เพชรเป็นอัญมณีที่มีมูลค่าชนิดหนึ่ง โดยเพชรตามธรรมชาติเกิดจากอุณหภูมิและความดันที่มหาศาลใต้ผิวโลก ดังนั้นกระบวนการสังเคราะห์เพชรในห้องปฎิบัติการจึงจำเป็นต้องเลียนแบบกระบวนการข้างต้นนี้ โดยคาร์บอนที่องค์ปะกอบหลักของเพชรจะถูกละลายในโลหะเหลวอุณหภูมิ 1400 องศาเซลเซียส ภายใต้ความดัน 5 กิกะปาสคาล (HTHP)
จากรายงานการวิจัยที่ถูกตีพิมพ์ใน Nature เมื่อวันที่ 24 เมษายนพบว่าเพชรสามารถเติบโตได้แม้ในความดันบรรยากาศ โดยนำของเหลวแกลเลียม เหล็ก นิกเกิล และซิลิคอน ซึ่งสัมผัสกับแก๊สมีเทนที่มีคาร์บอนและไฮโดรเจนเป็นองค์ประกอบหลัก ภายในอุณหภูมิ 1025 องศาเซลเซียส ซึ่งการเติมซิลิกอนเข้าไปจะช่วยเริ่มปฎิกิริยาการเติบโตของเพชร ให้ผลึกเพชรขนาดเล็ก ๆ เริ่มก่อตัวรอบนิวเคลียสของเพชร และ เติบโตเป็นเพชรเม็ดใหญ่ในที่สุด
เพชรไม่ได้มีบทบาทแค่ในเชิงอัญมณีเท่านั้น ในวงการวิทยาศาสตร์เองก็จำเป็นต้องใช้เพชรเพื่อเป็นส่วนประกอบของอุปกรณ์วิทยาศาสตร์ต่าง ๆ เช่น การตรวจจับสนามแม่เหล็ก ไปจนถึงการค้นหาอนุภาคย่อยจากในอะตอม
ก่อนหน้านี้ได้มีคนคิดค้นวิธีสังเคราะห์เพชรอีกวิธีที่เรียกว่าการสะสมไอสารเคมีหรือ CVD ที่เกิดขึ้นที่ความดันต่ำ โดยไอระเหยของคาร์บอนจะกระจุกตัวบนพื้นผิวที่ต้องการ ซึ่งวิธีที่ CVD และ HTHP ไม่จำเป็นต้องใช้นิวเคลียสในการเริ่มต้น
อ้างอิง
https://www.sciencenews.org/article/diamonds-extreme-atmospheric-pressure