• ข่าว
  • เทคโนโลยี
    • หุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์
    • วิศวกรรม
    • ยานพาหนะ
    • พลังงาน
    • เทคโนโลยีอาหาร
    • เทคโนโลยีการคำนวณ
    • เทคโนโลยีอวกาศ
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
    • วิทยาศาสตร์สุขภาพ
    • ชีววิทยาโมเลกุล
    • วิวัฒนาการ
    • สัตววิทยา
    • พฤกษศาสตร์
    • จุลชีววิทยา
    • กีฏวิทยา
    • นิเวศวิทยา
  • ดาราศาสตร์
    • ฟิสิกส์ดาราศาสตร์
    • จักรวาลวิทยา
    • วิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์
  • อื่น ๆ
    • ศิลปะ & วัฒนธรรม
    • คณิตศาสตร์
    • ประวัติศาสตร์
    • จิตวิทยา
    • ปรัชญา
    • วิทยาศาสตร์การกีฬา
    • Sci-fi
  • ร้านค้า
No Result
View All Result
The Principia
  • ข่าว
  • เทคโนโลยี
    • หุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์
    • วิศวกรรม
    • ยานพาหนะ
    • พลังงาน
    • เทคโนโลยีอาหาร
    • เทคโนโลยีการคำนวณ
    • เทคโนโลยีอวกาศ
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
    • วิทยาศาสตร์สุขภาพ
    • ชีววิทยาโมเลกุล
    • วิวัฒนาการ
    • สัตววิทยา
    • พฤกษศาสตร์
    • จุลชีววิทยา
    • กีฏวิทยา
    • นิเวศวิทยา
  • ดาราศาสตร์
    • ฟิสิกส์ดาราศาสตร์
    • จักรวาลวิทยา
    • วิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์
  • อื่น ๆ
    • ศิลปะ & วัฒนธรรม
    • คณิตศาสตร์
    • ประวัติศาสตร์
    • จิตวิทยา
    • ปรัชญา
    • วิทยาศาสตร์การกีฬา
    • Sci-fi
  • ร้านค้า
No Result
View All Result
The Principia
No Result
View All Result

ฝีดาษลิง ที่จริง ๆ ไม่ได้ระบาดจากลิง

Peeravut BoonsatbyPeeravut Boonsat
28/05/2022
in Health
A A
0
ฝีดาษลิง ที่จริง ๆ ไม่ได้ระบาดจากลิง

ที่มา WHO

Share on FacebookShare on Twitter

‘ฝีดาษลิง’ หรือ ‘Monkeypox’ คือโรคประจำถิ่นซึ่งปกติพบการระบาดที่แอฟริกา แต่ทว่าในช่วงหนึ่งสัปดาห์ที่ผ่านมานี้มีการพบการระบาดนอกพื้นที่แอฟริกาเช่น ยุโรป และอเมริกา ซึ่งองค์การอนามัยโลก (World Health Organization หรือ WHO) ได้ประกาศเฝ้าระวังการระบาดและออกมาเตือนประชาชนเพื่อไม่ให้การระบาดเกินการควบคุม

พื้นที่การระบาดและจำนวนผู้ป่วยที่ยืนยันระหว่างวันที่ 13 -21 พฤกษภาคม
ที่มา WHO

ไม่ได้เริ่มที่ลิง

‘โรคฝีดาษลิง’ เกิดจากเชื้อไวรัส Orthopoxvirus ซึ่งเป็นกลุ่มเดียวกันกับ ‘ฝีดาษคน’ และ ‘ฝีดาษวัว’ โดยพบการระบาดที่ภูมิภาคแอฟริกาเป็นหลัก

โดย Orthopoxvirus นี้ใช้ DNA เป็นสารพันธุกรรม ทำให้พวกมันมีความหลากหลายที่ต่ำ เนื่องจากกลายพันธุ์ได้ยาก (เพราะงั้นเราไม่ต้องกังวลว่าจะมีเชื้อกลายพันธุ์มาบ่อย ๆ เหมือนเชื้อโควิดที่ใช้ RNA เป็นสารพันธุกรรม)

ถึงแม้ว่าโรคนี้จะมีชื่อว่าฝีดาษ ‘ลิง’ แต่ทว่าความเป็นจริงนั้นพาหะนำโรคจริง ๆ กลับไม่ใช่ลิงตามชื่อ แต่เป็น ‘สัตว์ฟันแทะ’ จำพวก ‘หนู’ ต่างหาก แต่ที่ได้รับชื่อว่าฝีดาษลิง ไม่ใช่ฝีดาษหนูนั้นเป็นเพราะว่ามีการค้นพบโรคครั้งแรกเมื่อค.ศ. 1958 ในลิง โดยมีการพบการระบาดในคนที่ประเทศคองโกเมื่อปี 1970 และต่อมาพบการระบาดนอกพื้นที่แอฟริกาครั้งแรกที่สหรัฐอเมริกาเมื่อปี 2003 โดยเชื้อมากับสัตว์นำเข้าจากแอฟริกาซึ่งไปติด ‘หนูแพรี่’ ในร้านขายสัตว์เลี้ยง

ภาพของไวรัสผ่านกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนซึ่งถูกย้อมสีโดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์
ที่มา Ars Technica

อาการของโรค

อาการฝีดาษลิงต่างจากโรคฝีดาษทั่วไป โดยมีอาการที่สังเกตได้ คือ หลังจากที่สัมผัสเชื้อไปแล้วประมาณ 12  วัน ผู้ป่วยจะมีอาการ 2 ช่วงดังนี้

  • ระยะก่อนออกผื่น (Invasion phase)  
    • เริ่มด้วยมีไข้ ปวดหัว ปวดตัว ปวดหลัง อ่อนเพลีย และต่อมน้ำเหลืองโต
    • โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาการต่อมน้ำเหลืองโต เป็นอาการที่สังเกตได้ของโรคฝีดาษลิง ซึ่งแตกต่างจากโรคอื่น ๆ ที่มีตุ่มน้ำตามมา เช่น โรคอีสุกอีใส (Chickenpox) , โรคหัด (Measles) , โรคฝีดาษ หรือไข้ทรพิษ (Smallpox)
    • อาจมีอาการเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร ท้องเสีย อาเจียน และอาการทางระบบหายใจ เช่น เจ็บคอ ไอ เหนื่อย ได้อีกด้วย
  • ระยะออกผื่น (Skin eruption phase)
    • หลังจากมีไข้ประมาณ 1-3 วัน จะเริ่มมีอาการแสดงทางผิวหนัง มีลักษณะตุ่มผื่นขึ้น โดยเป็นตุ่มที่มีรูปแบบการเปลี่ยนแปลงตามลำดับ โดยเริ่มจากรอยแดงจุด ๆ เป็นตุ่มนูนแดง ตุ่มน้ำใส ตุ่มน้ำหนอง และจากนั้นจะแห้งออกหรือแตกออกแล้วหลุด เรียงไปตามลำดับ
    • โดยตุ่มมักจะหนาแน่นที่บริเวณใบหน้า และแขนขา มากกว่าที่ร่างกาย
    • ในระยะออกผื่น ผื่นจะกลายเป็นสะเก็ดคลุม แห้งและหลุดออกมา โดยใช้เวลาประมาณ 2-4 สัปดาห์
  • โดยทั่วไปแล้ว อาการป่วยจะกินเวลาประมาณ 2-4 สัปดาห์ ส่วนใหญ่สามารถหายจากโรคเองได้ แต่ในกรณีผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ มีโรคประจำตัว อาจมีภาวะแทรกซ้อน เช่น ปอดบวม หรือเสียชีวิตได้
ลักษณะฝีของผู้ป่วยในคองโก
ที่มา CDC

การติดต่อจากสัตว์สู่คน

โรคฝีดาษลิงสามารถติดต่อจากคนสู่คนได้จากการสัมผัสใกล้ชิด โดยผ่านการสัมผัสทางผิวหนังกับผู้ติดเชื้อโดยตรง หรือสัมผัสวัตถุที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัสชนิดนี้ ถึงแม้ว่าโอกาสติดสู่คนจะน้อย แต่ผู้ป่วยมีอัตราการเสียชีวิต 1 – 10 % โดยเฉพาะในเด็กเล็ก

วิธีการรักษา

ในปัจจุบันไม่มียารักษาสำหรับฝีดาษลิงโดยเฉพาะ มีเพียงยาต้านไวรัสเช่น  ยา Cidofovir ซึ่งมีผลข้างเคียงต่อไต และยา Tecovirimat (TPOXX) ซึ่งเป็นยารักษาโรคฝีดาษ สำหรับวัคซีนนั้น มีการพัฒนาวัคซีนสำหรับฝีดาษลิง (Ankara) ซึ่งมีผลข้างเคียงน้อยกว่าวัคซีนฝีดาษคน

วิธีป้องกัน

  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสัตว์ป่วย สัตว์ที่เป็นพาหะโดยเฉพาะลิง และสัตว์ฟันแทะ
  • หมั่นล้างมือด้วยสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์บ่อย ๆ  โดยเฉพาะหลังสัมผัสสัตว์ หรือสิ่งของสาธารณะ
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสสารคัดหลั่ง บาดแผล เลือด น้ำเหลืองของสัตว์
  • ใส่หน้ากากอนามัย เมื่อต้องเดินทางไปยังสถานที่เสี่ยงมีการแพร่ระบาด
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสสารคัดหลั่ง แผล ตุ่มหนอง หรือตุ่มน้ำใส จากผู้มีประวัติเสี่ยง หรือสงสัยว่าติดเชื้อ กรณีที่สัมผัสเชื้อไปแล้ว ควรฉีดวัคซีนป้องกันในกรณีที่ยังไม่เกิน 14 วัน

อ้างอิง

Centers for Disease Control and Prevention (CDC) | Monkeypox

World Health Organization (WHO) | Multi-country monkeypox outbreak in non-endemic countries

Ars Technica | Everything CDC wants you to know about monkeypox and the current risk level

Peeravut Boonsat

Peeravut Boonsat

ผมคือนิวไทป์ผู้บ้าชีววิทยา เพราะชีวะคือชีวิต ถ้าอยากมีชีวิตให้รักเด็กชีวะนะครับ

Related Posts

ชายผู้ยุติโรคมรณะที่ชื่อว่า “โรคพิษสุนัขบ้า”
Biology

ชายผู้ยุติโรคมรณะที่ชื่อว่า “โรคพิษสุนัขบ้า”

byTanakrit Srivilas
27/12/2022
เลือดชิด (Inbreeding) แต่งงานในเครือญาติ อาจทำลูกเสี่ยง..
Biology

เลือดชิด (Inbreeding) แต่งงานในเครือญาติ อาจทำลูกเสี่ยง..

byPeeravut Boonsat
20/12/2022
ECMO เทคโนโลยีหัวใจ – ปอดเทียมส่งเสริมการรักษาชีวิตผู้ป่วย
Health

ECMO เทคโนโลยีหัวใจ – ปอดเทียมส่งเสริมการรักษาชีวิตผู้ป่วย

byTanakrit Srivilasand1 others
16/12/2022
ยุงลาย ร่างจำแลงแห่งความตาย
Diseases

ยุงลาย ร่างจำแลงแห่งความตาย

byThanaset Trairat
20/11/2022
The Principia

ส่งเสริมสังคมสร้างสรรค์ ด้วยการสื่อสารวิทยาศาสตร์

© 2021 ThePrincipia. All rights reserved.

The Principia Media

About Us
Members
Contact Us
theprincipia2021@gmail.com

Follow us

No Result
View All Result
  • ข่าว
  • เทคโนโลยี
    • หุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์
    • วิศวกรรม
    • ยานพาหนะ
    • พลังงาน
    • เทคโนโลยีอาหาร
    • เทคโนโลยีการคำนวณ
    • เทคโนโลยีอวกาศ
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
    • วิทยาศาสตร์สุขภาพ
    • ชีววิทยาโมเลกุล
    • วิวัฒนาการ
    • สัตววิทยา
    • พฤกษศาสตร์
    • จุลชีววิทยา
    • กีฏวิทยา
    • นิเวศวิทยา
  • ดาราศาสตร์
    • ฟิสิกส์ดาราศาสตร์
    • จักรวาลวิทยา
    • วิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์
  • อื่น ๆ
    • ศิลปะ & วัฒนธรรม
    • คณิตศาสตร์
    • ประวัติศาสตร์
    • จิตวิทยา
    • ปรัชญา
    • วิทยาศาสตร์การกีฬา
    • Sci-fi
  • ร้านค้า