• ข่าว
  • เทคโนโลยี
    • หุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์
    • วิศวกรรม
    • ยานพาหนะ
    • พลังงาน
    • เทคโนโลยีอาหาร
    • เทคโนโลยีการคำนวณ
    • เทคโนโลยีอวกาศ
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
    • วิทยาศาสตร์สุขภาพ
    • ชีววิทยาโมเลกุล
    • วิวัฒนาการ
    • สัตววิทยา
    • พฤกษศาสตร์
    • จุลชีววิทยา
    • กีฏวิทยา
    • นิเวศวิทยา
  • ดาราศาสตร์
    • ฟิสิกส์ดาราศาสตร์
    • จักรวาลวิทยา
    • วิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์
  • อื่น ๆ
    • ศิลปะ & วัฒนธรรม
    • คณิตศาสตร์
    • ประวัติศาสตร์
    • จิตวิทยา
    • ปรัชญา
    • วิทยาศาสตร์การกีฬา
    • Sci-fi
  • ร้านค้า
No Result
View All Result
The Principia
  • ข่าว
  • เทคโนโลยี
    • หุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์
    • วิศวกรรม
    • ยานพาหนะ
    • พลังงาน
    • เทคโนโลยีอาหาร
    • เทคโนโลยีการคำนวณ
    • เทคโนโลยีอวกาศ
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
    • วิทยาศาสตร์สุขภาพ
    • ชีววิทยาโมเลกุล
    • วิวัฒนาการ
    • สัตววิทยา
    • พฤกษศาสตร์
    • จุลชีววิทยา
    • กีฏวิทยา
    • นิเวศวิทยา
  • ดาราศาสตร์
    • ฟิสิกส์ดาราศาสตร์
    • จักรวาลวิทยา
    • วิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์
  • อื่น ๆ
    • ศิลปะ & วัฒนธรรม
    • คณิตศาสตร์
    • ประวัติศาสตร์
    • จิตวิทยา
    • ปรัชญา
    • วิทยาศาสตร์การกีฬา
    • Sci-fi
  • ร้านค้า
No Result
View All Result
The Principia
No Result
View All Result

“ฝาย” สร้างหรือทำลายชีวิต?

Veeravat ChangkebbyVeeravat Changkeb
22/10/2021
in Ecology, Zoology
A A
0
“ฝาย” สร้างหรือทำลายชีวิต?
Share on FacebookShare on Twitter

Hilight

  • ฝายเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ประโยชน์ต่าง ๆ ในหน้าแล้ง หน่วยงานต่าง ๆ นิยมใช้เป็นโครงการเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
  • ฝายจะมีประโยชน์ หากสร้างในพื้นที่เกษตรกรรม และใช้วัสดุที่พังทลายได้เองตามธรรมชาติในการสร้าง
  • ฝายจะมีโทษ หากมันสร้างขยะ บดบังทางน้ำธรรมชาติ และขัดขวางวิถีชีวิตของสัตว์น้อยใหญ่ต่าง ๆ
ฝายชั่วคราว
ที่มา การจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชน

ทุกคนเคยได้ยินคำว่า “ฝายคือชีวิต” ไหมครับ ถ้าเคยได้ยิน แล้วทุกคนเชื่อในคำพูดนั้นหรือเปล่า? สำหรับประเทศไทยเรา ปัญหาอย่างหนึ่งที่อยู่คู่คนไทยมาอย่างยาวนานเมื่อเข้าสู่ฤดูร้อนและฤดูฝน นั่นก็คือ ปัญหา “น้ำแล้ง – น้ำหลาก” อย่างในช่วงนี้เป็นช่วงฤดูฝน ด้วยอิทธิพลของพายุที่เกิดขึ้นในแต่ละปี รวมถึงการบริหารจัดการทำให้ระดับน้ำในแหล่งน้ำต่าง ๆ เพิ่มสูงขึ้นจนเข้าท่วมบ้านเรือน บางคนบอกว่ามันเป็นภัยธรรมชาติ ต้องอดทน บางคนแนะนำให้สวดมนต์ให้ปริมาณน้ำลดลง วิธีการแก้ปัญหาที่เห็นได้ทั่วไปก็มีไม่มากนัก เช่น การสร้างเขื่อน สร้างอ่างกักเก็บน้ำ และการสร้างฝาย ซึ่งเป็นสิ่งที่ทุกคนทราบกันดีอยู่แล้ว เพราะเป็นวิธีการที่ทั้งหน่วยงานภาครัฐและบริษัทเอกชนจำนวนไม่น้อย ใช้เป็นเครื่องมือที่เขาว่ากันว่าช่วยในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

ทำความรู้จักกับ “ฝาย”

ที่จริงแล้ว ประโยชน์ของการสร้างฝายก็คือ เพื่อชะลอให้กระแสน้ำไหลช้าลง ป้องกันการกัดเซาะตลิ่งซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการพังทลายของดินบริเวณสองฝั่งของแหล่งน้ำได้ ต่อมาคือช่วยเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพของสิ่งมีวิตที่อยู่ในพื้นที่ป่าต้นน้ำ เนื่องจากมีความชุ่มชื้นมากขึ้น และประโยชน์ที่ทุกคนคงจะเคยได้ยินกันก็คือ เพื่อกักเก็บน้ำให้อยู่ในพื้นที่ได้นานยิ่งขึ้น ชาวบ้านสามารถนำน้ำเหล่านี้ไปใช้ในพื้นที่การเกษตรได้ในช่วงฤดูแล้ง อีกทั้งยังมีประโยชน์ในการเป็นแหล่งน้ำของสัตว์ป่าอีกด้วย ประโยชน์ของการสร้างฝายมีมากมายขนาดนี้ แล้วทำไมถึงมีนักอนุรักษ์หรือบางคนออกมาคัดค้านการสร้างฝายล่ะ ?

ก่อนอื่นต้องบอกก่อนว่าฝายก็มีหลายชนิด เช่น ฝายชั่วคราว ที่ใช้วัสดุเป็นไม้ไผ่ มีข้อดีคือสามารถพังทลายได้เองตามธรรมชาติภายในไม่กี่ปี ต่อมาคือ ฝายกึ่งถาวร และฝายคอนกรีตถาวร ซึ่งฝายชนิดนี้จะทำลายระบบนิเวศโดยสิ้นเชิง เพราะ จะทำให้ระดับน้ำในบริเวณนั้นเพิ่มสูงกว่าปกติ เป็นการเปลี่ยนแปลงเส้นทางการไหลและความเร็วของกระแสน้ำ หากการสร้างฝายอยู่ในบริเวณที่เป็นคลองขุดขึ้นมาเพื่อส่งน้ำไปยังพื้นที่ทางการเกษตรโดยตรงก็นับว่าเป็นประโยชน์ในฤดูแล้ง แต่หากการสร้างฝายในที่ที่ไม่ควรสร้าง เช่น บริเวณป่าต้นน้ำ ป่าอนุรักษ์ ป่าในพื้นที่อุทยานที่มีความอุดมสมบูรณ์อยู่แล้ว ก็จะส่งผลกระทบอย่างมหาศาลต่อสิ่งมีชีวิตน้อยใหญ่อย่างที่ทุกคนคาดไม่ถึง

ฝายคอนกรีตถาวร
ที่มา สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

ทุกสิ่งล้วนมีสองด้านเสมอ

หากทุกคนลองนึกภาพของลำธารตามธรรมชาติสายหนึ่ง น้ำที่ไหลมาจากบริเวณต้นน้ำจะสามารถไหลมาได้เรื่อย ๆ จนถึงบริเวณปลายน้ำ ในแต่ละฤดูกาล ระดับน้ำก็จะแตกต่างกันไป สิ่งมีชีวิต เช่น ปลา สัตว์หน้าดิน แพลงก์ตอน รวมถึงพรรณไม้ต่าง ๆ ก็จะมีความหลากหลายตามแต่ละบริเวณของลำธาร แต่หากมีการสร้างฝาย หลังจากช่วงฤดูฝนผ่านไป วัสดุที่ใช้สร้างฝายไม่ว่าจะเป็นหิน กระสอบทราย หรือปูน ก็จะกลายเป็นเศษขยะ เศษพลาสติกในทันที ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเส้นทางการไหลของน้ำที่ไม่เป็นไปตามธรรมชาติ กระสอบทรายและหินที่ถูกน้ำพัดพามาจะก่อตัวเป็นตะกอนทับถม ทำให้ระดับน้ำมีความลึกมากขึ้น แสงแดดที่ปกติจะส่องถึงใต้น้ำ ก็ไม่สามารถส่องลงไปถึงได้ ความเร็วของกระแสน้ำเริ่มลดลงเกิดเป็นลักษณะน้ำที่นิ่งและขุ่นมากขึ้น น้ำบริเวณนั้นก็จะขาดออกซิเจน สิ่งมีชีวิตที่เป็นแหล่งอาหารของปลาที่อาศัยอยู่บริเวณนั้น มีงานวิจัยมากมายที่ศึกษาเรื่องผลกระทบของความหลากหลายทางชีวภาพของสัตว์และพรรณพืช พบว่าทั้งจำนวนของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังขนาดใหญ่ แพลงก์ตอนพืช แพลงก์ตอนสัตว์บริเวณต้นน้ำมีจำนวนมากกว่าปลายน้ำ นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบอย่างมากกับสัตว์ที่ต้องมีการอพยพขึ้นไปบริเวณต้นน้ำเพื่อวางไข่ เนื่องจากฝายเป็นตัวกีดขวางทางน้ำ ทำให้ไม่สามารถว่ายขึ้นไปวางไข่ได้ จนเป็นสาเหตุที่ทำให้สัตว์ชนิดนั้นสูญพันธุ์ไป สิ่งมีชีวิตหลายชนิด เช่น ปลาค้างคาวอินทนนท์ ที่พบเฉพาะดอยอินทนนท์เพียงแห่งเดียวในโลก และปูน้ำตกอินทนนท์ ลูกอ๊อดกบชะง่อนผาอินทนนท์ ที่พบแต่ในเอเชียอาคเนย์ และปลาที่พบเฉพาะถิ่นที่พบแค่ในประเทศไทยเท่านั้นก็ทำให้มีจำนวนลดลงเช่นกัน

สภาพฝายที่ชำรุดจนกลายเป็นขยะขวางทางน้ำ
ที่มา Mathinee Yucharoen

ดังนั้น ถึงแม้ว่าการสร้างฝายหรือสร้างเขื่อนจะทำให้มนุษย์มีน้ำกินน้ำใช้กันได้ตลอดปี แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่ายังมีสิ่งมีชีวิตอีกมากมายที่อาศัยอยู่ร่วมโลกกับเราที่ได้รับผลกระทบจากการกระทำของมนุษย์ เพราะเหรียญไม่ได้มีแค่ด้านเดียว เราต้องมองถึงปัญหาที่ส่งผลกระทบในวงกว้าง การแก้ปัญหาน้ำท่วมอย่างยั่งยืนหรือแม้แต่การจะฟื้นฟูป่า จำเป็นต้องใช้องค์ความรู้อย่างมากมาย ศึกษาผลกระทบอย่างรอบด้านเพื่อให้เกิดประโยชน์ที่ยั่งยืน ดังนั้น การจะทำโครงการเพื่อสิ่งแวดล้อมสักโครงการ ต้องมีการศึกษาให้เป็นอย่างดีก่อนที่จะสายเกินแก้

อ้างอิง

ผลของฝายชะลอน้ำต่อความหลากหลายของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังขนาดใหญ่สาหร่ายและพืชพรรณริมฝั่งน้ำ

สร้างฝายดีไหม?

Tags: Check damEcology
Veeravat Changkeb

Veeravat Changkeb

Related Posts

ทำไมวาฬถึงตัวใหญ่
Biology

ทำไมวาฬถึงตัวใหญ่

byPeeravut Boonsat
29/01/2023
นอนบนเตียงระวังโดนดูด (เลือด)
Biology

นอนบนเตียงระวังโดนดูด (เลือด)

byThanaset Trairat
15/01/2023
ยุงลาย ร่างจำแลงแห่งความตาย
Diseases

ยุงลาย ร่างจำแลงแห่งความตาย

byThanaset Trairat
20/11/2022
เมือง Sumeru นครแห่งปัญญากับพื้นป่าอันกว้างใหญ่
Biology

เมือง Sumeru นครแห่งปัญญากับพื้นป่าอันกว้างใหญ่

byPeeravut Boonsat
26/09/2022
The Principia

ส่งเสริมสังคมสร้างสรรค์ ด้วยการสื่อสารวิทยาศาสตร์

© 2021 ThePrincipia. All rights reserved.

The Principia Media

About Us
Members
Contact Us
theprincipia2021@gmail.com

Follow us

No Result
View All Result
  • ข่าว
  • เทคโนโลยี
    • หุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์
    • วิศวกรรม
    • ยานพาหนะ
    • พลังงาน
    • เทคโนโลยีอาหาร
    • เทคโนโลยีการคำนวณ
    • เทคโนโลยีอวกาศ
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
    • วิทยาศาสตร์สุขภาพ
    • ชีววิทยาโมเลกุล
    • วิวัฒนาการ
    • สัตววิทยา
    • พฤกษศาสตร์
    • จุลชีววิทยา
    • กีฏวิทยา
    • นิเวศวิทยา
  • ดาราศาสตร์
    • ฟิสิกส์ดาราศาสตร์
    • จักรวาลวิทยา
    • วิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์
  • อื่น ๆ
    • ศิลปะ & วัฒนธรรม
    • คณิตศาสตร์
    • ประวัติศาสตร์
    • จิตวิทยา
    • ปรัชญา
    • วิทยาศาสตร์การกีฬา
    • Sci-fi
  • ร้านค้า