พฤติกรรมการเหยียดเชื้อชาตินั้นเกิดจากแนวคิดที่ว่าพวกของตนนั้นเหนือกว่ากลุ่มอื่น ๆ ซึ่งส่งผลให้แสดงพฤติกรรมการกดขี่ผู้อื่นว่าด้อยกว่าตนเอง อย่างไรก็ตามพฤติกรรมข้างต้นนั้นส่งผลกระทบทั้งต่อทางร่างกายและจิตใจ โดยล่าสุด นักชีววิทยาพบผลกระทบที่เกิดขึ้นกับระบบความสัมพันธ์ระหว่างจุลชีพในลำไส้ ทางเดินอาหารและสมองของผู้ที่มีพฤติกรรมการเหยียดเชื้อชาติ

โดยสมองและทางเดินอาหารนั้นมีความเชื่อมโยงกัน เนื่องจากทั้งสมองและทางเดินอาหารมีการติดต่อสื่อสารกันผ่านเส้นประสาทและฮอร์โมน รวมทั้งระบบทางเดินอาหารยังมี enteric nervous system ซึ่งควบคุมการทำงานนอกเหนืออำนาจการสั่งการของสมอง นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยสนับสนุนเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของจุลชีพในลำไส้กับระบบสมองและทางเดินอาหาร โดยมีกลไกผ่านทางระบบประสาท (ระบบประสาทอัตโนมัติ และ ENS) ฮอร์โมน (hypothalamus-pituitary-adrenal axis) ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย (การหลั่ง cytokines ต่างๆ) และเมแทบอลิซึมของจุลินทรีย์
จากการศึกษาในปัจจุบันเปิดเผยว่าระบบสมองและทางเดินอาหารมีการตอบสนองต่อความเครียดสูง ซึ่งความผิดปกติของสมองและลำไส้มีความเกี่ยวเนื่องกับการอักเสบและปัญหาสุขภาพเรือรังต่าง ๆ ซึ่งส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกัน ระบบประสาทและฮอร์โมน
จากการศึกษาล่าสุดได้ทดสอบสมมุติฐาน เรื่องอิทธิพลของการเลือกที่รักมักที่ชัง กับระบบประสาทส่วนกลางและระบบประสาทในทางเดินอาหาร พบความเปลี่ยนแปลงของสัญญาณสื่อสารระหว่างสมองกับระบบทางเดินอาหาร ซึ่งตรงกับผลการทดสอบในอดีตที่พบความผิดปกติดังกล่าวในกลุ่มทดลอง
นอกจากนี้เพื่อการยืนยันการทดสอบสมมุติฐานข้างต้น นักชีววิทยาได้นำกลุ่มทดลองที่มีพฤติกรรมเหยียดเชื้อชาติเข้าเครื่อง MRI เพื่อตรวจดูความสัมพันธ์ของพฤติกรรมข้างต้นและกระบวนการทำงานภายในสมอง ตรวจหาสารกระตุ้นอาการอักเสบในกระแสเลือด รวมทั้งสังคมของจุลชีพในอุจจาระของกลุ่มทดลอง ซึ่งเป็นเครื่องยืนยันถึงปฎิสัมพันธ์ของพฤติกรรมเหยียดเชื้อชาติกับความสัมพันธ์ของสมองและทางเดินอาหาร
อย่างไรก็ตาม ปัจจัยที่ทำให้เกิดพฤติกรรมข้างต้นไม่ได้เกิดจากความผิดปกติของจุลชีพในทางเดินอาหารและสมองเพียงอย่างเดียว แต่ยังเกิดจากปัจจัยอื่น ๆ เช่น การอบรมสั่งสอน แนวคิดที่ปลูกฝัง ฯลฯ
อ้างอิง
Scientists Discover Biological Consequences of Racism (scitechdaily.com)