• ข่าว
  • เทคโนโลยี
    • หุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์
    • วิศวกรรม
    • ยานพาหนะ
    • พลังงาน
    • เทคโนโลยีอาหาร
    • เทคโนโลยีการคำนวณ
    • เทคโนโลยีอวกาศ
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
    • วิทยาศาสตร์สุขภาพ
    • ชีววิทยาโมเลกุล
    • วิวัฒนาการ
    • สัตววิทยา
    • พฤกษศาสตร์
    • จุลชีววิทยา
    • กีฏวิทยา
    • นิเวศวิทยา
  • ดาราศาสตร์
    • ฟิสิกส์ดาราศาสตร์
    • จักรวาลวิทยา
    • วิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์
  • อื่น ๆ
    • ศิลปะ & วัฒนธรรม
    • คณิตศาสตร์
    • ประวัติศาสตร์
    • จิตวิทยา
    • ปรัชญา
    • วิทยาศาสตร์การกีฬา
    • Sci-fi
  • ร้านค้า
No Result
View All Result
The Principia
  • ข่าว
  • เทคโนโลยี
    • หุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์
    • วิศวกรรม
    • ยานพาหนะ
    • พลังงาน
    • เทคโนโลยีอาหาร
    • เทคโนโลยีการคำนวณ
    • เทคโนโลยีอวกาศ
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
    • วิทยาศาสตร์สุขภาพ
    • ชีววิทยาโมเลกุล
    • วิวัฒนาการ
    • สัตววิทยา
    • พฤกษศาสตร์
    • จุลชีววิทยา
    • กีฏวิทยา
    • นิเวศวิทยา
  • ดาราศาสตร์
    • ฟิสิกส์ดาราศาสตร์
    • จักรวาลวิทยา
    • วิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์
  • อื่น ๆ
    • ศิลปะ & วัฒนธรรม
    • คณิตศาสตร์
    • ประวัติศาสตร์
    • จิตวิทยา
    • ปรัชญา
    • วิทยาศาสตร์การกีฬา
    • Sci-fi
  • ร้านค้า
No Result
View All Result
The Principia
No Result
View All Result

คนไทย ใครว่าอ่านหนังสือแค่ปีละ 8 บรรทัด?

Tanakrit SrivilasbyTanakrit Srivilas
02/05/2022
in Art & Culture
A A
0
คนไทย ใครว่าอ่านหนังสือแค่ปีละ 8 บรรทัด?
Share on FacebookShare on Twitter

Hilights

  • ประวัติศาสตร์การจดบันทึก ก็คือประวัติศาสตร์มนุษยชาติ จากการจดบนผนังถ้ำ มาสู่การตีพิมพ์ลงบนหน้าหนังสือในปัจจุบัน
  • กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย เคยได้รับเลือกจากองค์การยูเนสโกให้เป็นเมืองหลวงหนังสือโลกในปี พ.ศ. 2556
  • สำนักงานสถิติแห่งชาติยังไม่ทราบถึงที่มาของคำว่า “คนไทยอ่านหนังสือปีละ 8 บรรทัด” ทราบเพียงแค่ว่า การสำรวจข้อมูลเป็นบรรทัดนั้นมีความคลาดเคลื่อนมากเกินไป
  • จากข้อมูลต่าง ๆ พบว่าแนวโน้มการอ่านของคนไทยนั้นเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ แม้ว่าผลการศึกษาล่าสุดจะเป็นเมื่อ 3 – 4 ปีที่แล้วก็ตาม แต่ทำให้เรามั่นใจว่าคนไทยสนใจในการอ่านมาก

ประวัติศาสตร์การจดบันทึก ก็คือประวัติศาสตร์มนุษยชาติ เราเริ่มรู้จักวิถีชีวิตของมนุษย์ในยุคอดีตจากการอ่าน และตีความเรื่องราวที่ถูกจดบันทึกออกมา จนถึงในปัจจุบัน การอ่านนั้นสอดประสานเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของพวกเราทุกคน จากการจดบนผนังถ้ำ มาสู่การตีพิมพ์ลงบนหน้าหนังสือ ซึ่งบรรจุเรื่องราวมากมาย ทั้งเรื่องจริงและเรื่องแต่ง ตามสีสันที่นักเขียนสามารถสาดใส่เนื้อหาของพวกเขาได้ และนั่นทำให้การจดบันทึกความรู้วิทยาศาสตร์ เรื่องราวทางประวัติศาสตร์ หรือจินตนาการแสนล้ำเกินบรรยาย ถูกรวมเอาไว้ภายในกระดาษรวบกันเป็นปึก ๆ ที่เรียกว่าหนังสือ

วันที่ 23 เมษายนของทุก ๆ ปี เป็นวันที่องค์การยูเนสโก (UNESCO) จัดตั้งให้เป็นวันสำคัญที่มีชื่อว่า “วันหนังสือและลิขสิทธิ์สากล” (World Book and Copyright Day) เพื่อประชาสัมพันธ์ในเรื่องการอ่าน การตีพิมพ์ และลิขสิทธิ์ เพราะหนังสือนั้นส่งต่อเรื่องราวให้กับผู้คน จากบันทึกประสบการณ์ที่ผ่านมาของคนที่ผ่านมาก่อน เมื่อความรู้เหล่านั้นถูกส่งต่อ จึงเกิดพัฒนาการของมนุษยชาติไม่รู้จบ การประชาสัมพันธ์ถึงวันหนังสือและลิขสิทธิ์สากล จึงเป็นวันสำคัญระดับโลกที่จะช่วยกันส่งเสริมการอ่านของคนในแต่ละประเทศ ซึ่งทางองค์การยูเนสโกก็มีการจัดตั้งเมืองหลวงหนังสือโลกในทุก ๆ ปีตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 ซึ่งในปีนี้เมืองหลวงหนังสือโลกคือเมืองกวาดาลาฮารา ประเทศเม็กซิโก และเรื่องที่น่ารู้อีกเรื่องก็คือ เมืองกรุงเทพฯ จากประเทศไทย ก็เคยเป็นเมืองหลวงหนังสือโลกในปี พ.ศ. 2556 เช่นเดียวกัน

กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย เคยได้รับเลือกจากองค์การยูเนสโกให้เป็นเมืองหลวงหนังสือโลกในปี พ.ศ. 2556

คนไทยก็อ่านหนังสือเยอะเช่นกัน ซึ่งคนไทยไม่ได้อ่านหนังสือปีละ 8 บรรทัดตามที่เขาหลอกลวง เพราะเมื่อ พ.ศ. 2549 หัวหน้ากลุ่มสถิติประชากรและสังคม จากสำนักงานสถิติแห่งชาติในขณะนั้นกล่าวว่า ทางสำนักงานสถิติแห่งชาติไม่ทราบถึงที่มาของการกล่าวหาคนไทยด้วยกันเองว่าอ่านหนังสือปีละไม่เกิน 8 บรรทัด แต่จากข้อมูลค่าเฉลี่ยการอ่านที่มี เช่น ระยะเวลาในการอ่าน ไม่สามารถแปลงเป็นบรรทัดได้ เพราะอัตราการอ่านของแต่ละคนไม่เท่ากัน เช่น การกวาดสายตา และความเร็วในการอ่าน ดังนั้นการแปลงข้อมูลเป็นบรรทัดจึงมีความคลาดเคลื่อนมากเกินไป ซึ่งจากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ร่วมกับสำนักงานอุทยานการเรียนรู้ (TK Park) ที่ได้รวบรวมไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 จนถึง 2561 จาก 55,920 ครัวเรือนในทุกภูมิภาค และทุกช่วงวัย พบว่าแนวโน้มการอ่านของคนไทยนั้นเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จากระยะเวลาเฉลี่ยในการอ่านต่อวันของคนไทยอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป ในปี 2551 อยู่ที่ 39 นาทีต่อวัน เพิ่มขึ้นเป็น 80 นาทีต่อวัน ในปี 2561 และจำนวนผู้อ่านคนไทยที่อายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไปเพิ่มขึ้นจาก 66.3% ของผู้รับการสำรวจในปี 2551 ไปเป็น 78.8% ในปี 2561 ซึ่งเหตุผลมาจากหลายส่วน เช่น ความนิยมที่เพิ่มขึ้นของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-books

อีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่ช่วยการันตีอัตราการอ่านที่สูงมากของคนไทยก็คือ ในทุก ๆ ปีจะมีการจัดงานหนังสือครั้งใหญ่หลายครั้ง ทั้งงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติที่จัดช่วงต้นปี มหกรรมหนังสือระดับชาติที่จัดช่วงสิ้นปี และงานหนังสือตามภูมิภาคอย่าง เทศกาลหนังสืออุดร เชียงใหม่บุ๊คแฟร์ สัปดาห์หนังสือและการเรียนรู้อุบลราชธานี เป็นต้น รวมถึงข้อมูลภายในจาก Picodi ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซระดับโลก ในปี 2562 พบว่าประเทศไทยมีการซื้อหนังสือมากที่สุดเป็นอันดับที่ 4 ของโลก รองจากตุรกี รัสเซีย และสเปน

จากข้อมูลต่าง ๆ ที่ถูกเก็บมาเกี่ยวกับการอ่าน พบว่าแนวโน้มการอ่านของคนไทยนั้นเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ แม้ว่าผลการศึกษาล่าสุดจะเป็นเมื่อ 3 – 4 ปีที่แล้วก็ตาม แต่ทำให้เรามั่นใจว่าคนไทยสนใจในการอ่านมาก

จากข้อมูลทั้งหมดจะเห็นว่า คนไทยมีอัตราการอ่านที่เพิ่มสูงขึ้นมาตลอดระยะเวลาหลายปี แม้ว่าสถิติล่าสุดจะเป็นผลการศึกษาซึ่งเกิดขึ้นเมื่อ 3 – 4 ปีที่แล้วก็ตาม แต่ทำให้เรามั่นใจว่าคนไทยสนใจในการอ่านมาก จนเราไม่อยากเชื่อเวลาที่มีใครบอกว่าคนไทยอ่านหนังสือเพียงแค่ปีละ 8 บรรทัด ฉะนั้นใครที่พูดแบบนี้กับคนรักการอ่านแบบเรา เอาบทความนี้ให้เขาดูได้เลย!

อ้างอิง

วันหนังสือและลิขสิทธิ์สากล

World Book Capital

ผลสำรวจการอ่านของประชากร 2561

การซื้อหนังสือในประเทศไทย (และประเทศอื่นๆ ทั่วโลก)

ไขข้อสงสัย:คนไทยอ่านหนังสือปีละ 8 บรรทัด???

Tags: readingstatstatisticsthai
Tanakrit Srivilas

Tanakrit Srivilas

Jack of all trades, passionate about Biotechnology, Molecular genetics, Evolutionary biology, and Communication.

Related Posts

เปิดไฟล์โปรเจ็กต์ A119 แผนยิงระเบิดใส่ดวงจันทร์
Astronomy

เปิดไฟล์โปรเจ็กต์ A119 แผนยิงระเบิดใส่ดวงจันทร์

byChinapong Lienpanich
31/12/2022
ชายผู้ยุติโรคมรณะที่ชื่อว่า “โรคพิษสุนัขบ้า”
Biology

ชายผู้ยุติโรคมรณะที่ชื่อว่า “โรคพิษสุนัขบ้า”

byTanakrit Srivilas
27/12/2022
ทั้งช่วยชีวิต ทั้งคร่าชีวิต: นักวิทย์ผู้รักชาติจนตัวตาย แต่ได้รับผลตอบแทนแสนเจ็บปวด
Biography

ทั้งช่วยชีวิต ทั้งคร่าชีวิต: นักวิทย์ผู้รักชาติจนตัวตาย แต่ได้รับผลตอบแทนแสนเจ็บปวด

byTanakrit Srivilas
09/12/2022
5 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ “มารี คูรี” นักวิทยาศาสตร์หญิงเจ้าของสองรางวัลโนเบล
Biography

5 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ “มารี คูรี” นักวิทยาศาสตร์หญิงเจ้าของสองรางวัลโนเบล

byPichayut Tananchayakul
07/11/2022
The Principia

ส่งเสริมสังคมสร้างสรรค์ ด้วยการสื่อสารวิทยาศาสตร์

© 2021 ThePrincipia. All rights reserved.

The Principia Media

About Us
Members
Contact Us
theprincipia2021@gmail.com

Follow us

No Result
View All Result
  • ข่าว
  • เทคโนโลยี
    • หุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์
    • วิศวกรรม
    • ยานพาหนะ
    • พลังงาน
    • เทคโนโลยีอาหาร
    • เทคโนโลยีการคำนวณ
    • เทคโนโลยีอวกาศ
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
    • วิทยาศาสตร์สุขภาพ
    • ชีววิทยาโมเลกุล
    • วิวัฒนาการ
    • สัตววิทยา
    • พฤกษศาสตร์
    • จุลชีววิทยา
    • กีฏวิทยา
    • นิเวศวิทยา
  • ดาราศาสตร์
    • ฟิสิกส์ดาราศาสตร์
    • จักรวาลวิทยา
    • วิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์
  • อื่น ๆ
    • ศิลปะ & วัฒนธรรม
    • คณิตศาสตร์
    • ประวัติศาสตร์
    • จิตวิทยา
    • ปรัชญา
    • วิทยาศาสตร์การกีฬา
    • Sci-fi
  • ร้านค้า