• ข่าว
  • เทคโนโลยี
    • หุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์
    • วิศวกรรม
    • ยานพาหนะ
    • พลังงาน
    • เทคโนโลยีอาหาร
    • เทคโนโลยีการคำนวณ
    • เทคโนโลยีอวกาศ
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
    • วิทยาศาสตร์สุขภาพ
    • ชีววิทยาโมเลกุล
    • วิวัฒนาการ
    • สัตววิทยา
    • พฤกษศาสตร์
    • จุลชีววิทยา
    • กีฏวิทยา
    • นิเวศวิทยา
  • ดาราศาสตร์
    • ฟิสิกส์ดาราศาสตร์
    • จักรวาลวิทยา
    • วิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์
  • อื่น ๆ
    • ศิลปะ & วัฒนธรรม
    • คณิตศาสตร์
    • ประวัติศาสตร์
    • จิตวิทยา
    • ปรัชญา
    • วิทยาศาสตร์การกีฬา
    • Sci-fi
  • ร้านค้า
No Result
View All Result
The Principia
  • ข่าว
  • เทคโนโลยี
    • หุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์
    • วิศวกรรม
    • ยานพาหนะ
    • พลังงาน
    • เทคโนโลยีอาหาร
    • เทคโนโลยีการคำนวณ
    • เทคโนโลยีอวกาศ
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
    • วิทยาศาสตร์สุขภาพ
    • ชีววิทยาโมเลกุล
    • วิวัฒนาการ
    • สัตววิทยา
    • พฤกษศาสตร์
    • จุลชีววิทยา
    • กีฏวิทยา
    • นิเวศวิทยา
  • ดาราศาสตร์
    • ฟิสิกส์ดาราศาสตร์
    • จักรวาลวิทยา
    • วิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์
  • อื่น ๆ
    • ศิลปะ & วัฒนธรรม
    • คณิตศาสตร์
    • ประวัติศาสตร์
    • จิตวิทยา
    • ปรัชญา
    • วิทยาศาสตร์การกีฬา
    • Sci-fi
  • ร้านค้า
No Result
View All Result
The Principia
No Result
View All Result

ด้วงตด ปืนใหญ่พิษแห่งโลกของสิ่งมีชีวิต

Thanaset TrairatbyThanaset Trairat
16/04/2022
in Biology, Entomology, Zoology
A A
0
ด้วงตด ปืนใหญ่พิษแห่งโลกของสิ่งมีชีวิต
Share on FacebookShare on Twitter

ถ้าหากทุกวินาทีที่เดินผ่านไปคือทุกย่างก้าวของความตายที่คืบคลานเข้ามา แม้ร่างกายจะหยุดอยู่นิ่ง ๆ อย่างการนอนหลับก็สามารถตายได้หากคุณอยู่ในโลกของสิ่งมีชีวิต ธรรมชาติมักจะมีอะไรที่น่าพิศวงชวนให้เราสงสัยเสมอว่าหากเป็นเราที่ต้องเข้าไปอยู่ในโลกที่หันไปทางไหนก็ไม่มีใครเหมือนเรา ไม่มีเพื่อน ไม่มีสิ่งมีชีวิตที่หน้าตาเหมือนเรา และไม่มีมิตรที่จะทำให้เราอุ่นใจ มีแต่ศัตรูที่พร้อมจะช่วงชิงชีวิตของเราเพื่อไปต่อชีวิตของมัน คุณจะเอาชีวิตรอดอย่างไร! มันคงไม่ยากมากสำหรับมนุษย์ที่มีขนาดสมองที่ใหญ่กว่ากำปั้นของฝ่ามือในการเอาชีวิตรอด แต่ถ้ามองหันกลับไปดูสิ่งมีชีวิตที่ขนาดสมองเล็กจนนักชีววิทยาเรียกมันเป็นปมประสาทอย่างแมลง มันคิดวิธีการเอาตัวรอดได้อย่างไร?

กรงเล็บของหมี คมเขี้ยวของเสือ การสร้างใยของหนอนมาห่อหุ้มตัว ชุดเกราะของด้วงกว่าง สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติผ่านระยะเวลามาอย่างยาวนานหลายล้านปี สิ่งมีชีวิตที่อยู่รอดจนถึงปัจจุบันและวิธีการที่มันใช้คือเครื่องมือยืนยันว่าสามารถทำให้พวกมันดำรงคงอยู่เผ่าของมันได้ แต่ก็ยังมีกลเม็ดในการเอาตัวรอดที่ดูเหมือนว่าจะออกไปทางขี้ขลาดอย่างการใช้พิษ แต่ก็มีสิ่งมีชีวิตจำนวนไม่น้อยที่จะเลือกใช้วิธีนี้เพราะในโลกของสิ่งมีชีวิตไม่มีคำว่าขี้ขลาด มีแต่คำว่าผู้ล่าหรือผู้ที่ถูกล่า

การใช้พิษของสิ่งมีชีวิตมีทั้งใช้ไปในทางการล่าเหยื่อเป็นหลักอย่างงู ตะขาบ แมงป่อง แต่ก็มีอีกหลายชนิดที่ใช้เพื่อการป้องกันตัวอย่างด้วงก้นกระดก ด้วงน้ำมัน หรือแมลงที่สวยงามอย่างผีเสื้อหนอนใบรัก ซึ่งต่างก็มีพิษที่สะสมไว้ในร่างกายทำให้ผู้ล่าส่วนมากเลือกที่จะไม่กิน เพราะต่างก็หวาดกลัวความตายจากการกินพวกมัน แต่พิษของสิ่งมีชีวิตเหล่านั้นจะแสดงประสิทธิภาพออกมาสูงสุดได้ผ่านการกิน ซึ่งไม่ใช่ตัวที่เราจะพูดถึงกันในวันนี้นั่นก็คือ ด้วงตด (bombardier beetle)

ด้วงตดกำลังปล่อยสารพิษออกมา
ที่มา https://wifflegif.com/tags/328638-bombardier-beetle-gifs

ด้วงตด เป็นกลุ่มของแมลงที่ถูกจัดในอันดับ Coleoptera วงศ์ Carabidae ที่สามารถปล่อยสารพิษออกมาจากทางด้านปลายสุดของท้อง โดยจะมีต่อมแบ่งเป็น 2 ส่วนสำหรับกักเก็บสารเคมีซึ่งมีสาร 2 ชนิดคือ ไฮโดรควิโนน กับ ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ เตรียมพร้อมรอสัญญาณไฟเขียวส่งมาบอกว่าปล่อยได้ โดยจะใช้กล้ามเนื้อเป็นตัวบีบเพื่อปล่อยสารและถูกส่งไม้ต่อไปยังส่วนที่ทำปฏิกิริยา โดยจะมีตัวเร่งปฏิกิริยาเตรียมรอพร้อมรับทุกสถานการณ์เมื่อสารถูกส่งมาเจอกับตัวเร่งปฏิกิริยา ผลที่ได้คือ บู้มมมมมมมมม! ปืนใหญ่ระเบิดแรงดันสารเคมีพร้อมอุณหภูมิที่สูงมากกว่า 100 องศาเซลเซียส

สีเขียวคือส่วนที่กับเก็บไฮโดรควิโนนกับไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ สีแดงคือส่วนที่เกิดปฏิกิริยา
ที่มา https://www.kqed.org/science/536762/the-bombardier-beetle-and-its-crazy-chemical-cannon

เอนไซม์เหล่านั้นจะผลิตมาจากผนังของเซลล์ที่เป็นส่วนเอาไว้ทำปฏิกิริยา ถ้ามองเป็นภาพง่าย ๆ คือมีแก้ว 2 ใบ แก้วใบที่หนึ่งต่อท่อส่งมาให้แก้วใบที่สอง ซึ่งแก้วใบที่สองบริเวณผิวแก้วมีตัวเร่งปฏิริยาเคลือบไว้อยู่ เมื่อสารมาโดนแก้วใบที่สองจึงเกิดปฏิกิริยา แรงดันภายในแก้วจะเป็นตัวกระตุ้นให้สารเคมีหรือก็คือกระสุนปืนใหญ่ถูกผลักออกมา ถ้าเทียบให้เห็นภาพง่าย ๆ คืออุจจาระของเรา ๆ ท่าน ๆ ทั้งหลายนี้แหละที่แรงเบ่งถึงของแข็งก็หลุดออกจากตูด เพียงแต่อันนี้มาในรูปของเหลวที่ถูกดันออกมา ซึ่งด้วงตดจะใช้ตูดเล็งแล้วยิงผ่านใต้ท้องออกไปหาศัตรู บางตัวอาจจะเกิดอาการระคายเคือง หยุดชะงักไปสักครู่ หรือบางตัวก็อาจจะตายได้หากสารเหล่านี้ยิงไปยังจุดตาย

อ้างอิง

https://www.science.org/doi/10.1126/science.1261166

https://iopscience.iop.org/article/10.1088/1748-3182/2/4/001

Tags: BiologyBombardier beetleColeopteraToxic insect
Thanaset Trairat

Thanaset Trairat

Entomology, Toxicology, and Insect Physiology

Related Posts

ทำไมวาฬถึงตัวใหญ่
Biology

ทำไมวาฬถึงตัวใหญ่

byPeeravut Boonsat
29/01/2023
วัคซีน HIV ล้มเหลวอีกแล้ว
Biology

วัคซีน HIV ล้มเหลวอีกแล้ว

byTanakrit Srivilas
23/01/2023
พวกขึ้เหยียดอาจเป็นเพราะจุลินทรีย์เบียดบัง
Bacteriology

พวกขึ้เหยียดอาจเป็นเพราะจุลินทรีย์เบียดบัง

byPeeravut Boonsat
23/01/2023
นอนบนเตียงระวังโดนดูด (เลือด)
Biology

นอนบนเตียงระวังโดนดูด (เลือด)

byThanaset Trairat
15/01/2023
The Principia

ส่งเสริมสังคมสร้างสรรค์ ด้วยการสื่อสารวิทยาศาสตร์

© 2021 ThePrincipia. All rights reserved.

The Principia Media

About Us
Members
Contact Us
theprincipia2021@gmail.com

Follow us

No Result
View All Result
  • ข่าว
  • เทคโนโลยี
    • หุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์
    • วิศวกรรม
    • ยานพาหนะ
    • พลังงาน
    • เทคโนโลยีอาหาร
    • เทคโนโลยีการคำนวณ
    • เทคโนโลยีอวกาศ
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
    • วิทยาศาสตร์สุขภาพ
    • ชีววิทยาโมเลกุล
    • วิวัฒนาการ
    • สัตววิทยา
    • พฤกษศาสตร์
    • จุลชีววิทยา
    • กีฏวิทยา
    • นิเวศวิทยา
  • ดาราศาสตร์
    • ฟิสิกส์ดาราศาสตร์
    • จักรวาลวิทยา
    • วิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์
  • อื่น ๆ
    • ศิลปะ & วัฒนธรรม
    • คณิตศาสตร์
    • ประวัติศาสตร์
    • จิตวิทยา
    • ปรัชญา
    • วิทยาศาสตร์การกีฬา
    • Sci-fi
  • ร้านค้า