• ข่าว
  • เทคโนโลยี
    • หุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์
    • วิศวกรรม
    • ยานพาหนะ
    • พลังงาน
    • เทคโนโลยีอาหาร
    • เทคโนโลยีการคำนวณ
    • เทคโนโลยีอวกาศ
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
    • วิทยาศาสตร์สุขภาพ
    • ชีววิทยาโมเลกุล
    • วิวัฒนาการ
    • สัตววิทยา
    • พฤกษศาสตร์
    • จุลชีววิทยา
    • กีฏวิทยา
    • นิเวศวิทยา
  • ดาราศาสตร์
    • ฟิสิกส์ดาราศาสตร์
    • จักรวาลวิทยา
    • วิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์
  • อื่น ๆ
    • ศิลปะ & วัฒนธรรม
    • คณิตศาสตร์
    • ประวัติศาสตร์
    • จิตวิทยา
    • ปรัชญา
    • วิทยาศาสตร์การกีฬา
    • Sci-fi
  • ร้านค้า
No Result
View All Result
The Principia
  • ข่าว
  • เทคโนโลยี
    • หุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์
    • วิศวกรรม
    • ยานพาหนะ
    • พลังงาน
    • เทคโนโลยีอาหาร
    • เทคโนโลยีการคำนวณ
    • เทคโนโลยีอวกาศ
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
    • วิทยาศาสตร์สุขภาพ
    • ชีววิทยาโมเลกุล
    • วิวัฒนาการ
    • สัตววิทยา
    • พฤกษศาสตร์
    • จุลชีววิทยา
    • กีฏวิทยา
    • นิเวศวิทยา
  • ดาราศาสตร์
    • ฟิสิกส์ดาราศาสตร์
    • จักรวาลวิทยา
    • วิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์
  • อื่น ๆ
    • ศิลปะ & วัฒนธรรม
    • คณิตศาสตร์
    • ประวัติศาสตร์
    • จิตวิทยา
    • ปรัชญา
    • วิทยาศาสตร์การกีฬา
    • Sci-fi
  • ร้านค้า
No Result
View All Result
The Principia
No Result
View All Result

สัปดาห์นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ 2022

The PrincipiabyThe Principia
27/07/2022
in Advertorial, News
A A
0
Share on FacebookShare on Twitter

คุณเชื่อในวิทยาศาสตร์หรือเปล่า? พวกเราอาจไม่ทันรู้ตัว แต่ทุกอย่างที่อยู่รอบ ๆ ตัวของเราล้วนแล้วแต่เป็นวิทยาศาสตร์ ที่ช่วยอำนวยความสะดวกและทำให้ผู้คนดำรงชีวิตอยู่ได้ นอกจากนี้วิทยาศาสตร์ยังเป็นสิ่งที่ช่วยบ่งบอกถึงพัฒนาการของมนุษย์ ว่าก้าวไปไกลเกินกว่าสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นได้ขนาดไหน โครงการ “สัปดาห์นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ 2022” จึงช่วยให้คุณทุกคน ใกล้ชิดกับวิทยาศาสตร์มากยิ่งขึ้น

สัปดาห์นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ 2022 เป็นโครงการต่อเนื่องมาจากปีที่แล้ว ที่จัดขึ้นในปี 2021 โดยการนำของ The Principia (ก่อนหน้าใช้ชื่อว่า Make a วิทย์) ซึ่งมีการเปิดห้องบรรยายโดยนักสื่อสารวิทยาศาสตร์หลายคน ที่ทำหน้าที่เผยแพร่ความรู้วิทยาศาสตร์เป็นประจำ โดยจัดโครงการดังกล่าวยาวนาน 7 วัน นับตั้งแต่วันที่ 15 – 21 สิงหาคม 2021 ในแอปพลิเคชัน Clubhouse พร้อมทั้งยังถ่ายทอดสดผ่านทาง Facebook และได้รับกระแสตอบรับที่ดีมาก แม้ว่าจะเป็นการจัดโครงการครั้งแรก มีผู้ให้ความสนใจเข้ามารับฟังผ่านการถ่ายทอดสดทั้ง 2 ช่องทาง ถาม-ตอบกับวิทยากร และส่งความคิดเห็นมาให้ผู้จัดอย่าง The Principia เป็นจำนวนมาก

เป็นโอกาสอันดีที่เดือนแห่งวิทยาศาสตร์ในปีนี้ จะได้มีการส่งต่อความรู้สู่บุคคลทั่วไป ที่สนใจในวิทยาศาสตร์ ให้ชื่นชอบในมุมมองต่าง ๆ ของวิทยาศาสตร์ที่มากขึ้น ผ่านการบรรยายโดยวิทยากรหลายท่านตลอด 7 วัน ตั้งแต่วันที่ 1 – 7 สิงหาคม 2022 เวลา 18.00 – 22.00 น. ผ่านทาง Facebook Live และ YouTube Live ของทาง The Principia โดยในปีนี้สัปดาห์สื่อสารวิทยาศาสตร์มาในธีม Reflection หรือการสะท้อน โดยวิทยากรที่มาร่วมบรรยายมากมายได้แก่

ณภัทร ตัณฑิกุล (จัส)

นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ไทยที่ได้รับตำแหน่งผู้ชนะเลิศในโครงการ FameLab Thailand ปี ค.ศ. 2019 และยังเป็นคนไทยคนแรกที่ได้เข้าแข่งขันใน FameLab International รอบ 10 คนสุดท้าย ซึ่งในครั้งนี้ จัส ณภัทร จะนำเรื่องราวของงานวิจัยและเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่ช่วยสร้างอาหารแห่งอนาคต ไม่ว่าจะเป็น plant-based food หรืออาหารที่ผลิตจากพืช หรือ cell-based food หรืออาหารที่เกิดจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อจากเนื้อสัตว์ชนิดต่าง ๆ ภายในห้องแล็บ ซึ่งอาหารแห่งอนาคตแต่ละชนิดก็เข้ามาช่วยตอบโจทย์ปัญหาวิกฤตอาหารที่อาจเกิดขึ้นในไม่ช้า โดยสามารถรับฟังไลฟ์ของ จัส ณภัทร ได้ในวันจันทร์ที่ 1 สิงหาคม 2022

รศ. ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์

อาจารย์เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ชื่อดังจากเพจ อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์ ที่พวกเราเห็นหน้าค่าตาตามรายการโทรทัศน์ได้บ่อย ๆ จะมาช่วยพวกเราตอบปัญหาที่ว่า ทำไมในความคิดของคนไทย วิทยาศาสตร์ถึงยังไม่ปังเท่าที่ควร ในหลายประเด็นที่เห็นได้ตามข่าวก็พบว่าอธิบายได้ไม่ยากในทางวิทยาศาสตร์ แต่ผู้คนจำนวนหนึ่งกลับหลงเชื่อว่าเป็นสิ่งลึกลับ ผิดธรรมชาติ ฉะนั้นพวกเราควรมีวิธีการอย่างไรที่จะเผยแพร่ และสื่อสารวิธีการใช้ความคิดอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ให้กับคนทั่วไปในสังคมไทย โดยสามารถรับฟังอาจารย์เจษฎ์ได้ในวันจันทร์ที่ 1 สิงหาคม 2022

ดร.ข้าว ต้นสมบูรณ์

นักวิจัย และ CEO ของบริษัทสตาร์ตอัปที่ตั้งใจจะผลักดันเทคโนโลยีชีวภาพในการผลิตกระจกตาชีวภาพจากสเต็มเซลล์ แทนการใช้กระจกตาบริจาคให้กับผู้ป่วยที่เกี่ยวข้องกับโรคทางดวงตา เพื่อลดความเสี่ยงที่ร่างกายผู้ป่วยจะไม่ยอมรับกระจกตาจากผู้บริจาค และทำให้กระจกตามีเพียงพอต่อการรักษา นอกจากนี้ ดร.ข้าว ยังเป็นนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ที่มีฝีปากกล้าและมากความสามารถ ถึงกับที่ได้ครองตำแหน่งผู้ชนะเลิศคนแรกของประเทศไทย ในโครงการ FameLab Thailand เมื่อปี 2016 และในฐานะที่อยู่ในวงการวิทยาศาสตร์มาอย่างยาวนานในหลายตำแหน่ง ครั้งนี้ ดร.ข้าว จะกลับมาสื่อสารด้านวิทยาศาสตร์ให้พวกเราฟังกันอีกครั้งผ่านไลฟ์ ในหัวข้อการตีแผ่ด้านมืดในวงการวิทยาศาสตร์ไทย เพื่อให้ทุกคนได้รับรู้ว่า วงการวิทยาศาสตร์ ควรไปได้ไกลแค่ไหน แล้วทำไมพวกเราถึงไปได้ไม่ถึงจุดนั้น สามารถรับฟัง ดร.ข้าว ได้ในวันอังคารที่ 2 สิงหาคม 2022

ผศ. ดร.กันตภณ สุระประสิทธิ์ (ด้อม) เจ้าของเพจ Dom Paleoworld

อาจารย์ประจำภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เจ้าของเพจ Dom Paleoworld และเป็นเจ้าของตำแหน่งสุดยอดแฟนพันธุ์แท้สัตว์ดึกดำบรรพ์ ผู้ที่ใช้ความชื่นชอบนำทางจนเชี่ยวชาญในด้านของสิ่งมีชีวิตในยุคอดีตกาล โดยมีแรงบันดาลใจหลักเริ่มต้นมาตั้งแต่การเข้าค่ายไดโนคิดส์ ตั้งแต่อายุ 7 ขวบ และในครั้งนี้ อาจารย์ด้อมจะนำเรื่องของการเชื่อมโยงศาสตร์ของบรรพชีวินวิทยาอนุรักษ์ ที่จะนำหลักฐานจากอดีตกาลมาใช้ในการอนุรักษ์ถิ่นที่อยู่ให้กับสิ่งมีชีวิตในปัจจุบัน ซึ่งสามารถรับฟังไลฟ์ของอาจารย์ด้อมได้ในวันอังคารที่ 2 สิงหาคม 2022

วีณา เนาวประทีป (นุ้ย)

นักสื่อสารคณิตศาสตร์ และนักวิจัยประจำ SageFox Consulting Group ประเทศสหรัฐอเมริกา ผู้มีประสบการณ์การออกแบบการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ นอกจากนี้ยังเคยได้เป็น STEM Ambassador และ School Lab Ambassador 2017 ซึ่งทำงานเกี่ยวกับด้านคณิตศาสตร์และการศึกษามาอย่างโชกโชน เพราะการศึกษาเป็นเรื่องสำคัญที่จะทำให้เยาวชนชื่นชอบ และเข้าใจในวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์อย่างแท้จริง ครั้งนี้ นุ้ย วีณา จึงนำเรื่องเกี่ยวกับศึกษามาพูดในไลฟ์ในหัวข้อ วิทยาศาสตร์แห่งการเรียนรู้ สามารถรับฟัง นุ้ย วีณา ได้ในวันพุธที่ 3 สิงหาคม 2022

อนัฐ ผดุงกิจ (นัฐ) เจ้าของเพจ MathisPie

MathisPie อ่านว่า แมธ อิส พาย เป็นเพจของนักสื่อสารคณิตศาสตร์อย่าง นัฐ อนัฐ นักศึกษาปริญญาโทที่หลงใหลในคณิตศาสตร์ และอยากจะเล่าความน่าตื่นเต้นของมันให้คนอื่นฟัง ซึ่งเรื่องราวของคณิตศาสตร์ไม่ได้มีแค่การบวกลบคูณหาร ไม่ได้เรียนกันแค่แคลคูลัส แต่ นัฐ อนัฐ จะมาแนะนำให้ทุกคนรู้จักกับทฤษฎีอลวน ทฤษฎีที่ช่วยอธิบายคำกล่าวที่ว่า “เด็ดดอกไม้ สะเทือนถึงดวงดาว” สามารถเข้ารับฟังไลฟ์ของ นัฐ MathisPie ได้ในวันพุธที่ 3 สิงหาคม 2022

วิทยาศาสตร์และการเมือง – Scientists for Thai Politics

เมื่อการเมืองเกี่ยวเนื่องกับวงการวิทยาศาสตร์ นักวิทยาศาสตร์ที่เข้าใจเรื่องราวทั้งสองด้าน และต้องการแรงผลักดันจากรัฐบาล จะมาเล่าเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับทั้งวิทยาศาสตร์และการเมืองไปในเวลาเดียวกัน โดยหัวข้อที่จะมานำเสนอในไลฟ์คือ บทบาทนักวิทยาศาสตร์กับการเมืองการปกครอง ที่จะสะท้อนให้เราได้รู้ว่านักวิทยาศาสตร์มีบทบาทและอำนาจขนาดไหนในการขับเคลื่อนสังคม โดยสามารถรับฟังไลฟ์ของ วิทยาศาสตร์และการเมือง ได้ในวันพฤหัสบดีที่ 4 สิงหาคม 2022

Nature Plearn Club

ทอม อุเทน ภุมรินทร์ และ เอ้ ชุตินธร วิริยะปานนท์ นักสื่อสารธรรมชาติของ Nature Plearn Club จะชวนทุกคนมาสำรวจธรรมชาติโดยไม่ต้องเข้าป่า เพราะพื้นที่ในเมืองใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นภายในรั้วบ้าน หรือข้างบ้านของคุณเอง รวมถึงสวนสาธารณะน้อยใหญ่ ก็สามารถเป็นสถานที่พบเจอความหลากหลายทางชีวภาพได้ ซึ่งทั้งสองคนจะมาชวนพวกเราทุกคน ทั้งเด็ก และผู้ใหญ่ มาเป็นนักวิทยาศาสตร์พลเมือง (Citizen Science) เรียนการรู้เก็บข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพในเมืองอย่างเป็นระบบ ให้เป็นฐานข้อมูลที่ง่ายต่อการนำไปใช้ในการศึกษาวิจัยต่อยอด รวมถึงใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานประกอบการตัดสินใจเชิงนโยบายของ Policy makers ที่จะนำเราไปสู่ก้าวแรกของ “Nature Smart City” คนอยู่ได้ สัตว์ (ป่า) อยู่ดี ซึ่งจะช่วยให้ชีวิตของผู้คนและสรรพสัตว์ตามธรรมชาติในเมืองของเรามีชีวิตที่ดีขึ้นได้ สามารถรับฟังไลฟ์ของ ทอม อุเทน และ เอ้ ชุตินธร จาก Nature Plearn Club ได้ในวันพฤหัสบดีที่ 4 สิงหาคม 2022

อานนท์ ปุ้ยตระกูล (หนึ่ง) เจ้าของเพจ Arnondora

อานนท์ แปลว่าผู้เบิกบาน เพราะเขามีความสุขทุกครั้งที่ได้ทำงานด้านโปรแกรมมิ่ง เพราะเขาคือผู้ที่เคยได้รับรางวัลชนะเลิศในการแข่งขัน Microsoft Imagine Cup Thailand 2016 หมวด Innovation นอกจากนี้เรื่องเทคโนโลยีต่าง ๆ ก็อยู่ในความสนใจของเขาเช่นกัน ในสัปดาห์นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ หนึ่ง อานนท์ จึงได้นำเรื่องราวของความปลอดภัยในโลกไซเบอร์มาเล่าให้ฟัง ว่ามันเกี่ยวข้องกับทุกคนอย่างไร มารับฟังกันได้ในวันศุกร์ที่ 5 สิงหาคม 2022

ทูตเยาวชนวิทยาศาสตร์ไทย (YTSA)

Young Thai Science Ambassador หรือ YTSA เป็นกลุ่มเยาวชนคนรุ่นใหม่ ผู้ที่รัก และสนใจในวิทยาศาสตร์ พร้อมทั้งยังมีความสามารถในการเล่าเรื่องวิทยาศาสตร์ยาก ๆ ให้คนฟังได้แบบง่าย ๆ และเพลิดเพลินตลอดจนจบเรื่องราว จากความสนุกสนานกับการเล่าเรื่องวิทยาศาสตร์ของพวกเขา โดยในครั้งนี้ทูตเยาวชนวิทยาศาสตร์ไทยจะขนข่าวลวง ข่าวหลอก ที่ทำให้คนไทยต้องเข้าใจผิด มาเปิดโปงและเล่าเรื่องราวที่ถูกต้องให้ทุกคนได้คิดตาม และไม่ถูกหลอกในครั้งต่อ ๆ ไป สามารถรับฟังไลฟ์ของ YTSA ได้ในวันศุกร์ที่ 5 สิงหาคม 2022

ณภัทร เอมดี (ภัทร) เจ้าของเพจ นี่แหละชีวะ

เพราะชีวะ คือชีวิต ไม่ว่าจะเป็นสิ่งมีชีวิตน้อยใหญ่ก็มีความแตกต่างหลากหลายให้นักวิทยาศาสตร์ศึกษาได้ไม่รู้จบ ภัทร ณภัทร ผู้ก่อตั้งเพจนี่แหละชีวะ ก็เป็นหนึ่งในคนที่หลงใหลกับศาสตร์ของชีววิทยา ที่มีการศึกษาตั้งแต่หน่วยย่อย ๆ อย่าง DNA ไปจนถึงอะไรใหญ่ ๆ อย่างระบบนิเวศของโลกใบนี้ เขาจึงทำการสื่อสารเรื่องราวเหล่านี้ที่เขาสนใจ ย่อยให้ง่ายและเล่าออกมาผ่านภาพวาดหน้าตาน่ารัก ซึ่งทำให้คนทั่วไปเข้าใจในเรื่องราวของชีววิทยามากขึ้นโดยไม่จำเป็นต้องเปิดตำราวิชาการหนา ๆ แม้แต่เล่มเดียว และในครั้งนี้ ภัทร ณภัทร พบเจอความสนุกสนานของนักวิทยาศาสตร์ ที่ตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ให้สิ่งมีชีวิตต่าง ๆ อย่างน่ารัก และชวนยิ้ม สะท้อนให้เห็นความสร้างสรรค์ของนักวิทยาศาสตร์ที่ซ่อนอยู่ในชื่อวิทยาศาสตร์ของสิ่งมีชีวิตชนิดต่าง ๆ ร่วมฟังไลฟ์เรื่องราวที่ว่าจาก ภัทร นี่แหละชีวะ ได้ในวันเสาร์ที่ 6 สิงหาคม 2022

ภูริ ศิวสิริการุณย์ (ภูริ) เจ้าของเพจ The Projectile

ภูริเป็นเด็กหนุ่มไฟแรงที่รักในการเล่าเรื่องราวต่าง ๆ ให้คนอื่นฟัง โดยเฉพาะเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ ประวัติศาสตร์ สังคม และปรัชญา โดยนำเรื่องราวต่าง ๆ มาร้อยเรียงรวมกัน ไม่ว่าจะเป็นประวัติศาสตร์ของวิทยาศาสตร์ ย้อนไปจนถึงนักปรัชญายุคแรก ๆ ของโลก รวมถึงการเชื่อมโยงวิทยาศาสตร์เข้ากับเรื่องราวต่าง ๆ ในสังคม และในครั้งนี้ ภูริจะเรียบเรียงเรื่องราวต่าง ๆ เพื่ออธิบายว่าทำไมวิทยาศาสตร์ถึงสำคัญ และเราจะมีมุมมองต่อวิทยาศาสตร์ในรูปแบบไหนได้บ้าง รับฟังไลฟ์ของ ภูริ The Projectile ได้ในวันเสาร์ที่ 6 สิงหาคม 2022

นวพล เชื่อมวรศาสตร์ (พล) เจ้าของช่อง SaySci

พล นวพล เป็นผู้มีใจรักในการส่งต่อสาระความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ เขาเป็นทั้งหนึ่งในทูตเยาวชนวิทยาศาสตร์ไทย (YTSA) เป็นตำแหน่งรองชนะเลิศอันดับ 2 โครงการ FameLab Thailand ปี 2019 เป็นสปีกเกอร์ของ TEDxKhonKaenU ปี 2021 ในหัวข้อนิทานตัวเลข และเขายังเป็นผู้ก่อตั้งช่อง SaySci ทั้งทาง YouTube และ TikTok ที่ให้ความรู้ผู้คนจากรายการต่าง ๆ ที่เขาคิดขึ้นและศึกษามา แม้เขาก็ยังคิดอยู่เสมอว่าตัวเองไม่ดัง แต่ก็พร้อมจะสร้างประโยชน์ให้กับคนอื่น ๆ ด้วยสิ่งที่เรียกว่าวิทยาศาสตร์ ครั้งนี้ พล นวพล จะมาเล่าเรื่องราวการเดินทางของ SaySci ที่เขาก่อตั้งขึ้นมา ว่าเป็นเพจวิทย์นอกคอก ที่ทำคอนเทนต์ร่วมกับคนอื่นมากมาย ไม่เว้นแม้แต่มวยปล้ำ ประสบการณ์และชีวิตการสื่อสารวิทยาศาสตร์ของเขาจะน่าสนใจขนาดไหน ติดตามฟังไลฟ์ของ พล SaySci ได้ในวันอาทิตย์ที่ 7 สิงหาคม 2022

The Principia

แม่งานของโครงการสัปดาห์นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ 2022 ที่รวบรวมนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ พัฒนารูปแบบงานขึ้นมา เพื่อส่งเสริมให้คนไทยมีพื้นที่ในการรับฟังเนื้อหา สาระความรู้ ทั้งเรื่องของวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้เพจ The Principia ยังเป็นคอนเทนต์ครีเอเตอร์ที่สรรหาวิธีการมากมายที่จะงัดวิทยาศาสตร์ออกมาจากคำว่ายากและไกลตัว มาให้ใกล้ตัวและง่ายขึ้นสำหรับทุกคน ซึ่งหลังจากนี้ยังมีอีกหลายคอนเทนต์ที่คิดไว้แต่ยังไม่ได้ทำ จะมาเล่าให้ทุกคนฟัง เพื่อเสริมสร้างกำลังใจให้กับคนที่เข้ามาฟังว่าวงการวิทยาศาสตร์ไทย ยังมีทางไปเสมอ สามารถเข้ามารับฟังไลฟ์ของ The Principia ได้ในวันอาทิตย์ที่ 7 สิงหาคม 2022

งานในครั้งนี้มีค่ามากกว่าแค่เล่าเนื้อหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เพราะยังเป็นการแสดงกำลังให้เห็นว่านักสื่อสารวิทยาศาสตร์ในประเทศไทยยังมีความสามารถมากพอที่จะเล่าเรื่องต่าง ๆ ให้คนทั่วไปฟัง และคนกลุ่มนี้มีอยู่มากในสังคมไทย แต่พวกเราอาจจะยังไม่เคยได้พบเห็นหรือทำความรู้จัก การรวมตัวนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ในครั้งนี้จึงเป็นเหมือนกับจุดเริ่มต้นของวงการวิทยาศาสตร์ไทย ที่จะนำความรู้สิ่งที่ศึกษามาลงจากหิ้ง และนำมาแจกจ่ายให้กับทุกคน

ขอให้สนุกและได้ความรู้กลับบ้าน จากสัปดาห์นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ 2022

Tags: science communication week
The Principia

The Principia

Related Posts

ทำไมวาฬถึงตัวใหญ่
Biology

ทำไมวาฬถึงตัวใหญ่

byPeeravut Boonsat
29/01/2023
The Principia บุก ม.เกษตรฯ ในโครงการ “ส่งเสริมการเป็นนักสื่อสารวิทยาศาสตร์มืออาชีพ”
News

The Principia บุก ม.เกษตรฯ ในโครงการ “ส่งเสริมการเป็นนักสื่อสารวิทยาศาสตร์มืออาชีพ”

byTanakrit Srivilas
28/01/2023
สิ้นสุดลงแล้ว โครงการอบรมทูตเยาวชนวิทยาศาสตร์ไทยครั้งที่ 18 (YTSA)
News

สิ้นสุดลงแล้ว โครงการอบรมทูตเยาวชนวิทยาศาสตร์ไทยครั้งที่ 18 (YTSA)

byWatcharin Unwet
26/01/2023
DNA of Things เปลี่ยนวัตถุทุกชนิดให้กลายเป็นที่เก็บข้อมูลดิจิตอลด้วยดีเอ็นเอ
Biology

DNA of Things เปลี่ยนวัตถุทุกชนิดให้กลายเป็นที่เก็บข้อมูลดิจิตอลด้วยดีเอ็นเอ

byWatcharin Unwet
13/01/2023
The Principia

ส่งเสริมสังคมสร้างสรรค์ ด้วยการสื่อสารวิทยาศาสตร์

© 2021 ThePrincipia. All rights reserved.

The Principia Media

About Us
Members
Contact Us
theprincipia2021@gmail.com

Follow us

No Result
View All Result
  • ข่าว
  • เทคโนโลยี
    • หุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์
    • วิศวกรรม
    • ยานพาหนะ
    • พลังงาน
    • เทคโนโลยีอาหาร
    • เทคโนโลยีการคำนวณ
    • เทคโนโลยีอวกาศ
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
    • วิทยาศาสตร์สุขภาพ
    • ชีววิทยาโมเลกุล
    • วิวัฒนาการ
    • สัตววิทยา
    • พฤกษศาสตร์
    • จุลชีววิทยา
    • กีฏวิทยา
    • นิเวศวิทยา
  • ดาราศาสตร์
    • ฟิสิกส์ดาราศาสตร์
    • จักรวาลวิทยา
    • วิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์
  • อื่น ๆ
    • ศิลปะ & วัฒนธรรม
    • คณิตศาสตร์
    • ประวัติศาสตร์
    • จิตวิทยา
    • ปรัชญา
    • วิทยาศาสตร์การกีฬา
    • Sci-fi
  • ร้านค้า