• ข่าว
  • เทคโนโลยี
    • หุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์
    • วิศวกรรม
    • ยานพาหนะ
    • พลังงาน
    • เทคโนโลยีอาหาร
    • เทคโนโลยีการคำนวณ
    • เทคโนโลยีอวกาศ
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
    • วิทยาศาสตร์สุขภาพ
    • ชีววิทยาโมเลกุล
    • วิวัฒนาการ
    • สัตววิทยา
    • พฤกษศาสตร์
    • จุลชีววิทยา
    • กีฏวิทยา
    • นิเวศวิทยา
  • ดาราศาสตร์
    • ฟิสิกส์ดาราศาสตร์
    • จักรวาลวิทยา
    • วิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์
  • อื่น ๆ
    • ศิลปะ & วัฒนธรรม
    • คณิตศาสตร์
    • ประวัติศาสตร์
    • จิตวิทยา
    • ปรัชญา
    • วิทยาศาสตร์การกีฬา
    • Sci-fi
  • ร้านค้า
No Result
View All Result
The Principia
  • ข่าว
  • เทคโนโลยี
    • หุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์
    • วิศวกรรม
    • ยานพาหนะ
    • พลังงาน
    • เทคโนโลยีอาหาร
    • เทคโนโลยีการคำนวณ
    • เทคโนโลยีอวกาศ
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
    • วิทยาศาสตร์สุขภาพ
    • ชีววิทยาโมเลกุล
    • วิวัฒนาการ
    • สัตววิทยา
    • พฤกษศาสตร์
    • จุลชีววิทยา
    • กีฏวิทยา
    • นิเวศวิทยา
  • ดาราศาสตร์
    • ฟิสิกส์ดาราศาสตร์
    • จักรวาลวิทยา
    • วิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์
  • อื่น ๆ
    • ศิลปะ & วัฒนธรรม
    • คณิตศาสตร์
    • ประวัติศาสตร์
    • จิตวิทยา
    • ปรัชญา
    • วิทยาศาสตร์การกีฬา
    • Sci-fi
  • ร้านค้า
No Result
View All Result
The Principia
No Result
View All Result

ถ้ำของเพลโต กับการรับรู้ความจริงของมนุษย์

Nakarin ChantasobyNakarin Chantaso
22/10/2021
in Philosophy
A A
0
ถ้ำของเพลโต กับการรับรู้ความจริงของมนุษย์
Share on FacebookShare on Twitter

Highlight

  • ถ้ำของเพลโต กับมุมมองการรับรู้ความจริงของมนุษย์

ความจริงและการรับรู้ของมนุษย์คืออะไร เรารู้ได้อย่างไรว่าสิ่งที่เห็นเบื้องหน้านั้นเป็นความจริง เรื่องราวเหล่านี้ถูกสะท้อนผ่านผลงานของเพลโต นักปรัชญาชาวกรีกโบราณชื่อดัง ผู้ซึ่งฝากผลงานเกี่ยวกับปัญหาทางปรัชญาไว้เป็นจำนวนมาก โลกปัจจุบันรู้จักเขาผ่านทางงานเขียนที่หลงเหลืออยู่ โดยผลงานที่เรานำมากล่าวถึงในวันนี้มีชื่อว่า “อุปมานิทัศน์เรื่องถ้ำ (Allegory of the Cave)” หรือที่เรามักเรียกกันในชื่อ “ถ้ำของเพลโต ( Plato’s Cave)” ซึ่งถูกเขียนไว้ในหนังสืออย่าง The Republic เมื่อ 2,000 กว่าปีที่เเล้ว

ถ้ำของเพลโต เป็นเรื่องราวที่อุปมาขึ้นมาเพื่อเปรียบเทียบถึงการรับรู้ความจริงของมนุษย์ ซึ่งถูกถ่ายทอดผ่านถ้ำของเพลโต ซึ่งถูกถ่ายทอดผ่านบทสนทนาระหว่างเขากับกลาวคอน (Glaucon) ผู้เป็นพี่ชาย และที่ปรึกษาของเขานามว่า โสกราตีส (Socrates)

เพลโต
ที่มา Lapham’s Quarterly

เพลโตและโสกราตีสบรรยายถึงถ้ำแห่งหนึ่งลึกลงไปใต้ดิน มีกลุ่มคนที่ถูกกักขังไว้ตั้งแต่กำเนิด นักโทษเหล่านี้ถูกตรึงด้วยโซ่ตรวนไม่ให้ขยับคอหรือหันไปทางไหนได้ ทำได้เพียงยืนเรียงแถวกันภายในถ้ำ และหันหน้าไปทางเดียวกันคือหันเข้าหาผนังถ้ำเบื้องหน้าเท่านั้น มุมมองของพวกเขาเหล่านั้นไม่สามารถที่จะมองคนข้าง ๆ หรือแม้แต่ตัวเองได้ ด้านหลังของพวกเขามีกองไฟที่ถูกจุดอยู่ตลอดเวลา โดยระหว่างพวกเขากับกองไฟมีกำแพงสูงกั้นเอาไว้ ด้านหลังของกำแพงมีผู้คนเดินไปเดินมาพร้อมกับถือหุ่นเชิด ทำให้เงาของหุ่นเชิดทอดไปยังผนังถ้ำเกิดเป็นเงาของสิ่งต่าง ๆ ให้นักโทษได้เห็น นักโทษไม่สามารถเห็นสิ่งที่เกิดขึ้นด้านหลังพวกเขาได้เลย พวกเขามองเห็นแต่เงาเบื้องหน้าเท่านั้น แม้แต่เสียงคนคุยกันดังก้องจากหลังกำแพง นักโทษก็เชื่อว่าเสียงเหล่านี้มาจากเงาที่พวกเขาเห็น นี่คือ “ความจริง” เพียงอย่างเดียวที่นักโทษรับรู้เพราะพวกเขาไม่เคยเห็นอย่างอื่น พวกเขาไม่รู้ว่าสิ่งที่พวกเขาเห็นเป็นเงาสิ่งของที่อยู่ด้านหน้ากองไฟ

นักโทษกำลังเฝ้าสังเกตเงาที่เกิดจากหุ่นเชิดของผู้ที่อยู่หลังกำแพง
ที่มา MatiasEnElMundo

จากนั้นเพลโตได้สมมติให้หนึ่งในนักโทษได้รับการปลดปล่อยจากพันธนาการ เมื่อเขาได้รับอิสระ นักโทษคนนี้สามารถที่จะเดินออกมาจากจุดที่เขาอยู่ได้ เขาเริ่มมองไปรอบ ๆ และเห็นกองไฟ เเสงเพลิงจากกองไฟทำให้เขาแสบตาเป็นอย่างมาก เนื่องจากตาของเขาคุ้นชินกับความมืดมาทั้งชีวิต แสงที่เขามองเห็นจึงสร้างความเจ็บปวดกับเขา แม้กองเพลิงเบื้องหน้าเขาจะเป็น “ความจริงใหม่” ก็ยากที่เขาจะยอมรับกับความจริงใหม่นี้ นักโทษที่ถูกปลดปล่อยจึงหันหน้าหนีและกลับไปหาความจริงที่เขาคุ้นเคย นั่นคือ “เงา” ที่เขาจ้องมองมาตั้งเเต่เกิด

เพลโตเล่าต่ออีกว่า หากวันหนึ่งมีใครสักคนพานักโทษที่ถูกปลดปล่อยนี้ จูงเขาเดินออกไปจากถ้ำออกมาสู่บรรยากาศภายนอก เเสงที่เขาพบเห็นในตอนนี้ไม่ใช่เเสงของกองเพลิงอีกต่อไป แต่เป็นแหล่งกำเนิดเเสงที่มีความสว่างมากกว่ากองเพลิงหลายเท่า นั่นคือ “แสงจากดวงอาทิตย์” ด้วยความที่เขาอยู่ในความมืดมาทั้งชีวิต ทำให้แสงจากดวงอาทิตย์ทำร้ายดวงตาของเขาเป็นอย่างมาก เขาไม่อาจที่จะมองเห็นบรรยากาศเบื้องหน้าได้เลย แต่เมื่อเวลาล่วงเลยผ่านไป ดวงตาของเขาก็ค่อย ๆ ปรับสภาพเข้ากับแสงได้ จนตอนนี้เขาสามารถที่จะมองเห็นทัศนียภาพเบื้องหน้าได้ เห็นต้นไม้ ทุ่งหญ้า สายน้ำ และในที่สุดเขาก็สามารถมองเห็นดวงอาทิตย์ได้ นี่คือ “ความจริงใหม่” ที่เขาได้พบเจออีกครั้ง เป็นความจริงที่ต่างจากความจริงภายในถ้ำที่เขาเคยรับรู้ เขาได้เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ และใช้เวลาดื่มด่ำกับความจริงอันใหม่นี้

ครั้นเมื่อเขากลับเข้าไปในถ้ำ ความรู้สึกนึกคิดของเขาก็เปลี่ยนไป ดวงตาของเขาไม่อาจมองเห็นแม้แต่มือของตัวเองได้อีกต่อไป เขาพยายามที่จะบอกกับนักโทษคนอื่น ๆ ที่ถูกจองจำอยู่ภายในถ้ำถึงความจริงอันใหม่ที่เขาได้ไปพบเจอ เเต่เพื่อน ๆ ของเขากลับมองว่าการที่ได้ออกไปจากถ้ำนั้นเป็นอันตรายต่อพวกเขา มันทำให้สายตาของนักโทษคนนั้นผิดปกติ หรือมันอาจทำร้ายสติของนักโทษคนที่ถูกปลดปล่อยไป ไม่ว่าจะทำอย่างไรนักโทษภายในถ้ำก็ไม่ยอมที่จะเดินทางออกไปสู่โลกภายนอก พวกเขาเลือกที่จะอยู่กับ “ความจริง” ภายในถ้ำที่เขารู้สึกคุ้นชินจนยากที่จะเปิดใจรับรู้ความจริงอันใหม่นี้ และพร้อมที่จะฆ่าคนที่พยายามลากพวกเขาออกจากถ้ำหากทำได้

“อุปมานิทัศน์เรื่องถ้ำ” นี้อาจสะท้อนให้พวกเราได้ชวนคิดถึงอะไรบางอย่างถึงการรับรู้ความจริงของมนุษย์ หากเรายึดติดกับประสบการณ์เดิมหรือกรอบความคิดเดิมที่เราพบเจอ เราอาจจะไม่สามารถเปิดใจยอมรับกับความจริงอันใหม่ได้ วิทยาศาสตร์เป็นอีกเครื่องมือหนึ่งที่จะนำพาเราไปยังดินแดนแห่งความไม่รู้ เพื่อสร้างสรรค์ให้ “ความไม่รู้” กลายเป็น “ความรู้” ในที่สุด วิทยาศาสตร์เองกลับเป็นวิธีทางหนึ่งที่จะช่วยเปิดการยอมรับความจริงอันใหม่ด้วยการแสดงถึงเหตุผลอันสอดรับกับความจริงอันใหม่ ถึงกระนั้นวิทยาศาสตร์เองก็เป็นอีกศาสตร์ที่เราจะดีใจกับการล้มล้างทฤษฎีที่มีมาในอดีต เพราะนั้นหมายความว่าเราเข้าใกล้ความจริงอันใหม่มากยิ่งขึ้น เหมือนครั้งหนึ่งที่เราเคยเชื่อว่า แสงต้องอาศัยตัวกลางในการเดินทาง แต่ในภายหลังเรากลับพบว่าแสงไม่จำเป็นต้องอาศัยตัวกลาง นี่คือความจริงอันใหม่ที่เราต่างให้การยอมรับในที่สุด

อ้างอิง

อุปมานิทัศน์เรื่องถ้ำ

ถ้ำของเพลโต — อุปมานิทัศน์ในการยอมรับความรู้ใหม่ของมนุษย์

Tags: PhilosophyPlato
Nakarin Chantaso

Nakarin Chantaso

บรรณาธิการบริหารและผู้ร่วมก่อตั้ง The Principia ผู้ชื่นชอบในศิลปะ การสื่อสาร อวกาศ และเป็นทาสแมว

Related Posts

Multiverses มีจริงหรือไม่ (No spoiler)
Astronomy

Multiverses มีจริงหรือไม่ (No spoiler)

byTakol Tangphati
07/05/2022
ประวัติศาสตร์แนวคิดเรื่อง ‘ธาตุ’ และ ‘อะตอม’
History

ประวัติศาสตร์แนวคิดเรื่อง ‘ธาตุ’ และ ‘อะตอม’

byPuri Siwasirikarun
28/04/2022
คำปฏิญาณฮิปโปเครติส ต้นแบบจริยธรรมทางการแพทย์
Health

คำปฏิญาณฮิปโปเครติส ต้นแบบจริยธรรมทางการแพทย์

byPuri Siwasirikarun
28/04/2022
เมื่อทุกสรรพสิ่งมาจากน้ำ – ปรัชญาที่เริ่มจากธาลีส
History

เมื่อทุกสรรพสิ่งมาจากน้ำ – ปรัชญาที่เริ่มจากธาลีส

byPuri Siwasirikarun
25/10/2021
The Principia

ส่งเสริมสังคมสร้างสรรค์ ด้วยการสื่อสารวิทยาศาสตร์

© 2021 ThePrincipia. All rights reserved.

The Principia Media

About Us
Members
Contact Us
theprincipia2021@gmail.com

Follow us

No Result
View All Result
  • ข่าว
  • เทคโนโลยี
    • หุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์
    • วิศวกรรม
    • ยานพาหนะ
    • พลังงาน
    • เทคโนโลยีอาหาร
    • เทคโนโลยีการคำนวณ
    • เทคโนโลยีอวกาศ
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
    • วิทยาศาสตร์สุขภาพ
    • ชีววิทยาโมเลกุล
    • วิวัฒนาการ
    • สัตววิทยา
    • พฤกษศาสตร์
    • จุลชีววิทยา
    • กีฏวิทยา
    • นิเวศวิทยา
  • ดาราศาสตร์
    • ฟิสิกส์ดาราศาสตร์
    • จักรวาลวิทยา
    • วิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์
  • อื่น ๆ
    • ศิลปะ & วัฒนธรรม
    • คณิตศาสตร์
    • ประวัติศาสตร์
    • จิตวิทยา
    • ปรัชญา
    • วิทยาศาสตร์การกีฬา
    • Sci-fi
  • ร้านค้า