• ข่าว
  • เทคโนโลยี
    • หุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์
    • วิศวกรรม
    • ยานพาหนะ
    • พลังงาน
    • เทคโนโลยีอาหาร
    • เทคโนโลยีการคำนวณ
    • เทคโนโลยีอวกาศ
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
    • วิทยาศาสตร์สุขภาพ
    • ชีววิทยาโมเลกุล
    • วิวัฒนาการ
    • สัตววิทยา
    • พฤกษศาสตร์
    • จุลชีววิทยา
    • กีฏวิทยา
    • นิเวศวิทยา
  • ดาราศาสตร์
    • ฟิสิกส์ดาราศาสตร์
    • จักรวาลวิทยา
    • วิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์
  • อื่น ๆ
    • ศิลปะ & วัฒนธรรม
    • คณิตศาสตร์
    • ประวัติศาสตร์
    • จิตวิทยา
    • ปรัชญา
    • วิทยาศาสตร์การกีฬา
    • Sci-fi
  • ร้านค้า
No Result
View All Result
The Principia
  • ข่าว
  • เทคโนโลยี
    • หุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์
    • วิศวกรรม
    • ยานพาหนะ
    • พลังงาน
    • เทคโนโลยีอาหาร
    • เทคโนโลยีการคำนวณ
    • เทคโนโลยีอวกาศ
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
    • วิทยาศาสตร์สุขภาพ
    • ชีววิทยาโมเลกุล
    • วิวัฒนาการ
    • สัตววิทยา
    • พฤกษศาสตร์
    • จุลชีววิทยา
    • กีฏวิทยา
    • นิเวศวิทยา
  • ดาราศาสตร์
    • ฟิสิกส์ดาราศาสตร์
    • จักรวาลวิทยา
    • วิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์
  • อื่น ๆ
    • ศิลปะ & วัฒนธรรม
    • คณิตศาสตร์
    • ประวัติศาสตร์
    • จิตวิทยา
    • ปรัชญา
    • วิทยาศาสตร์การกีฬา
    • Sci-fi
  • ร้านค้า
No Result
View All Result
The Principia
No Result
View All Result

อวัยวะเจ๊ง ซ่อมได้ด้วย “เลือดเทียม”

Watcharin UnwetbyWatcharin Unwet
08/09/2022
in Health, News, Physiology
A A
0
อวัยวะเจ๊ง ซ่อมได้ด้วย “เลือดเทียม”

ที่มา : https://www.newscientist.com/article/2331983-blood-substitute-repairs-damaged-organs-hours-after-heart-stops/

Share on FacebookShare on Twitter

เมื่อหัวใจของเราล้มเหลว สิ่งที่เกิดขึ้นกับร่างกายเราคือ ร่างกายจะเริ่มขาดออกซิเจนเพราะไม่มีการสูบฉีดเลือดไปแลกเปลี่ยนแก๊สที่ปอด แถมปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ในร่างกายก็จะสะสมมากขึ้น ทำให้เกิดสภาวะที่เป็นกรด ทำให้เนื้อเยื่อและอวัยวะเกิดความเสียหาย จนนำไปสู่การตายของเซลล์ได้ในที่สุด

จะดีกว่าไหม ถ้าเราจะสามารถซ่อมแซมอวัยวะของเราเองได้ แม้หัวใจจะหยุดเต้นไปเป็นชั่วโมงแล้วก็ตาม ซึ่งจะช่วยเพิ่มโอกาสในการรอดชีวิตและเตรียมร่างกายให้พร้อมสำหรับการปลูกถ่ายอวัยวะอีกด้วย นี่คือที่มาของเทคโนโลยีที่เป็นความหวังใหม่ในวงการแพทย์ ที่มีชื่อว่า “OrganEx” หรือ “เลือดเทียม” 

OrganEx เป็นเทคโนโลยีที่ต่อยอดมาจาก BrainEx ในปี 2019 นำโดยทีมวิจัยจาก Yale School of Medicine ซึ่งตอนนั้นทำในสมองของหมูทดลอง (“หมู” อู๊ดๆนะ ไม่ใช่ “หนู”)  และสามารถซ่อมแซมสมองหมูที่ตายแล้วได้ แต่แผนการในระยะยาวของทีมวิจัยนี้ ต้องการจะขยายผลเทคโนโลยีดังกล่าวไปใช้กับอวัยวะอื่นในร่างกายคนด้วย จึงเป็นที่มาของการต่อยอดนำไปสู่การพัฒนา OrganEx นั่นเอง

ตัวเทคโนโลยี OrganEx จะเป็นการให้เลือดเทียมที่สังเคราะห์ขึ้นมา ไปเจือจางกับเลือดจริง ในอัตราส่วน 1 ต่อ 1 เพื่อ โดยตัวเลือดเทียมนั้นจะมีการบรรจุออกซิเจนอยู่ข้างใน รวมไปถึงการปรับค่าสารเคมีอย่างเช่น electrolyte ต่างๆให้เหมาะสม และมีการให้สารที่เป็นยาทั้งหมด 13 ชนิดเข้าไปด้วย ความน่าสนใจของมันก็คือ ตัวเลือดเทียมจะไม่ใช่เซลล์เม็ดเลือดแดง เพราะฉะนั้นจะไม่มีฮีโมโกลบิน (Haemoglobin) ที่ทำหน้าที่จับออกซิเจน แต่จะเป็นของเหลวที่บรรจุสารชื่อ Hemopore แทน ซึ่งเป็นสารรูปแบบเดียวกับฮีโมโกลบินที่ได้มาจากวัว

นักวิจัยได้ทำการทดลองโดยทำให้หมูทดลองสลบ แล้วใช้เครื่องช่วยหายใจ จากนั้นก็ทำให้หัวใจหยุดเต้นและถอดเครื่องช่วยหายใจออก จนหมูตัวนั้นอยู่ในสภาพที่เรียกได้ว่าหมดลมหายใจแล้ว จนกระทั่งเมื่อเวลาผ่านไป 1 ชั่วโมง นักวิจัยก็เชื่อมต่อระบบ OrganEx เข้ากับหมูทดลอง และเมื่อเวลาผ่านไป 6 ชั่วโมง นักวิจัยก็ได้เติมเลือดเทียมเข้าไปให้หมูทดลองตามสูตรที่ได้พูดถึงไปแล้ว ผลการทดลองพบว่าหมูที่เชื่อมต่อกับระบบ OrganEx จะมีปริมาณเซลล์ที่ตายแล้วน้อยกว่าเมื่อเทียบกับการใช้เครื่องพยุงชีพหัวใจแบบทั่วไป (Extracorporeal Membrane Oxygenation, EMCO)  และสามารถซ่อมแซมเซลล์และอวัยวะให้กลับมาทำงานได้ โดยดูจากสารที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของอวัยวะ เช่น ปริมาณการใช้น้ำตาลกลูโคสในเซลล์ เป็นต้น

ภาพรวมการทดลองของเทคโนโลยี OrganEx
ที่มา Andrijevic et al., 2022

ทีมนักวิจัยกล่าวว่า ในเบื้องต้น ระบบ OrganEx จะสามารถนำมาใช้ได้กับการเก็บรักษาอวัยวะเพื่อเตรียมพร้อมกับการปลูกถ่ายให้นานยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม การที่จะเอาไปใช้กับคนจริงๆ จำเป็นต้องใช้ผลการทดลองอีกมาก และคงจะไม่ใช่ในเร็วๆนี้ แต่ถึงอย่างนั้น นี่ก็เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีมาก ที่จะเป็นความหวังใหม่ในวงการแพทย์ ที่จะช่วยเหลือชีวิตให้กับผู้คนอีกนับไม่ถ้วน

อ้างอิง

Cellular recovery after prolonged warm ischaemia of the whole body | Nature

Restoration of brain circulation and cellular functions hours post-mortem | Nature

Blood substitute repairs damaged organs hours after heart stops | New Scientist

Tags: Biologybloodmedicine technologyOrganEx
Watcharin Unwet

Watcharin Unwet

As a passionate Science communicator, my desire has always been transforming Science from complex concepts into much more engaging ideas.

Related Posts

การประชุมสุดยอดนักวิทยาศาสตร์เยาวชนโลก Global Young Scientists Summit ประจำปี 2566
News

การประชุมสุดยอดนักวิทยาศาสตร์เยาวชนโลก Global Young Scientists Summit ประจำปี 2566

byPichayut Tananchayakul
03/02/2023
พืชที่ไม่ได้สังเคราะห์ด้วยแสงชนิดใหม่อีกชนิดเพิ่มถูกค้นพบ
Botany

พืชที่ไม่ได้สังเคราะห์ด้วยแสงชนิดใหม่อีกชนิดเพิ่มถูกค้นพบ

byPeeravut Boonsat
06/02/2023
ทำไมวาฬถึงตัวใหญ่
Biology

ทำไมวาฬถึงตัวใหญ่

byPeeravut Boonsat
29/01/2023
The Principia บุก ม.เกษตรฯ ในโครงการ “ส่งเสริมการเป็นนักสื่อสารวิทยาศาสตร์มืออาชีพ”
News

The Principia บุก ม.เกษตรฯ ในโครงการ “ส่งเสริมการเป็นนักสื่อสารวิทยาศาสตร์มืออาชีพ”

byTanakrit Srivilas
28/01/2023
The Principia

ส่งเสริมสังคมสร้างสรรค์ ด้วยการสื่อสารวิทยาศาสตร์

© 2021 ThePrincipia. All rights reserved.

The Principia Media

About Us
Members
Contact Us
theprincipia2021@gmail.com

Follow us

No Result
View All Result
  • ข่าว
  • เทคโนโลยี
    • หุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์
    • วิศวกรรม
    • ยานพาหนะ
    • พลังงาน
    • เทคโนโลยีอาหาร
    • เทคโนโลยีการคำนวณ
    • เทคโนโลยีอวกาศ
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
    • วิทยาศาสตร์สุขภาพ
    • ชีววิทยาโมเลกุล
    • วิวัฒนาการ
    • สัตววิทยา
    • พฤกษศาสตร์
    • จุลชีววิทยา
    • กีฏวิทยา
    • นิเวศวิทยา
  • ดาราศาสตร์
    • ฟิสิกส์ดาราศาสตร์
    • จักรวาลวิทยา
    • วิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์
  • อื่น ๆ
    • ศิลปะ & วัฒนธรรม
    • คณิตศาสตร์
    • ประวัติศาสตร์
    • จิตวิทยา
    • ปรัชญา
    • วิทยาศาสตร์การกีฬา
    • Sci-fi
  • ร้านค้า