แบตเตอรี่ลิเทียม คือแหล่งจ่ายพลังงานหลักของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทั้งหลาย เช่น โทรศัพท์และรถยนต์ไฟฟ้า แต่แหล่งลิเทียมกลับสวนทางต่อความต้องการในปัจจุบัน
แร่ริเทียมเป็นแร่หายากมากที่สุดชนิดหนึ่งของโลก ดังนั้นเองนักวิจัยจึงต้องการพัฒนาแบตเตอรี่โซเดียม ที่เราสามารถหาได้ง่ายกว่าลิเทียมและราคาถูก แต่แบตเตอรี่โซเดียมนี้กลับมีปัญหาใหญ่ที่สำคัญ คือ ความจุของแบตเตอรี่และความสามารถในการจ่ายพลังงานที่ต่ำ และใช้เวลาชาร์จที่นานกว่า
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งเกาหลีใต้ (Korea Advanced Institute of Science and Technology :KAIST ) เปิดเผยว่าศาสตราจารย์ด้านวัสดุศาสตร์และวิศวกรรม จองกุคัง (Jeung Ku Kang) ได้พัฒนาแบตเตอรี่โซเดียมไอออนแบบไฮบริดที่สามารถแก้ไขข้อเสียของแบตเตอรี่โซเดียมได้แล้ว
ศาสตราจารย์เสนอว่าทีมวิจัยใช้การพัฒนาขั้วแอโนดและแคโทดให้มีความแตกต่างกัน โดยแอโนดจะถูกพัฒนาแบบแบตเตอรี่ทั่วไป แต่แคโทดออกแบบให้เป็นตัวเก็บประจุด้วยวิธีนี้เราจะได้แบตเตอรี่ที่จ่ายไฟได้รวดเร็วและเก็บประจุได้มากขึ้นกว่าเดิม อย่างไรก็ตามแบตเตอรี่นี้ก็ยังเผชิญกับปัญหาความเร็วในการจ่ายไฟ และการเพิ่มความจุของแบตเตอรี่ที่ต่ำเมื่อเทียบกับแบตเตอรี่ลิเทียม ดังนั้นศาสตราจารย์จึงประยุกต์ใช้กับโครงร่างแหคาร์บอนไฟเบอร์ที่จะช่วยแก้ปัญหาข้างต้นนี้
การรวมกันของนวัตกรรมนี้ ทำให้เราได้แบตเตอรี่ประสิทธิภาพสูง สามารถจัดเก็บพลังงานได้มากและชาร์จได้เร็วกว่าแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนทั่ว ๆ ไป จึงเหมาะกับการใช้งานในรถยนต์ไฟฟ้า ไปจนถึงอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และเทคโนโลยีการบินและอวกาศ
ศาสตราจารย์เปิดเผยค่ากระแสที่ปล่อยออกมาของแบตเตอรี่ และความจุของแบตเตอรี่ไว้ที่ 247 วัตต์•ชั่วโมง/กิโลกรัม และ 34,748 วัตต์/กิโลกรัม ซึ่งแสดงถึงการก้าวข้ามขีดจำกัดของการกักเก็บพลังงาน
อ้างอิง
https://www.sciencedirect.com/science/article/abs/pii/S2405829724001958?via%3Dihub