การสังเคราะห์ด้วยแสงคือกระบวนการสร้างคาร์โบไฮเดรตจากแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศซึ่งกระบวนข้างต้นนี้จำเป็นต้องอาศัยแสงเพื่อเป็นแหล่งงานนั้นทำให้เหล่าสิ่งมีชีวิตที่สังเคราะห์ด้วยแสงได้จำเป็นต้องมีรงควัตถุเพื่อดูดกลืนแสงมาเพื่อดำเนินปฎิกิริยาเคมีอันซับซ้อนนี้
รงควัตถุที่ใช้ในการสังเคราะห์ด้วยแสงหลัก ๆ ซึ่งสิ่งมีชีวิตเลือกใช้กันเป็นส่วนใหญ่ก็คือคลอโรพลาสต์ นั้นทำให้สิ่งมีชีวิตที่ใช้คลอโรพลาสเป็นรงควัตถุหลักจะมีสีเขียว
กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงจึงพบได้เฉพาะในพืช สาหร่ายและแบคทีเรียบางชนิดเท่านั้นแต่ทว่าภายในอาณาจักรสัตว์นี้กลับพบสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งที่สามารถสังเคราะห์ด้วยแสงได้
“Elysia chlorotica”
E. chlorotica หรือทากมรกตตะวันออก สิ่งมีชีวิตหน้าตาประหลาดคล้ายใบไม้ที่ยาวประมาณ 20-60 มิลลิเมตรซึ่งสามารถพบได้ในบริเวณบึงน้ำเค็มความลึกไม่เกิน 0.5 เมตร ทางตะวันออกของอเมริกาแถบ New England ไปจนถึงแคนาดา พวกมันคือสัตว์ชนิดแรกที่เราค้นพบว่าพวกมันสามารถสังเคราะห์ด้วยแสง
แต่ทว่าเหตุใดนักอนุกรมวิธานจึงไม่จัดเจ้าทากสีเขียวนี้ให้เป็นพืชในเมื่อตัวมันสามารถสังเคราะห์ด้วยแสงได้เฉกเช่นเดียวกับพืช?
เหตุผลนั้นมาจากสาเหตุการได้มาซึ่งความสามารถในการสังเคราะห์ด้วยแสงนั้นเกิดจากตัวมันได้กินสาหร่าย (Algae) ที่ชื่อว่า Vaucheria litorea เข้าไปในตัวมันแล้วแยกคลอโรพลาสต์หรือ โรงงานสังเคราะห์แสงของสาหร่ายเก็บไว้ในตัวมันและพันธุกรรมของ E. chlorotica นั้นสามารถนำคลอโรพลาสที่แยกออกมานี้มาใช้ประโยชน์ได้แต่ทว่าคลอโรพลาสที่แยกออกมานั้นไม่ได้ฝังตัวรวมอยู่เซลล์เหมือนกับสาหร่ายหรือพืชอื่น ๆ แต่กลับถูกรวบรวมไว้ที่บริเวณผิวจนตัวมันกลายเป็นสีเขียวมรกต ซึ่งคลอโรพลาสนี้จะช่วยให้มันเป็นสัตว์ที่ไม่ต้องกินอะไรเลยยกเว้นแสงอาทิตย์เป็นเวลา 9 เดือนก่อนที่มันจะสลายไปและมันต้องกินสาหร่ายใหม่เนื่องจากตัวมันเองสร้างคลอโรพลาสต์ไม่ได้
ซึ่งการแยกคลอโรพลาสต์ออกจากเซลล์นี้ถูกเรียกกันว่า kleptoplasty ซึ่งพบได้เฉพาะเจ้าทากมรกตตะวันออก
ทากมรกตตะวันออกทำให้นักอนุกรมวิธานหลาย ๆ คนต้องตั้งคำถามเกี่ยวกับความสามารถในการใช้งานคลอโรพลาสในการสังเคราะห์ด้วยแสงซึ่งไม่สามารถพบได้ในอาณาจักรสัตว์มาก่อน
ปล. สำหรับท่านผู้อ่านหลาย ๆ ท่านน่าจะรู้จักสัตว์ชนิดอื่น ๆ ที่มีสีเขียวเหมือนกัน แต่ทว่าสัตว์พวกนี้บางตัวอาจจะแค่เลี้ยงสาหร่ายไว้บนตัวของมันเพื่อเก็บเกี่ยวสารอาหารแลกกับการให้ที่อยู่ แต่สำหรับ E. chlorotica พวกมันไม่ได้เลี้ยงสาหร่ายในตัวแต่เอาชิ้นส่วนมาทำให้ตัวเองสังเคราะห์ด้วยแสงได้แบบพืช