• ข่าว
  • เทคโนโลยี
    • หุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์
    • วิศวกรรม
    • ยานพาหนะ
    • พลังงาน
    • เทคโนโลยีอาหาร
    • เทคโนโลยีการคำนวณ
    • เทคโนโลยีอวกาศ
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
    • วิทยาศาสตร์สุขภาพ
    • ชีววิทยาโมเลกุล
    • วิวัฒนาการ
    • สัตววิทยา
    • พฤกษศาสตร์
    • จุลชีววิทยา
    • กีฏวิทยา
    • นิเวศวิทยา
  • ดาราศาสตร์
    • ฟิสิกส์ดาราศาสตร์
    • จักรวาลวิทยา
    • วิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์
  • อื่น ๆ
    • Sci-fi
    • วิทยาศาสตร์การกีฬา
    • คณิตศาสตร์
    • จิตวิทยา
    • ศิลปะ & วัฒนธรรม
    • ประวัติศาสตร์
    • ปรัชญา
No Result
View All Result
The Principia
  • ข่าว
  • เทคโนโลยี
    • หุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์
    • วิศวกรรม
    • ยานพาหนะ
    • พลังงาน
    • เทคโนโลยีอาหาร
    • เทคโนโลยีการคำนวณ
    • เทคโนโลยีอวกาศ
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
    • วิทยาศาสตร์สุขภาพ
    • ชีววิทยาโมเลกุล
    • วิวัฒนาการ
    • สัตววิทยา
    • พฤกษศาสตร์
    • จุลชีววิทยา
    • กีฏวิทยา
    • นิเวศวิทยา
  • ดาราศาสตร์
    • ฟิสิกส์ดาราศาสตร์
    • จักรวาลวิทยา
    • วิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์
  • อื่น ๆ
    • Sci-fi
    • วิทยาศาสตร์การกีฬา
    • คณิตศาสตร์
    • จิตวิทยา
    • ศิลปะ & วัฒนธรรม
    • ประวัติศาสตร์
    • ปรัชญา
No Result
View All Result
The Principia
No Result
View All Result

จุดมืดปริศนาบนดาวเนปจูนถูกตรวจจับได้จากบนโลกเป็นครั้งแรก

Nattakit NamchoobyNattakit Namchoo
27/09/2023
in Astronomy, News, Planetary Sceince
A A
0
จุดมืดปริศนาบนดาวเนปจูนถูกตรวจจับได้จากบนโลกเป็นครั้งแรก
Share on FacebookShare on Twitter

นักดาราศาสตร์ค้นพบ “จุดดำมืด” บนชั้นบรรยากาศของดาวเนปจูนโดยกล้องโทรทรรศน์บนพื้นโลกได้เป็นครั้งแรก

นักดาราศาสตร์ได้ใช้กล้องโทรทรรศน์ขนาดยักษ์ของ ESO (European Southern Observatory) ศึกษาจุดดำมืดบนชั้นบรรยากาศของดาวเนปจูน ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่จุดดำมืดบนชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์ถูกสังเกตการณ์ได้จากอุปกรณ์บนพื้นโลก จากการสังเกตการณ์ไม่เพียงแต่ทำให้เห็นจุดดำมืดเพียงเท่านั้น แต่บริเวณใกล้เคียงยังปรากฏให้เห็นจุดสว่างปริศนาอีกด้วย ซึ่งได้สร้างความประหลาดใจให้กับนักดาราศาสตร์ไม่น้อยเลยทีเดียว

จุดดำมืดบนดาวเนปจูนถูกค้นพบครั้งแรกโดยยานวอยเอเจอร์ 2 ในปี 1989 ก่อนที่จะไม่สามารถสังเกตเห็นได้ในเวลาต่อมา Patrick Irwin ศาสตราจารย์จาก University of Oxford และหัวหน้าทีมในการศึกษาครั้งนี้กล่าวว่า “ตั้งแต่มีการค้นพบจุดดำมืดบนดาวเนปจูนเป็นต้นมา ผมสงสัยมาตลอดว่าจุดดำมืดที่ปรากฏให้เห็นในช่วงสั้น ๆ นี้คืออะไร”

วิธีการได้มาซึ่งภาพจุดดำมืดของดาวเนปจูนของ ESO ที่มา : ESO

ข้อมูลที่ได้จากการสังเกตการณ์

Irwin และทีมนักวิจัยพยายามใช้ข้อมูลที่ได้จากการสังเกตการณ์เพื่ออธิบายถึงการปรากฎของจุดดำมืดนี้ ซึ่งเบื้องต้นเขาอธิบายว่า “จุดดำมืดนี้คล้ายจะเกิดจากอนุภาคที่ไม่ยอมให้แสงผ่าน (Air darkenning particles) ซึ่งอยู่ใต้ชั้นหมอกควันของดาวเนปจูน” แต่การที่จะได้มาซึ่งข้อสรุปของการปรากฎของจุดดำมืดนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะจุดดำมืดนี้ไม่ได้คงอยู่ให้สังเกตการณ์แบบนี้ตลอดไป 

ทีมวิจัยได้ถ่ายภาพดาวเนปจูนออกมาในหลายช่วงความยาวคลื่น โดยใช้อุปกรณ์ Multi Unit Spectroscopic Explorer (MUSE) ที่ติดตั้งในตัวกล้องโทรทรรศน์ โดยอุปกรณ์ MUSE ยังถูกใช้ในการศึกษาวิจัยนี้เป็นครั้งแรกอีกด้วย ทำให้ทีมวิจัยสามารถศึกษาจุดดำมืดได้ในหลายช่วงความยาวคลื่น 

ภาพถ่ายดาวเนปจูนที่เกิดจากการรวมภาพในหลาย ๆ ช่วงความยาวคลื่นที่ได้จากอุปกรณ์ MUSE 
ทำให้เกิดเป็นภาพของดาวเคราะห์สีฟ้าที่คุ้นเคย ซึ่งจุดดำมืดสามารถสังเกตได้บริเวณด้านบนของรูป
Credit: ESO/P. Irwin et al.

ผลที่ได้จากการวิเคราะห์สเปกตรัม

จากการวิเคราะห์ภาพในช่วงความยาวคลื่นที่หลากหลาย ทำให้ทีมวิจัยสามารถระบุได้ว่า จุดดำมืดนี้อยู่ที่ความสูงระดับใดในชั้นบรรยากาศ ซึ่งจากการศึกษาสเปกตรัมยังทำให้ทราบถึงองค์ประกอบทางเคมีในชั้นบรรยากาศแต่ละชั้นอีกด้วย 

Michael Wong นักวิจัยจาก University of California กล่าวว่า “ในระหว่างที่กำลังวิเคราะห์สเปกตรัม ทีมได้สังเกตเห็นกลุ่มเมฆสว่างลึก (rare deep bright cloud) ที่ไม่เคยเห็นมาก่อนแม้ว่าจะสังเกตการณ์จากอวกาศก็ตาม” ซึ่งจุดสว่างนี้ปรากฏอยู่ข้าง ๆ จุดดำมืด อีกทั้งยังอยู่ในบรรยากาศชั้นเดียวกันอีกด้วย

Michael Wong กล่าวว่า “เป็นอีกครั้งที่เราได้เห็นพัฒนาการขีดความสามารถของมนุษย์ ในช่วงแรก ๆ ของการศึกษาอวกาศ การจะสังเกตจุดต่าง ๆ บนดาวเคราะห์ได้ จำเป็นจะต้องส่งยานสำรวจขึ้นไปบนอวกาศ ภายหลังเราจึงสามารถควบคุมอวกาศยานอย่างกล้องฮับเบิลได้ จนถึงในตอนนี้ เราสามารถสังเกตจุดเหล่านั้นผ่านอุปกรณ์บนพื้นโลกได้แล้ว”

เรียบเรียงโดย ณัฐกิตติ์ นามชู

อ้างอิง

https://scitechdaily.com/mysterious-dark-spot-on-neptune-detected-from-earth-for-the-first-time/?expand_article=1#google_vignette

Tags: ESOEuropean Southern ObservatoryNeptuneVoyager 2
Nattakit Namchoo

Nattakit Namchoo

นักศึกษาฟิสิกส์ที่เชื่อว่าสามารถเขียนเรื่องวิทยาศาสตร์ยาก ๆ ให้เป็นเรื่องที่ยากกว่าเดิมได้ ขอบคุณครับ

Related Posts

“ดรีม” ตัวแทนคนไทย ที่คว้ารางวัลใหญ่กลับมาจากการแข่ง FameLab International 2023
News

“ดรีม” ตัวแทนคนไทย ที่คว้ารางวัลใหญ่กลับมาจากการแข่ง FameLab International 2023

byTanakrit Srivilas
25/11/2023
ซิสโก้เผยผลการศึกษาล่าสุด พบช่องว่างที่สำคัญเกี่ยวกับ ‘ความพร้อมด้าน AI ของบริษัทในไทย’
News

ซิสโก้เผยผลการศึกษาล่าสุด พบช่องว่างที่สำคัญเกี่ยวกับ ‘ความพร้อมด้าน AI ของบริษัทในไทย’

byThe Principia
21/11/2023
Oregon’s Exploding Whale การระเบิดซากวาฬเกยตื้น สู่หายนะของคนในพื้นที่
Ecology

Oregon’s Exploding Whale การระเบิดซากวาฬเกยตื้น สู่หายนะของคนในพื้นที่

byTanakrit Srivilas
09/11/2023
อวกาศในปี 2060 จะหน้าตาเป็นยังไงกันนะ
News

อวกาศในปี 2060 จะหน้าตาเป็นยังไงกันนะ

byPeeravut Boonsat
08/11/2023
The Principia

ส่งเสริมสังคมสร้างสรรค์ ด้วยการสื่อสารวิทยาศาสตร์

© 2021 ThePrincipia. All rights reserved.

The Principia Media

About Us
Members
Contact Us
theprincipia2021@gmail.com

Follow us

No Result
View All Result
  • ข่าว
  • เทคโนโลยี
    • หุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์
    • วิศวกรรม
    • ยานพาหนะ
    • พลังงาน
    • เทคโนโลยีอาหาร
    • เทคโนโลยีการคำนวณ
    • เทคโนโลยีอวกาศ
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
    • วิทยาศาสตร์สุขภาพ
    • ชีววิทยาโมเลกุล
    • วิวัฒนาการ
    • สัตววิทยา
    • พฤกษศาสตร์
    • จุลชีววิทยา
    • กีฏวิทยา
    • นิเวศวิทยา
  • ดาราศาสตร์
    • ฟิสิกส์ดาราศาสตร์
    • จักรวาลวิทยา
    • วิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์
  • อื่น ๆ
    • Sci-fi
    • วิทยาศาสตร์การกีฬา
    • คณิตศาสตร์
    • จิตวิทยา
    • ศิลปะ & วัฒนธรรม
    • ประวัติศาสตร์
    • ปรัชญา