ไมโครพลาสติก คือปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สำคัญในปัจจุบัน การปนเปื้อนของไมโครพลาสติกในแหล่งน้ำและดิน ส่งผลให้เราได้รับไมโครพลาสติกผ่านอาหารที่ใช้ดินและน้ำนั้น งานวิจัยใหม่ได้เปิดเผยภัยรูปแบบใหม่จากไมโครพลาสติก โดยพวกเขาพบว่าไมโครพลาสติกจากพลาสติกทนความร้อนสามารถเข้าสู่ผิวหนังของร่างกาย
ปัจจุบันสารเคมีหน่วงไฟและพลาสติกทนความร้อนหลายชนิดถูกสั่งห้ามไปแล้ว เนื่องจากส่งผลเสียต่อตับหรือระบบประสาท และความเสี่ยงต่อระบบเจริญพันธุ์ ถึงยังงั้นสารนี้ก็ยังคงถูกใช้อย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เฟอร์นิเจอร์ พรม และวัสดุก่อสร้างรุ่นเก่า
ทีมวิจัยได้จำลองแบบจำลองของผิวหนังมนุษย์ 3 มิติแทนการทดลองในสิ่งมีชีวิต หลังจากพวกเขาพบว่าไมโครพลาสติกพวกนี้สามารถถูกชะด้วยเหงื่อและอาจจะซึมเข้าสู่กระแสเลือดผ่านผิวหนังได้ โดยแบบจำลองดังกล่าวนี้ถูกนำไปสัมผัสพลสติกที่มีส่วนผสมของโพลีโบรมิเนเต็ดไดฟีนิลอีเทอร์ (PBDE) ซึ่งถูกใช้ในพลาสติกทนความร้อน
ผลการทดลองนี้ได้ถูกตีพิมพ์ในวารสาร Environment International แสดงให้เห็นว่าไมโครพลาสติกประมาณ 8% สามารถซึมผ่านผิวหนัง โดยในผิวหนังที่มีความชุ่มชื้นสูงหรือเหงื่อออกมาจะสามารถดูดซึมได้มากขึ้น
ดร.โอโวเครอย อาบาเฟ ผู้ทำวิจัยกล่าวว่าไมโครพลาสติกยังไม่มีหลักฐานที่ยืนยันว่ามีผลกระทบต่อร่างกาย แต่พวกมันสามารถเป็นพาหะที่นำสารเคมีอันตรายเข้าสู่ร่างกาย ดังนั้นหากสัมผัสสารอย่างต่อเนื่องสารเคมีอันตรายที่ไมโครพลาสติกนำพาเข้าไปจะเกิดการสะสมได้
งานวิจัยนี้จะช่วยให้หน่วยงานภาครัฐสามารถออกมาตราการเกี่ยวกับไมโครพลาสติก และป้องกันสุขภาพของประชากรจาการสัมผัสไมโครพลาสติก ซึ่งในอนาคตงานวิจัยนี้จะพัฒนาเพื่อหาความเชื่อมโยงของไมโครพลาสติกกับสารเคมีอันตรายอื่น ๆ ที่อาจเข้าสู่ร่างกายผ่านการสูดดมและการกินได้ โดยงานวิจัยนี้ได้รับเงินทุนสนับสนุนจาก Marie Curie Research Fellowship ภายใต้โครงการวิจัยและพัฒนาโฮริซอน 2020 ในยุโรป
อ้างอิง
https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S0160412024002216