• ข่าว
  • เทคโนโลยี
    • หุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์
    • วิศวกรรม
    • ยานพาหนะ
    • พลังงาน
    • เทคโนโลยีอาหาร
    • เทคโนโลยีการคำนวณ
    • เทคโนโลยีอวกาศ
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
    • วิทยาศาสตร์สุขภาพ
    • ชีววิทยาโมเลกุล
    • วิวัฒนาการ
    • สัตววิทยา
    • พฤกษศาสตร์
    • จุลชีววิทยา
    • กีฏวิทยา
    • นิเวศวิทยา
  • ดาราศาสตร์
    • ฟิสิกส์ดาราศาสตร์
    • จักรวาลวิทยา
    • วิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์
  • อื่น ๆ
    • ศิลปะ & วัฒนธรรม
    • คณิตศาสตร์
    • ประวัติศาสตร์
    • จิตวิทยา
    • ปรัชญา
    • วิทยาศาสตร์การกีฬา
    • Sci-fi
  • ร้านค้า
No Result
View All Result
The Principia
  • ข่าว
  • เทคโนโลยี
    • หุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์
    • วิศวกรรม
    • ยานพาหนะ
    • พลังงาน
    • เทคโนโลยีอาหาร
    • เทคโนโลยีการคำนวณ
    • เทคโนโลยีอวกาศ
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
    • วิทยาศาสตร์สุขภาพ
    • ชีววิทยาโมเลกุล
    • วิวัฒนาการ
    • สัตววิทยา
    • พฤกษศาสตร์
    • จุลชีววิทยา
    • กีฏวิทยา
    • นิเวศวิทยา
  • ดาราศาสตร์
    • ฟิสิกส์ดาราศาสตร์
    • จักรวาลวิทยา
    • วิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์
  • อื่น ๆ
    • ศิลปะ & วัฒนธรรม
    • คณิตศาสตร์
    • ประวัติศาสตร์
    • จิตวิทยา
    • ปรัชญา
    • วิทยาศาสตร์การกีฬา
    • Sci-fi
  • ร้านค้า
No Result
View All Result
The Principia
No Result
View All Result

สัตว์ดึกดำบรรพ์ สายพันธุ์ A – Z

Tanakrit SrivilasbyTanakrit Srivilas
30/06/2022
in Paleontology, Uncategorized
A A
0
สัตว์ดึกดำบรรพ์ สายพันธุ์ A – Z
Share on FacebookShare on Twitter

ดาวเคราะห์สีฟ้าดวงนี้ ไม่ได้มีสิ่งมีชีวิตเพียงเท่าที่เราเห็นในสวนสัตว์ หรือในป่าใหญ่ แต่ยังมีสิ่งมีชีวิตอีกนับล้านสายพันธุ์ที่เราไม่อาจพบเห็นมันได้กับตาเราเอง อาจจะเป็นเพราะมันตัวเล็กมาก อาจจะเป็นเพราะมันหายาก หรืออาจจะเป็นเพราะพวกมันสูญพันธุ์ไปก่อนหน้าที่ โฮโม เซเปียนส์ อย่างพวกเราจะถือกำเนิดขึ้นมาเสียอีก ซึ่งสาเหตุหลังสุดนี้ ไม่ว่าเราจะทำอย่างไร คงได้เพียงจินตนาการถึงภาพมัน แต่การจินตนาการภาพให้ได้ใกล้เคียงกับหน้าตาสิ่งมีชีวิตโบราณหลายล้านปีพวกนี้ตัวจริงมากที่สุด จำเป็นต้องใช้ข้อมูลหลักฐานทางบรรพชีวินวิทยา ประกอบซากและร่องรอยดึกดำบรรพ์เข้ากับการศึกษา และวิเคราะห์ลักษณะที่แท้จริงของพวกมัน

ปัจจุบันเราพบสิ่งมีชีวิตโบราณผ่านซากและร่องรอยดึกดำบรรพ์จำนวนมหาศาล ทั้งสัตว์น้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม พืช และแบคทีเรีย และนั่นทำให้เรามีการตั้งชื่อใ้ห้กับสิ่งมีชีวิตจำนวนมากนี้ได้ตั้งแต่ A ไปจนถึง Z และวันนี้เราจะมายกตัวอย่างสัตว์ดึกดำบรรพ์ตามตัวอักษรภาษาอังกฤษ A – Z กัน มาดูกันซิว่าคุณจะรู้จักพวกมันกี่ตัว

A – Archaeopteryx

ที่มา Togo TV

Archaeopteryx หรือ อาร์คีออปเทอริกซ์ มีชีวิตอยู่ในช่วง 150 – 145 ล้านปีก่อน อาศัยอยู่ในยุค Jurassic โดยมันเป็นไดโนเสาร์เทอโรพอด ซึ่งเป็นไดโนเสารที่มีความใกล้เคียงกับนกมากที่สุด และอาร์คีออปเทอริกซ์ยังมีลักษณะที่ใกล้เคียงกับนกในปัจจุบันหลายอย่าง ทั้งลักษณะจะงอยปาก เท้า ปีก และขนที่เหมือนกับขนนก แม้ว่าอาร์คีออปเทอริกซ์จะมีลักษณะที่ใกล้เคียงกับการเป็นไดโนเสาร์เทอราพอดมากกว่า ในด้านของสรีระวิทยา แต่ด้วยลักษณะของมันที่คาบกึ่งระหว่างทั้งไดโนเสาร์และนก อาร์คีออปเทอริกซ์จึงถูกจัดว่าเป็นนกชนิดแรกของโลก

B – Brachiosaurus

ที่มา Jurassic Park Wiki – Fandom

Brachiosaurus หรือ แบรคิโอซอรัส เป็นหนึ่งในไดโนเสาร์ที่ได้ปรากฎบนจอเงิน ผ่านภาพยนตร์เรื่อง Jurassic Park ภาคแรก โดยที่แบรคิโอซอรัสเป็นไดโนเสาร์ซอโรพอด หรือไดโนเสาร์คอยาว เคยมีชีวิตอยู่ในยุค Jurassic ช่วง 200 – 130 ล้านปีก่อน มีความยาว 30 เมตร สูง 13 – 15 เมตร และมีน้ำหนักตัวประมาณ 78 ตัน หรือน้ำหนักพอ ๆ กับช้างแอฟริกา 15 ตัว โดยลักษณะเด่นของไดโนเสาร์ตัวนี้คือ บนจมูกจะมีโหนกที่ชัดเจนกว่าไดโนเสาร์ซอโรพอดชนิดอื่น หางสั้น ไม่มีปลายแส้ ขาหลังสั้นกว่าขาหน้า ทำให้ลำตัวลาดเอียงลง ส่งผลให้คอตั้งชันได้สูงกว่าไดโนเสาร์ซอโรพอดชนิดอื่น เป็นประโยชน์ในการกินใบไม้ของยอดไม้ที่สูงมากได้ดี และช่วยให้มองเห็นไดโนเสาร์กินเนื้อก่อนที่มันจะมาถึงตัว นอกจากนี้แบรคิโอซอรัสถือว่าเป็นไดโนเสาร์ที่เห็นเต็มตัวจริง ๆ เป็นตัวแรกในภาพยนตร์เรื่อง Jurassic Park ภาคแรก

C – Carnotaurus

ที่มา Jurassic Park Wiki – Fandom

Carnotaurus หรือ คาร์โนทอรัส เป็นไดโนเสาร์ที่อาศัยอยู่ในยุค Cretaceous ช่วง 80 – 75 ล้านปีก่อน ลักษณะเด่นคือบนหัวมีเขาเล็ก ๆ เอาไว้สำหรับดึงดูดตัวเมีย คาร์โนทอรัส เป็นไดโนเสาร์เทอโรพอดที่ปราดเปรียวและวิ่งเร็วมาก ด้วยความยาว 7.5 เมตร กับน้ำหนักตัว 2 ตัน ซึ่งเป็นน้ำหนักเบา เมื่อเทียบกับขนาดตัว ทำให้เวลามันวิ่งล่าเหยื่อจะมีความรวดเร็วจนน่ากลัว แต่เวลาเลี้ยวโค้งมันก็จำเป็นจะต้องตีวงกว้างคล้ายรถยนต์ หากว่าอยากสลัดให้หลุดจากไดโนเสาร์ตัวนี้ เพียงแค่วิ่งโค้งบ่อย ๆ คุณก็จะรอดแล้ว

D – Dilophosaurus

ที่มา Jurassic Park Wiki – Fandom

Dilophosaurus หรือ ไดโลโฟซอรัส เป็นไดโนเสาร์อีกหนึ่งชนิดที่มาปรากฎตัวในภาพยนตร์ Jurassic Park ภาคแรก และภาคอื่น ๆ ตามมา แต่ว่าในภาพยนตร์นั้นให้ข้อมูลที่ค่อนข้างผิดไปเสียหน่อย เพราะว่าไดโนเสาร์เทอโรพอด ขนาด 6 – 7 เมตรตัวนี้ ไม่ได้มีแผงคอดังในภาพ แล้วก็ไม่สามารถพ่นพิษได้ดังที่ปรากฎในภาพยนตร์ จากการยืนยันของนักบรรพชีวินวิทยา ลักษณะที่ถูกต้องของไดโลโฟซอรัสคือหงอนที่อยู่บนหัวต่างหาก ซึ่งจะมีเพียงเพศผู้เท่านั้น ที่มีหงอนไว้สำหรับดึงดูดตัวเมีย นอกจากนี้ ไดโลโฟซอรัสซึ่งเป็นเทอโรพอดขนาดเล็ก และมีชีวิตอยู่ในช่วงต้นของยุค Jurassic ประมาณ 208 ล้านปีก่อน เป็นหลักฐานทางวิวัฒนาการที่ทำให้เห็นได้ว่า จากไดโนเสาร์เทอโรพอดขนาดไม่ใหญ่มาก ได้กลายไปเป็นไดโนเสาร์เทอโรพอดนักล่าขนาดใหญ่โตมโหฬารได้ภายในเวลาอันสั้น

E – Einiosaurus

ที่มา Nobu Tamura

Einiosaurus หรือ ไอนิโอซอรัส เป็นไดโนเสาร์กินพืชขนาดกลางที่จัดอยู่ในกลุ่ไดโนเสาร์เซราทอปเซียน เคยมีชีวิตอยู่ในช่วง 74.5 ล้านปีก่อน ในยุค Cretaceous ขนาดตัวยาว 4.5 เมตร น้ำหนัก 1.3 ตัน มีจงอยปาก หางสั้น และมีคอที่สั้นแต่ทรงพลัง ลักษณะพิเศษที่แตกต่างจากไดโนเสาร์เซราทอปเซียนตัวอื่น ๆ คือมันมีฐานเขาที่กว้างกว่าตัวอื่น และเขายังมีความโค้งมนมากกว่าเมื่อมองจากด้านข้าง

F – Falcatus

ที่มา Nix Illustration

Falcatus หรือ ฟัลคาทัส เป็นปลาโบราณขนาดประมาณ 25 – 30 เซนติเมตร เป็นปลากระดูกอ่อน เคยมีชีวิตเมื่อ 335 – 318 ล้านปีก่อน ในยุครุ่งเรืองของสัตว์น้ำอย่างยุค Carboniferous จุดเด่นของฟัลคาทัส ตัวผู้จะมีกระดูกยื่นออกมาจากกระดูกสันหลังบริเวณหัว มีหน้าที่จับสัมผัสกระแสไฟฟ้าของเหยื่อในทะเลลึก และพวกมันยังมีครีบหางที่มี 2 แฉก ช่วยให้พวกมันว่ายน้ำได้ดี

G – Giganotosaurus

ที่มา Jurassic Park Wiki – Fandom

Giganotosaurus หรือ ไจกาโนโทซอรัส มีชีวิตอยู่ในช่วง 99.6 – 97 ล้านปีก่อน กลางยุค Cretaceous โดยลักษณะของมันคือ มีความยาว 12 – 13. เมตร สูง 7 เมตร และมีน้ำหนัก 6.6 – 8 ตัน เทียบได้กับน้ำหนักคนประมาณ 125 คน ซึ่งไจกาโนโทซอรัสเป็นสัตว์กินเนื้อที่มีขนาดใหญ่กว่าทีเร็กซ์เสียอีก นับว่าเป็นไดโนเสาร์กินเนื้อที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกเป็นอันดับที่ 3 รองลงมาจาก สไปโนซอรัส (Spinosaurus) และ คาร์คาโรดอนโทซอรัส (Carcharodontosaurus) แต่ด้วยมวลกล้ามเนื้อเฉลี่ยของมันที่น้อยกว่าทีเร็กซ์ ทำให้มันปราดเปรียวยิ่งกว่าราชาทรราชอย่างทีเร็กซ์ ซึ่งไจกาโนโทซอรัสสามารถวิ่งเร็วได้มากถึง 50 กิโลเมตรต่อชั่วโมง แต่ข้อเสียเปรียบก็คือ ด้วยขนาดกะโหลกที่เล็กกว่า ไจกาโนโทซอรัสมีแรงกัดอยู่ที่ประมาณ 1,427 กิโลกรัม ในขณะที่ทีเร็กซ์เป็นสัตว์บกที่มีแรงกัดมากที่สุดในโลก อยู่ที่ 6,000 กิโลกรัม ล่าสุด ไจกาโนโทซอรัสได้รับบทในภาพยนตร์เรื่อง Jurassic World: Dominion ในฉากการต่อสู้กับทีเร็กซ์ด้วย ใครยังไม่ดู ห้ามพลาด!

H – Huayangosaurus

ที่มา dale clik

Huayangosaurus หรือ ฮัวหยางโกซอรัส เป็นไดโนเสาร์ในวงศ์ สเตโกซอเรียน จากยุค Jurassic ตอนกลาง เมื่อประมาณ 170 – 160 ล้านปีที่แล้ว เป็นไดโนเสาร์กินพืชขนาดเล็ก มีขนาดตัวยาวเพียง 4.5 เมตร ลักษณะสำคัญคือ มีหนามสำหรับป้องกันตัวหลายจุด มีหนามขนาดใหญ่อยู่บริเวณไหล่ 1 คู่ สะโพก 2 คู่ และปลายหางอีก 2 คู่ และยังมีกระบองขนาดเล็กสำหรับป้องกันตัวและต่อสู้อยู่ที่ปลายหางด้วย

I – Indricotherium

ที่มา Walking With Wikis – Fandom

Indricotherium – อินดริโคธีเรียม สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอาศัยบนบกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก แต่ก็สูญพันธุ์ไปหมดแล้ว มันเคยมีชีวตอยู่ในยุค Oligocene จนถึง Miocene ตอนต้น ช่วง 34 – 23 ล้านปีก่อน เคยมีการค้นพบฟอสซิลของมันในหลายประเทศ ทำให้มันมีชื่ออื่น ๆ ด้วย เช่น Paraceratherium หรือ พาราเซราธีเรียม ซึ่งมันมีความสูงประมาณ 5 เมตร ลำตัวยาว 7.4 เมตร น้ำหนักตัวประมาณ 15 – 20 ตัน มีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับแรด แต่ไม่มีนอ

J – Jaxartosaurus

ที่มา ThoughtCo

Jaxartosaurus หรือ จาซาร์โทซอรัส เป็นไดโนเสาร์ในกลุ่มออร์นิโทรพอด ซึ่งเป็นไดโนเสาร์กินพืชขนาดใหญ่ และมีปากคล้ายเป็ด มันเคยอาศัยในยุค Cretaceous เมื่อ 94 – 84 ล้านปีที่แล้ว โดยลักษณะสำคัญของพวกมันคือมีะขนาดตัวของมันมีขนาดยาว 9 เมตร และมีหงอนที่อยู่บนหัวของแต่ละตัวจะมีความแตกต่างกัน ใช้สำหรับจดจำสมาชิกในฝูง คล้ายกับที่ยีราฟจดจำลวดลาย หรือคล้ายกับคนที่จดจำใบหน้า

K – Khaan

ที่มา Zhao Chuang

Khaan หรือ ข่าน เป็นไดโนเสาร์เทอโรพอดตัวเล็ก ในกลุ่มเดียวกับโอวิแรปเตอร์ ซึ่งมีความใกล้เคียงกับนกอย่างมาก โดยมีการสัณนิษฐานว่าพวกมันมีขนเหมือนนก กกไข่คล้ายนก ตัวเมียจะมีกระดูกสันหลังช่วงหางที่สั้นและเป็นบั้ง ช่วยในการวางไข่ กะโหลกของพวกมันมีช่องอากาศเพื่อให้กระดูกมีน้ำหนักเบาลง คล้ายกับนกปัจจุบัน และพวกมันยังมีจงอยปากที่ไม่มีคมเขี้ยวหรือฟันแม้แต่ซี่เดียว โดยข่านอาศัยอยู่ในยุค Cretaceous ช่วง 81 – 75 ล้านปีก่อน

L – Lystrosaurus

ที่มา Dmitry Bogdanov

Lystrosaurus หรือ ลิสโทรซอรัส เคยมีชีวิตอยู่ในช่วงปลายยุค Permian ไปจนถึงต้นยุค Triassic ช่วง 255 – 250 ล้านปีก่อน กินพืชเป็นอาหาร หน้าทู่ จมูกแคบ และขาสั้นลักษณะคล้ายหมู ขนาดตัวเล็กคล้ายสุนัข ลำตัวยาว 0.6 – 2.5 เมตร เขี้ยวยาว ปากแหลม และถูกจัดอยู่ในกลุ่มเทอแรปซิด สัตว์เลื้อยคลานที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดที่สุดกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม

M – Mosasaurus

ที่มา thaipng

Mosasaurus หรือ โมซาซอรัส ถูกจัดอยู่ในกลุ่มโมซาซอร์ มีชีวิตอยู่ในยุค Cretaceous ช่วง 101 – 66 ล้านปีก่อน ขนาดตัวของพวกมันยาวสูงสุดได้ถึง 18 เมตร มีรูปร่างคล้ายกิ้งก่าทะเล ถูกขนานนามว่าเป็นทีเร็กซ์แห่งท้องทะเล เพราะพวกมันแข็งแกร่งมาก และอยู่ด้านบนของห่วงโซ่อาหาร อาหารของมันมีตั้งแต่สัตว์ตัวเล็ก ๆ อย่าง แอมโมไนต์ ไปจนถึงสัตว์ตัวใหญ่อย่าง ฉลามโบราณ และโมซาซอรัสด้วยกันเอง ซึ่งโมซาซอรัสมีขาที่มีพังผืดช่วยในการว่ายน้ำ แต่มันจำเป็นจะต้องขึ้นมาหายใจบริเวณผิวน้ำ จากลักษณะร่างกายทั้งหมดพบว่ามันมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับสัตว์จำพวกงู และตะกวด เช่น มังกรโคโมโด นอกจากนี้ โมซาซอร์ยังเคยเป็นดาราดาวเด่นในภาพยนตร์ Jurassic World ภาคแรกอีกด้วย

N – Nodosaurus

ที่มา Desiles Leo

Nodosaurus หรือ โนโดซอรัส เป็นไดโนเสาร์กลุ่มอังคิโลซอร์ ซึ่งมีลักษณะตัวอ้วนกลม และมีเกราะขนาดใหญ่ช่วยปกป้องอยู่ที่แผ่นหลัง ลำตัวของมันยาว 4 – 6 เมตร น้ำหนัก 3.5 ตัน กินพืชเป็นอาหาร เคยมีชีวิตอยู่ในยุค Cretaceous ช่วง 99.7 – 86.3 ล้านปีก่อน โดยพวกมันจะมีขาหน้าที่เล็กสั้นกว่าขาหลัง หัวและสมองเล็ก และมีหางที่ยาวมาก

O – Oviraptor

ที่มา Prehistoric Kingdom Wiki – Fandom

Oviraptor หรือ โอวิแรปเตอร์ ไดโนเสาร์ขนาด 1.6 เมตร น้ำหนักประมาณ 33 – 40 กิโลกรัม เคยได้ใช้ชีวิตบนโลกใบนี้ในยุค Cretaceous เมื่อ 75 – 71 ล้านปีก่อน มีลักษณะใกล้เคียงกับนกในปัจจุบัน มีจงอยปาก มีหงอนขนาดใหญ่บนหัว มีแผงขนที่ขาคู่หน้า และมีโคนหางแบบ pygostyle ช่วยในการควบคุมแพนหางในการบินระยะสั้น ๆ ชื่อของมันถูกตั้งขึ้นจากพฤติกรรมที่ได้จากการสันนิษฐานโดยผู้ค้นพบ ซึ่งให้ชื่อมันว่า “หัวขโมยไข่” จากการค้นพบฟอสซิลหัวกะโหลกที่ถูกบดจนละเอียดของมัน ใกล้กับรังที่มีการค้นพบไข่ไดโนเสาร์ฟองแรก ๆ ของโลก ซึ่งคาดการณ์กันว่าเป็นไข่ของ Protoceratops ผู้ค้นพบจึงคาดการณ์ว่าโอวิแรปเตอร์ตั้งใจะมาขโมยไข่ แต่ก็ต้องถูกเจ้าของรังกระทืบจนตาย ภายหลังมีการค้นพบฟอสซิลของไดโนเสาร์กลุ่มเดียวกับโอวิแรปเตอร์ทีตายในสภาพที่นั่งกกไข่อยู่จนถูกเรียกว่าเป็น Big Mama จากการตรวจสอบพบว่าตัวอ่อนในไข่ เป็นไดโนเสาร์กลุ่มโอวิแรปเตอร์เช่นกัน จึงมีการตรวจสอบอีกครั้ง และพบว่าภายในไข่ที่พบใกล้กับฟอสซิลโอวิแรปเตอร์ตัวแรกนั้น คือลูก ๆ ของโอวิแรปเตอร์เอง และสภาพกะโหลกที่ถูกบดละเอียดน่าจะมาจากการที่มันออกไปปกป้องลูก ๆ ในไข่ แต่แล้วมันก็ไม่ได้กลับมาที่รัง ทำให่้ไข่ไม่มีโอกาสได้ฟักออกมาเป็นตัวอีกเลย

P – Platybelodon

ที่มา Extinct Animals

Platybelodon หรือ พลาตีบีโลดอน เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมกินพืชที่มีลักษณะคล้ายช้างในปัจจุบัน ขนาดตัวประมาณช้างเอเชีย สูง 2.7 เมตร ยาว 3 เมตร หนัก 2 ตัน โดยพวกมันมีชื่อเล่นว่า ช้างงาหอกแบน หรือ Flat-tusk ซึ่งมาจากลักษณะเด่นของมัน ที่มีงาแบน ๆ คล้ายพลั่ว อยู่ที่บริเวณปลายงวงด้านล่าง ซึ่งน่าจะมีไว้เพื่อตัดต้นไม้ กิ่งไม้ และแซะไม้ออกมากิน จากหลักฐานลักษณะของงวงและงาล่างที่หนาและแข็งแรงของพวกมัน พลาตีบีโลดอน เคยอาศัยอยู่ในยุค Miocene ในช่วง 20 – 8 ล้านปีก่อน แต่เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศในยุคนั้น จนเกิดเป็นนภัยแล้ง ทำให้พวกมันขาดแคลนอาหารและสูญพันธุ์ไป

Q – Quetzalcoatlus

ที่มา Jurassic Park Wiki – Fandom

Quetzalcoatlus หรือ เควตซัลโคแอตลัส เป็นเทอโรซอร์ หรือสัตว์เลื้อยคลานบินได้ (แต่ไม่ใช่ไดโนเสาร์) ที่ขนาดใหญ่โตมาก นับว่าเป็นสิ่งมีชีวิตบินได้ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ด้วยขนาดปีกเมื่อกางออก ตั้งแต่ปลายปีกด้านหนึ่งไปจนถึงปลายปีกอีกด้านใหญ่ที่สุด วัดขนาดได้ยาวที่สุดประมาณ 12 เมตร สูงประมาณ 3 – 6 เมตร เคยมีชีวิตอยู่ในยุค Cretaceous ช่วง 68 – 66 ล้านปีก่อน

R – Rugops

ที่มา leonardo borba

Rugops หรือ รูกอปส์ เป็นไดโนเสาร์เทอโรพอดที่กินซากสัตว์เป็นอาหาร ไม่สามารถออกล่าได้อย่างทีเร็กซ์ จากหลักฐานที่พบเพียงกะโหลกขนาดความยาว 31.5 เซนติเมตรของมัน บ่งบอกว่ากะโหลกนั้นไม่ได้ออกแบบมาเพื่อต่อสู้ และจากกะโหลกที่พบทำให้มีการวิเคราะห์ว่า รูกอปส์น่าจะมีขนาดตัวยาว 4.4 – 6 เมตร และมีน้ำหนักประมาณ 410 – 750 กิโลกรัม พวกมันมีชีวิตอยู่เมื่อ 95 ล้านปีที่แล้วในยุค Cretaceous

S – Sahelanthropus tchadensis

ที่มา Trudy

Sahelanthropus tchadensis หรือ ซาฮีแลนโทรปัส ชาดเอนซิส พบฟอสซิลครั้งแรกในประเทศชาด แถบแอฟริกากลาง เป็นสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในวงศ์ลิงใหญ่ หรือกลุ่มโฮมินิด นักบรรพชีวินวิทยาเรียกชื่อเล่นของมันว่า “ตูไม” ที่แปลว่าความหวังของชีวิต โดยมันเคยมีชีวิตอยู่ในยุค Miocene ในช่วง 7 – 6 ล้านปีก่อน ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ใกล้เคียงกับการแยกสายวิวัฒนาการระหว่างลิงชิมแปนซีกับมนุษย์ จึงมีความเชื่อว่า ซาฮีแลนโทรปัส ชาดเอนซิส อาจเป็นบรรพบุรุษตัวสุดท้ายที่เรามีร่วมกันกับลิง ก่อนที่จะแยกกันวิวัฒนาการ

T – Tyrannosaurus rex

ที่มา Hosu

Tyrannosaurus หรือ ไทแรนโนซอรัส มีชื่อมาจากภาษากรีกทีแปลว่ากิ้งก่าทรราชย์ โดยสายพันธุ์ที่รู้จักกันดีชนิดเดียวนั่นคือ ไทแรนโนซอัส เร็กซ์ หรือ ทีเร็กซ์ นั่นเอง โดยมันเป็นไดโนเสาร์กลุ่มเทอโรพอดทีมีขนาดตัวสูงจาพื้นถึงสะโพก 4.6 เมตร ความยาว 12 – 13 เมตร น้ำหนัก 7 – 18 ตัน เคยอาศัยอยู่ในปลายยุค Cretaceous หรือเมื่อ 68 – 66 ล้านปีก่อน ซึ่งพวกมันมีชื่อเสียงเพราะว่าเคยเป็นหนึ่งในไดโนเสาร์ที่ตัวใหญ่ที่สุดในพื้นพิภพ และถือเป็นนักล่าทีอยู่ปลายสุดของห่วงโซ่อาหาร คือไม่มีใครสามารถกินมันได้ นอกจากพวกมันกินกันเอง แต่ในภายหลังพบว่ามีไดโนเสาร์ที่มีชีวิตอยู่ในคนละช่วงเวลา ที่ทำให้ทีเร็กซ์ต้องเสียตำแหน่งไดโนเสาร์ที่ตัวใหญ่ที่สุดไป

U – Utahraptor

ที่มา Dinopedia – Fandom

Utahraptor หรือ ยูทาห์แรเตอร์ เป็นไดโนเสาร์เทอโรพอดในตระกูลแรปเตอร์ ซึ่งถือว่าตัวใหญ่มากเมื่อเทียบกับไดโนเสาร์ตัวอื่น ๆ ในตระกูลแรปเตอร์ นั่นคือความยาวเฉลี่ยประมาณ 5.5 และน้ำหนักเฉลี่ย 1 ตัน มีชีวิตอยู่ในต้นยุค Cretaceous เมื่อ 135 – 130 ล้านปีก่อน

V – Velociraptor

ที่มา kindpng

Velociraptor หรือ เวโลซิแรปเตอร์ เป็นไดโนเสาร์เทอโรพอด ตระกูลแรปเตอร์ ที่มีขนาดเล็ก ความยาวประมาณ 2 เมตร น้ำหนัก 7 กิโลกรัม กินสัตว์ตัวเล็กเป็นอาหาร บางทีก็ล่าเหยื่อเป็นกลุ่มเหมือนกับหมาป่า ซึ่งอาวุธของพวกมันคือเล็บเท้าแหลมคมเหมือนใบมีดและฟันที่คมกริบ พวกมันเคยมีชีวิตในปลายยุค Cretaceous หรือในช่วง 83 – 70 ล้านปีก่อน

W – Wannanosaurus

ที่มา The Dinosaur Database

Wannanosaurus หรือ วอนนาโนซอรัส มาจากสถานที่ที่ค้นพบซากฟอสซิลไดโนเสาร์ตัวนี้ ที่ชื่อว่า Wannan ในประเทศจีน เคยมีชีวิตอยู่ในยุค Cretaceous เมื่อประมาณ 72.1 – 69 ล้านปีที่แล้ว ขนาดตัวมีความยาวประมาณ 60 เซนติเมตร ลักษณะสำคัญคือมีช่องเปิดขนาดใหญ่ที่กะโหลก จากหลักฐานฟอสซิลฟันของพวกมันทำให้เชื่อได้ว่ามันกินพืชเป็นอาหารหลัก แต่อาจจะกินแมลงตัวเล็ก ๆ ได้ด้วยเช่นกัน

X – Xenotarsosaurus

ที่มา Megane2.ru

Xenotrsosaurus หรือ ซีโนทาร์โซซอรัส เป็นไดโนเสาร์กินซากที่เคยมีชีวิตอยู่เมื่อ 95 ล้านปีก่อน ในยุค Cretaceous ฟอสซิลที่พบบ่งบอกได้ว่าหน้าตาของมันคล้ายกับ Carnotaurus ความยาว 5.1 – 5.4 เมตร สูง 6.7 เมตร และมีน้ำหนักตัวประมาณ 300 – 1,000 กิโลกรัม

Y – Yangchuanosaurus

ที่มา Mic1805

Yangchuanosaurus หรือ หย่งชวนโนซอรัส เป็นไดดโนเสาร์กินเนื้อขนาดใหญ่ มีความยาวประมาณ 8 – 11 เมตร น้ำหนักตัว 3.4 – 3.7 ตัน เคยมีชีวิตอยู่เมื่อ 168.3 – 157 ล้านปีก่อน ในยุค Jurassic มีรูปร่างใกล้เคียงกับ Allosaurus ฟอสซิลของมันถูกพบใน Yongchuan ประเทศจีน

Z – Zigongosaurus

ที่มา kidadl

Zigongosaurus หรือ ซิกังโกซอรัส มีอีกชื่อหนึ่งว่า Mamenchisaurus หรือ มาเมนชิซอรัส ไดโนเสาร์ยุค Jurassic ที่มีชีวิตอยู่เมื่อ 165 – 145 ล้านปีก่อนชนิดนี้ ถูกค้นพบฟอสซิลครั้งแรกในประเทศจีน และพบในประเทศอื่นแถบเอเชียด้วย เช่น ประเทศไทย ซึ่งค้นพบกระดูกสันหลังบางส่วนของพวกมันในปี ค.ศ. 2012 โดยไดโนเสาร์ชนิดนี้ถือเป็นไดโนเสาร์ที่มีคอยาวที่สุดที่เคยเหยียบย่างบนพื้นโลก ด้วยกระดูกคอ 19 ชิ้น และความยาวตั้งแต่คอไปจนถึงหัวซึ่งยาวกว่าความยาวลำตัวไปถึงหางเสียอีก โดยคอที่ยาวของมันไม่ได้ทำให้มันตัวสูงเหมือนกับไดโนสาร์ซอโรพอดตัวอื่น ๆ เพราะน้ำหนักคอที่มากของมัน ทำให้มันกินพืชในความสูงที่ไม่มาก แต่กวาดกินได้เป็นวงกว้างมากกว่าไดโนเสาร์ตัวอื่น ๆ ซึ่งความยาวมากที่สุดของพวกมันอยู่ที่ประมาณ 35 เมตร

พูดคุยปิดท้าย

จะเห็นว่าทุกวันนี้ ความรู้วงการบรรพชีวินวิทยารุดหน้าไปไกลอย่างมาก เรารู้จักชนิดพันธุ์ของสัตว์โบราณมากมาย รวมถึงรู้ยันลักษณะของพวกมันผ่านการศึกษาต่าง ๆ นานา แม้ว่าหลักฐานที่ค้นพบจะเป็นเพียงเศษกระดูก หรือเพียงแค่ร่องรอยที่สิ่งมีชีวิตเหล่านั้นเคยทิ้งไว้ในธรรมชาติก็ตาม การศึกษาเหล่านี้ทำให้เราได้ทึ่งไปกับวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตที่เราไม่เคยได้เห็นหน้าค่าตา เปรียบเทียบกับสิ่งมีชีวิตที่คุ้นหน้าคุ้นตาในปัจจุบัน น่าสนใจว่าต่อไปเราจะได้รู้จักกับไดโนเสาร์ได้ละเอียดขึ้นแค่ไหน และพวกมันมีความเชื่อมโยงกับพวกเราอย่างไร ต้องมารอดูไปพร้อมกันครับ

อ้างอิง

อาร์คีออปเทอริกซ์

แบรคิโอซอรัส

คาร์โนทอรัส

ไดโลโฟซอรัส

Einiosaurus

Falcatus

Giganotosaurus

Huayangosaurus

Indricotherium

Jaxartosaurus

Khaan

Lystrosaurus

โมซาซอร์

Nodosaurus

Oviraptor

Oviraptor หัวขโมยไข่ผู้ถูกใส่ความ

Platybelodon ช้างงาหอกแบนช่วงปลายยุคไมโอซีน

Quetzalcoatlus

Rugops

Sahelanthropus

ไทแรนโนซอรัส

Utahraptor

เวโลซิแรปเตอร์

Wannanosaurus

Xenotarsosaurus

Yangchuanosaurus

Zigongosaurus

Tags: DinosaurJurassic World
Tanakrit Srivilas

Tanakrit Srivilas

Jack of all trades, passionate about Biotechnology, Molecular genetics, Evolutionary biology, and Communication.

Related Posts

นอนบนเตียงระวังโดนดูด (เลือด)
Biology

นอนบนเตียงระวังโดนดูด (เลือด)

byThanaset Trairat
15/01/2023
ถอดรหัสมนุษย์โบราณ ไขความลับวิวัฒนาการ กับรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ 2022
Biology

ถอดรหัสมนุษย์โบราณ ไขความลับวิวัฒนาการ กับรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ 2022

byTanakrit Srivilas
06/10/2022
จับตา! 27 กันยายนนี้ ยาน DART พุ่งชนดาวเคราะห์น้อย
Astronomy

จับตา! 27 กันยายนนี้ ยาน DART พุ่งชนดาวเคราะห์น้อย

byNakarin Chantaso
26/09/2022
“ไดโนเสาร์ในแฟรนไชน์ Jurassic มาจากยุคนี้ จริงหรือ?”
Paleontology

“ไดโนเสาร์ในแฟรนไชน์ Jurassic มาจากยุคนี้ จริงหรือ?”

byPeeranath Watthanaseanand1 others
13/06/2022
The Principia

ส่งเสริมสังคมสร้างสรรค์ ด้วยการสื่อสารวิทยาศาสตร์

© 2021 ThePrincipia. All rights reserved.

The Principia Media

About Us
Members
Contact Us
theprincipia2021@gmail.com

Follow us

No Result
View All Result
  • ข่าว
  • เทคโนโลยี
    • หุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์
    • วิศวกรรม
    • ยานพาหนะ
    • พลังงาน
    • เทคโนโลยีอาหาร
    • เทคโนโลยีการคำนวณ
    • เทคโนโลยีอวกาศ
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
    • วิทยาศาสตร์สุขภาพ
    • ชีววิทยาโมเลกุล
    • วิวัฒนาการ
    • สัตววิทยา
    • พฤกษศาสตร์
    • จุลชีววิทยา
    • กีฏวิทยา
    • นิเวศวิทยา
  • ดาราศาสตร์
    • ฟิสิกส์ดาราศาสตร์
    • จักรวาลวิทยา
    • วิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์
  • อื่น ๆ
    • ศิลปะ & วัฒนธรรม
    • คณิตศาสตร์
    • ประวัติศาสตร์
    • จิตวิทยา
    • ปรัชญา
    • วิทยาศาสตร์การกีฬา
    • Sci-fi
  • ร้านค้า