คติความเชื่อของจีนทางตอนใต้เชื่อว่าหากนำสัตว์พิษ 5 ชนิดเลี้ยงในไหและให้พวกมันกัดกินกันเองจนเหลือตัวสุดท้ายที่เรียกว่ากู่ โดยพวกเค้าเชื่อว่ากู่นั้นได้สะสมวิญญาณของสัตว์มีพิษทำให้กู่ถือสุดยอดของสัตว์มีพิษ(ในไห)
โดยในธรรมชาติเราพบสิ่งมีชีวิตที่ได้สะสมผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตอื่นผ่านการกิน สิ่งมีชีวิตนั้นคือผีเสื้อจักรพรรดิ (𝘋𝘢𝘯𝘢𝘶𝘴 𝘱𝘭𝘦𝘹𝘪𝘱𝘱𝘶𝘴) พวกมันได้สะสมพิษ cardenolide จากต้นไฟเดือนห้า (𝘈𝘴𝘤𝘭𝘦𝘱𝘪𝘢𝘴 𝘤𝘶𝘳𝘢𝘴𝘴𝘢𝘷𝘪𝘤𝘢) และพืชอื่น ๆ ในสกุล Asclepias โดยเอกลักษณ์ของผีเสื้อจักรพรรดิคือปีกที่มีสีสันที่งดงามด้วยสีส้มตัดกับสีดำที่มองเห็นได้ง่ายและโดดเด่นซึ่งได้ส่งสัญญาณเตือนไปยังนักล่าว่าตัวเองมีพิษ เราเรียกพฤติกรรมนี้ว่า aposematism
ฮันนาห์ โรว์แลนด์ หัวหน้าทีมวิจัยเกี่ยวกับสัตว์นักล่าและเหยื่อมีพิษได้อธิบายว่าพฤติกรรมข้างต้นนั้นเกิดจากการเรียนรู้ของนักล่าว่าเหยื่อข้างหน้านั้นมีพิษ พวกมันจึงเลือกที่จะหลีกเลี่ยงเหยื่อที่มีความโดดเด่น สะดุดตา โดยเขาสังเกตว่าเหล่าผู้ล่ามีการตอบสนองต่อสีบนตัวเหยื่อมีพิษที่แตกต่างกัน ดังนั้นทีมวิจัยจึงมีความสงสัยว่าระดับความเข้มของสีบนปีกผีเสื้อบ่งบอกอะไรและมีความแตกต่างกันอย่างไร
โดยทีมวิจัยได้ศึกษาถึงผลกระทบของการเก็บพิษของผีเสื้อจักรพรรดิ โดยมุ่งเน้นไปที่ระดับความเครียดของออกซิเดชั่นซึ่งเกิดจากระดับของสารต้านอนุมูลอิสระที่ต่ำลง เนื่องจากระดับของสารต้านอนุมูลอิสระส่งผลต่อเมล็ดสี โดยพวกเค้าพบว่ายิ่งผีเสื้อที่มีการสะสมพิษมากจะมีระดับความเสียหายของออกซิเดชั่นมากกว่าผีเสื้อที่มีการสะสมของพิษที่น้อย นอกจากนี้ทีมวิจัยยังพบว่าสีของปีกนี้ขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของพิษโดยยิ่งมีความเข้มข้นมากเท่าไหร่ยิ่งมีสีที่อ่อนลงเท่านั้น
การศึกษานี้ทำให้เราทราบว่าพิษถือดาบสองคมสำหรับผีเสื้อจักรพรรดิโดยเฉพาะยิ่งพวกมันสะสมพิษมากขึ้นผลกระทบที่ตามมาก็จะมากตามไปด้วยดังนั้นเองผีเสื้อจักรพรรดิจึงต้องหาจุดสมดุลระหว่างผลประโยชน์และความเสียหายเพื่อดำรงอยู่ในธรรมชาติที่เกิดการแข่งขันตลอดเวลา
นอกจากนี้โรว์แลนด์เผยว่าในอนาคตทีมวิจัยของเขาจะศึกษาความสัมพันธ์ของพืชมีพิษ-สัตว์กินพืช-ผู้ล่า รวมทั้งผลกระทบของการวิวัฒนาการของพืชมีพิษกับตัวผู้ล่า