได้ใช้กล้องเจมส์ เว็บบ์ ศึกษาดาวแปรแสงเซฟิอิดส์ ซึ่งมีขั้นตอนหลัก ๆ 3 ขั้นตอน โดยขั้นตอนแรกคือ การศึกษาดาวแปรแสงเซฟิอิดส์ในกาแล็กซีที่ทราบระยะห่างชัดเจนแล้ว (ใช้ปรับเทียบความสว่างที่แท้จริงของดาวแปรแสงเซฟิอิดส์) ขั้นตอนที่ 2 คือการสังเกตการณ์ดาวแปรแสงเซฟิอิดส์ในกาแล็กซีที่เกิด Type Ia Supernovae สองขั้นตอนที่กล่าวไปข้างต้น นำไปใช้ปรับเทียบหาความสว่างที่แท้จริงของกาแล็กซี (มีการศึกษาดาวแปรแสงเซฟิอิดส์มากกว่า 320 ดวง) และในขั้นตอนสุดท้ายคือการสังเกตกาแล็กซีที่อยู่ไกลออกไปมากเท่าที่จะสังเกตได้ เพื่อคำนวณหาอัตราการขยายตัวของเอกภพต่อไป

จากกราฟความสัมพันธ์ระหว่างคาบและความส่องสว่างของดาวแปรแสงเซฟิอิดส์ โดยในกราฟได้มีการลงจุดข้อมูลจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศทั้งสองตัว เพื่อให้เห็นถึงประสิทธิภาพที่มากขึ้นและการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการสำรวจอวกาศที่มีความคืบหน้า โดยจุดสีเทาคือ ข้อมูลที่ได้จากกล้องฮับเบิล และจุดสีแดงคือ ข้อมูลที่ได้จากกล้องเจมส์ เว็บบ์ กราฟด้านบนคือข้อมูลจากดาวแปรแสงเซฟิอิดส์ในกาแล็กซี NGC 5584 (Type Ia Supernova host) และกราฟด้านล่างคือข้อมูลจากดาวแปรแสงเซฟิอิดส์ในกาแล็กซี NGC 4258 (กาแล็กซีที่ทราบระยะห่างชัดเจน)
Image Credit: NASA, ESA, A. Riess (STScI), and G. Anand (STScI).

แต่ถึงแม้จะมีการศึกษาที่ละเอียดและลึกซึ้งเพียงนี้ ก็ยังตอบคำถามที่ว่า “ทำไมค่าคงที่ที่ได้จากการสังเกตการณ์ถึงมีค่ามากกว่าค่าที่คาดการณ์ไว้มากขนาดนั้น” ก็ยังไม่สามารถตอบได้อย่างชัดเจน โดยในขั้นตอนต่อไปที่จะต้องศึกษาให้ลึกลงไปอีกคือ ศึกษาเกี่ยวกับรังสีที่ยังหลงเหลืออยู่จากการระเบิดบิ๊กแบง จากนั้นสร้างแบบจำลองเพื่ออธิบายถึงการวิวัฒนาการของเอกภพตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

การทราบถึงค่าคงที่ของฮับเบิลที่มากกว่าค่าที่คาดไว้มากขนาดนี้ เป็นโจทย์ระยะยาวของนักดาราศาสตร์ในทศวรรษนี้เลยก็ว่าได้ “Hubble Tention” คือสิ่งที่บ่งบอกอย่างชัดเจนว่า “ยังมีองค์ความรู้บางอย่างที่มนุษย์ยังไม่รู้เกี่ยวกับเอกภพนี้อีกมากมาย” และนี่คืออีกหนึ่งเหตุผลที่ต้องมีการทำการทดลอง “หลายซ้ำ” เพื่อเพิ่มความแม่นยำให้กับผลการทดลอง

อ้างอิง

[1] : Hubble Constant Tension Mystery Deepens: Webb Space Telescope Measures the Universe’s Expansion Rate

[2] : Webb Confirms Accuracy of Universe’s Expansion Rate Measured by Hubble, Deepens Mystery of Hubble Constant Tension

Tags: astronomyJames Webbnasa
Nattakit Namchoo

Nattakit Namchoo

นักศึกษาฟิสิกส์ที่เชื่อว่าสามารถเขียนเรื่องวิทยาศาสตร์ยาก ๆ ให้เป็นเรื่องที่ยากกว่าเดิมได้ ขอบคุณครับ

Related Posts

จุดกำเนิดวงแหวนของดาวเสาร์อาจเกิดจาการชนกันระหว่างดวงจันทร์บริวารเมื่อหลายล้านปีก่อน
Astronomy

จุดกำเนิดวงแหวนของดาวเสาร์อาจเกิดจาการชนกันระหว่างดวงจันทร์บริวารเมื่อหลายล้านปีก่อน

byNattakit Namchoo
10/10/2023
ทำความรู้จัก ‘เคปเลอร์ 62’ ระบบดาวที่มีดาวเคราะห์หินคล้ายโลก เอื้อต่อสิ่งมีชีวิต
Astronomy

ทำความรู้จัก ‘เคปเลอร์ 62’ ระบบดาวที่มีดาวเคราะห์หินคล้ายโลก เอื้อต่อสิ่งมีชีวิต

byChinapong Lienpanichand1 others
30/09/2023
ข้อมูลจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เว็บบ์ พบว่า ในเอกภพของเรามีหลุมดำมวลยิ่งยวดน้อยกว่าที่คิด
Astronomy

ข้อมูลจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เว็บบ์ พบว่า ในเอกภพของเรามีหลุมดำมวลยิ่งยวดน้อยกว่าที่คิด

byNattakit Namchoo
27/09/2023
จุดมืดปริศนาบนดาวเนปจูนถูกตรวจจับได้จากบนโลกเป็นครั้งแรก
Astronomy

จุดมืดปริศนาบนดาวเนปจูนถูกตรวจจับได้จากบนโลกเป็นครั้งแรก

นักดาราศาสตร์ค้นพบ ...

byNattakit Namchoo
27/09/2023
The Principia

ส่งเสริมสังคมสร้างสรรค์ ด้วยการสื่อสารวิทยาศาสตร์

© 2021 ThePrincipia. All rights reserved.

The Principia Media

About Us
Members
Contact Us
theprincipia2021@gmail.com

Follow us

No Result
View All Result
  • ข่าว
  • เทคโนโลยี
    • หุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์
    • วิศวกรรม
    • ยานพาหนะ
    • พลังงาน
    • เทคโนโลยีอาหาร
    • เทคโนโลยีการคำนวณ
    • เทคโนโลยีอวกาศ
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
    • วิทยาศาสตร์สุขภาพ
    • ชีววิทยาโมเลกุล
    • วิวัฒนาการ
    • สัตววิทยา
    • พฤกษศาสตร์
    • จุลชีววิทยา
    • กีฏวิทยา
    • นิเวศวิทยา
  • ดาราศาสตร์
    • ฟิสิกส์ดาราศาสตร์
    • จักรวาลวิทยา
    • วิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์
  • อื่น ๆ
    • Sci-fi
    • วิทยาศาสตร์การกีฬา
    • คณิตศาสตร์
    • จิตวิทยา
    • ศิลปะ & วัฒนธรรม
    • ประวัติศาสตร์
    • ปรัชญา