การสื่อสาร เป็นหัวใจหลักของการทำงาน เราติดต่อสื่อสารเพื่อรายงานปัญหาและระดมความคิดเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นอยู่เป็นประจำ ดังนั้นนักบินอวกาศที่ต้องปฎิบัติหน้าที่บนอวกาศจึงต้องอาศัยการสื่อสารกับพื้นโลกเพื่อรายงานสถานการณ์ที่ยากต่อการตัดสินกับภาคพื้นเพื่อระดมความคิดในการแก้ปัญหาต่าง ๆ โดยปัจจุบันเราอาศัยวิทยุสื่อสารเพื่อการติดต่อระหว่างภาคพื้นกับนักบินหรือดาวเทียมที่กำลังโคจรอยู่ ซึ่งส่งข้อมูลในจำนวนที่จำกัด
เครือข่ายสถานีภาคพื้นดินออปติคัล TeraNet ของมหาวิทยาลัยเวสเทิร์นออสเตรเลียรายงานถึงความสำเร็จของการรับสัญญาณเลเซอร์ความเร็วสูงของเพย์โหลด OSIRISv1 บนดาวเทียมเยอรมันในวงโคจรต่ำ ด้วยความสำเร็จนี้อาจปูทางมาสู่การติดต่อสื่อสารกับนักบินด้วยเลเซอร์ความเร็วสูงแทนที่วิทยุสื่อสารที่มีจำนวนข้อมูลส่งได้ต่อวินาทีที่ต่ำกว่า โดยรองศาสตราจารย์ Sascha Schediwy จากศูนย์วิจัยดาราศาสตร์วิทยุนานาชาติ ( ICRAR ) กล่าวว่านี้ถือเป็นก้าวแรกที่สำคัญยิ่งในการสร้างเครือข่ายการสื่อสารทางอวกาศรุ่นใหม่ทั่วออสเตรเลียตะวันตก ซึ่งขั้นต่อไปคือการสร้างเครื่อข่ายและเชื่อมต่อการสื่อสารทางอวกาศด้วยเลเซอร์ความเร็วสูง
ข้อดีของการใช้เลเซอร์ความเร็วสูงแทนที่สัญญาณวิทยุไร้สายแบบเดิมในการถ่ายโอนข้อมูลระหว่างดาวเทียมในอวกาศและผู้ใช้บนโลก คือ เลเซอร์สามารถถ่ายโอนข้อมูลได้เร็วถึง 1,000 กิกะบิตต่อวินาที เนื่องจากเลเซอร์ทำงานที่ความถี่ที่สูงกว่าวิทยุมาก จึงสามารถบรรจุข้อมูลได้มากขึ้น
เทคโนโลยีวิทยุไร้สายนั้นถูกครั้งแรกมาตั้งแต่การส่งดาวเทียมดวงแรก สปุตนิก 1 เมื่อเกือบ 70 ปีที่แล้ว และเทคโนโลยีดังกล่าวยังคงแทบไม่มีการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่นั้นมา แต่เนื่องจากจำนวนดาวเทียมที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้จำนวนข้อมูลที่ถูกส่งลงมามีมากขึ้นนำมาสู่ปัญหาคอขวดในการส่งข้อมูลกลับโลก ดังนั้นเลเซอร์จึงเป็นแนวทางใหม่ที่จะแก้ปัญหาคอขวดนี้ไปได้
อย่างไรก็ตามเลเซอร์ความเร็วสูงเองก็มีข้อเสีย คือ สามารถถูกรบกวนได้ง่ายด้วยเมฆหรือฝน ถึงยังงั้นทีม TeraNet ก็พยายามแก้ไขปัญหานี้โดยการสร้างเครือข่ายสถานีภาคพื้นดินสามแห่งที่กระจายอยู่ทั่วออสเตรเลียตะวันตก ซึ่งหมายความว่าหากสถานีภาคพื้นดินแห่งหนึ่งมีเมฆมาก ดาวเทียมจะสามารถดาวน์โหลดข้อมูลไปยังอีกแห่งที่มีท้องฟ้าแจ่มใสได้
อ้างอิง
https://scitechdaily.com/teranet-unleashes-1000x-faster-space-communications-with-laser-technology