องค์การบริหารอวกาศแห่งชาติจีน หรือ CNSA ระบุว่าวันนี้ (2 มิถุนายน) เวลา 05.09 น. ตามเวลาประเทศไทย ยานอวกาศฉางเอ๋อ 6 จุดเครื่องยนต์ลดระดับลงจอดบนแอ่งขั้วใต้ เอตเคนเรียบร้อยแล้ว และกำลังทำภารกิจเก็บตัวอย่างหินดวงจันทร์ ซึ่งนี้ถือเป็นความสำเร็จของจีนครั้งที่ 2 ของจีนในการไปยังฟากไกลของดวงจันทร์ ซึ่งสำเร็จครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 2019 ด้วยยานฉางเอ๋อ 4
ภารกิจของยานฉางเอ๋อ 6 เริ่มปล่อยเมื่อวันที่ 3 พฤกษภาคม ปีนี้และจะใช้เวลาปฎิบัติภารกิจทั้งหมด 53 วัน โดยภารกิจนี้จะเป็นก้าวหนึ่งที่สำคัญในการเป็นมหาอำนาจด้านอวกาศของจีน ในปัจจุบันตัวยานกำลังใช้สว่านเพื่อขุดเจาะหินดวงจันทร์จำนวน 2 กิโลกรัม และตัวยานจะใช้เวลาจำนวน 2 วันในบริเวณฟากไกลของดวงจันทร์และใช้เวลา 14 ชั่วโมงเพื่อเก็บตัวอย่างดินบนดวงจันทร์ จากนั้นตัวยานจะกลับเข้าสู่วงโคจรโลกและจะกลับถึงโลกในปลายเดือนนี้ นอกจากนี้บริเวณฟากไกลของดวงจันทร์เป็นพื้นที่ที่เราไม่สามารถติดต่อกับตัวยานได้ดังนั้นฉางเอ๋อ 6 จึงต้องอาศัยดาวเทียม Queqiao-2 เพื่อสื่อสารกับภาคพื้นโลก
ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าหินที่เก็บได้จากฉางเอ๋อ 6 สามารถให้เบาะแสสำคัญเกี่ยวกับกำเนิดและวิวัฒนาการของดวงจันทร์ โลก และระบบสุริยะ
ภายหลังจากภารกิจนี้ทางการจีนมีแพลนเปิดตัวอีก 2 ภารกิจในซีรี่ย์ “ฉางเอ๋อ” เนื่องจากเข้าใกล้ปี ค.ศ. 2030 ที่ถูกวางไว้ให้เป็นปีที่จีนจะส่งมนุษย์ไปดวงจันทร์และตั้งฐานวิจัยบริเวณขั้วใต้ของดวงจันทร์ ที่คาดว่าเป็นที่กักเก็บน้ำแข็งของดวงจันทร์
นอกจากจีนแล้วยังมีชาติอื่น ๆ ที่พยายามลงจอดบริเวณนี้เมื่อปีที่แล้วอินเดียเป็นประเทศนึง ที่สำเร็จในการส่งยานไปลงจอดบริเวณฟากไกลของดวงจันทร์ ด้านรัสเซียเองก็ส่งยานลูน่า 25 เพื่อลงจอดในปีเดียวกัน แต่สุดท้ายตัวยานก็ชนกับพื้นผิวดวงจันทร์จนภารกิจล้มเหลวไป ส่วนญี่ปุ่น แม้จะประสบปัญหาตำแหน่งการลงจอดที่คาดเคลื่อนแต่ก็ประสบความสำเร็จในการลงจอด และบริษัทเอกชน Intuitive Machines ของรัฐเท็กซัสที่ได้รับเงินทุนสนับสนุนจากนาซาก็ได้ลงจอดสำเร็จลุล่วงไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ติดตามสิ่งที่จีนจะได้จากการไปเยือนครั้งนี้ : https://theprincipia.co/what-chinas-mission-to-collect-rocks-from-the-moons-far-side-could-reveal/
อ้างอิง
https://edition.cnn.com/2024/06/01/china/china-change6-moon-landing-intl-hnk-scn/index.html