• ข่าว
  • เทคโนโลยี
    • หุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์
    • วิศวกรรม
    • ยานพาหนะ
    • พลังงาน
    • เทคโนโลยีอาหาร
    • เทคโนโลยีการคำนวณ
    • เทคโนโลยีอวกาศ
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
    • วิทยาศาสตร์สุขภาพ
    • ชีววิทยาโมเลกุล
    • วิวัฒนาการ
    • สัตววิทยา
    • พฤกษศาสตร์
    • จุลชีววิทยา
    • กีฏวิทยา
    • นิเวศวิทยา
  • ดาราศาสตร์
    • ฟิสิกส์ดาราศาสตร์
    • จักรวาลวิทยา
    • วิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์
  • อื่น ๆ
    • ศิลปะ & วัฒนธรรม
    • คณิตศาสตร์
    • ประวัติศาสตร์
    • จิตวิทยา
    • ปรัชญา
    • วิทยาศาสตร์การกีฬา
    • Sci-fi
  • ร้านค้า
No Result
View All Result
The Principia
  • ข่าว
  • เทคโนโลยี
    • หุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์
    • วิศวกรรม
    • ยานพาหนะ
    • พลังงาน
    • เทคโนโลยีอาหาร
    • เทคโนโลยีการคำนวณ
    • เทคโนโลยีอวกาศ
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
    • วิทยาศาสตร์สุขภาพ
    • ชีววิทยาโมเลกุล
    • วิวัฒนาการ
    • สัตววิทยา
    • พฤกษศาสตร์
    • จุลชีววิทยา
    • กีฏวิทยา
    • นิเวศวิทยา
  • ดาราศาสตร์
    • ฟิสิกส์ดาราศาสตร์
    • จักรวาลวิทยา
    • วิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์
  • อื่น ๆ
    • ศิลปะ & วัฒนธรรม
    • คณิตศาสตร์
    • ประวัติศาสตร์
    • จิตวิทยา
    • ปรัชญา
    • วิทยาศาสตร์การกีฬา
    • Sci-fi
  • ร้านค้า
No Result
View All Result
The Principia
No Result
View All Result

คอมพิวเตอร์ ในวันที่โลกไม่มีไฟฟ้า

Chinapong LienpanichbyChinapong Lienpanich
15/05/2022
in Computing, History
A A
0
คอมพิวเตอร์ ในวันที่โลกไม่มีไฟฟ้า

ที่มาภาพ xRez Studio

Share on FacebookShare on Twitter

ใครจะไปคิดว่าเมื่อร้อยกว่าปีที่แล้วนักประดิษฐ์ชาวอังกฤษที่มีชื่อว่า ชาร์ลส์  แบบเบจ (Charles Babbage) ได้คิดค้นเครื่องจักรมีชื่อว่า Difference engine ขึ้นมาเพื่อใช้ในการคำนวณทางคณิตศาสตร์อย่าง ล็อกการิทึ่ม และ ตรีโกณมิติ เป็นครั้งแรก แถมยังมีระบบพิมพ์ตัวเลขผลการคำนวณออกมาลงบนกระดาษอีกด้วย โดยใช้เพียงแค่กลไกจากฟันเฟืองเหล็กและการไขลานเพียงเท่านั้น

ชาร์ลส์ แบบเบจ และสมองของเขา ผู้สร้างคอมพิวเตอร์ในวันที่โลกไม่มีไฟฟ้า
ที่มา Science Museum

ทั้งนี้เราต้องเข้าใจบริบทก่อนว่าในช่วงปี 1822 ในขณะที่ ชาร์ลส์ แบบเบจ ได้ประดิษฐ์เครื่องจักรนี้ขึ้นมา จักรวรรดิอังกฤษได้ขยายตัวไปทั่วโลกและกำลังรุ่งเรืองอำนาจอย่างสุดขีด ทำให้การคำนวณทางคณิตศาสตร์ โดยเฉพาะสมการพหุนามนั้นมีความสำคัญเป็นอย่างมาก เนื่องจากสมการนี้สามารถใช้คำนวณโมเดลการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจได้เป็นอย่างดี

Difference Engine No.1 สร้างโดย ชาร์ลส์ แบบเบจ ในปี 1822
ที่มา Science Museum Group

 ซึ่งหลังจากที่ ชาร์ลส์ แบบเบจ ได้ประสบความสำเร็จกับเจ้าเครื่อง Difference engine ไปแล้ว เขาก็ได้เดินหน้าออกแบบเครื่องจักรที่มีชื่อว่า Analytical Engine ซึ่งมีความซับซ้อนกว่าเดิมอีกหลายเท่าตัว โดยเขาตั้งใจให้ผู้ใช้งานสามารถเขียนโปรแกรมการคำนวณลงไปได้ผ่านการใช้บัตรเจาะรู พร้อมกับติดตั้งระบบความจำสำรองในลักษณะที่คล้ายกับแรม (RAM) ในปัจจุบัน เพื่อกักเก็บข้อมูลตัวเลข 1,000 ชุด มากกว่า 40 จุดทศนิยมลงไปอีกด้วย Analytical Engine จึงมีคุณสมบัติครบทุกประการเหมือนคอมพิวเตอร์ในยุคปัจจุบัน

ผู้ใช้งานสามารถเขียนโปรแกรมการคำนวณลงไปได้ผ่านการใช้บัตรเจาะรู
ที่มา Science & Society

แต่ทว่าเจ้าคอมพิวเตอร์เครื่องนี้ก็กลับไม่ได้ก่อสร้างขึ้นมาจริง ๆ เสียอย่างนั้นเนื่องจาก ชาร์ลส์ แบบเบจ ได้เสียชีวิตลงไปก่อนในปี 1877 จนกระทั่งเวลาผ่านพ้นไปร่วมศตวรรษถึงปี 1991 พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งกรุงลอนดอน ก็ได้สร้างคอมพิวเตอร์ของ ชาร์ลส์ แบบเบจ ให้เป็นจริงขึ้นมา ตามพิมพ์เขียวเขาได้ในที่สุด ซึ่งสามารถใช้งานได้จริง ๆ โดยปราศจากไฟฟ้า 

พิพิธภัณฑ์นำพิมพ์เขียวของชาร์ลส์มาสร้าง Difference Engine No.2 สำเร็จภายหลังในปี 1991
ที่มาภาพ xRez Studio

หาก Analytical Engine สามารถสร้างขึ้นได้จริงเมื่อร้อยกว่าปีที่แล้ว มันก็คงจะได้รับตำแหน่งคอมพิวเตอร์เครื่องแรกของโลกไปอย่างไม่ต้องสงสัย

อ้างอิง

Computer History Museum | The Engines

Science Museum Group | Babbage

Chinapong Lienpanich

Chinapong Lienpanich

Mostly being a space-nerd who dreamt to work at NASA, but now a 21 years old Film Student dedicating to generalize space communication.

Related Posts

เปิดไฟล์โปรเจ็กต์ A119 แผนยิงระเบิดใส่ดวงจันทร์
Astronomy

เปิดไฟล์โปรเจ็กต์ A119 แผนยิงระเบิดใส่ดวงจันทร์

byChinapong Lienpanich
31/12/2022
ชายผู้ยุติโรคมรณะที่ชื่อว่า “โรคพิษสุนัขบ้า”
Biology

ชายผู้ยุติโรคมรณะที่ชื่อว่า “โรคพิษสุนัขบ้า”

byTanakrit Srivilas
27/12/2022
ทั้งช่วยชีวิต ทั้งคร่าชีวิต: นักวิทย์ผู้รักชาติจนตัวตาย แต่ได้รับผลตอบแทนแสนเจ็บปวด
Biography

ทั้งช่วยชีวิต ทั้งคร่าชีวิต: นักวิทย์ผู้รักชาติจนตัวตาย แต่ได้รับผลตอบแทนแสนเจ็บปวด

byTanakrit Srivilas
09/12/2022
5 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ “มารี คูรี” นักวิทยาศาสตร์หญิงเจ้าของสองรางวัลโนเบล
Biography

5 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ “มารี คูรี” นักวิทยาศาสตร์หญิงเจ้าของสองรางวัลโนเบล

byPichayut Tananchayakul
07/11/2022
The Principia

ส่งเสริมสังคมสร้างสรรค์ ด้วยการสื่อสารวิทยาศาสตร์

© 2021 ThePrincipia. All rights reserved.

The Principia Media

About Us
Members
Contact Us
theprincipia2021@gmail.com

Follow us

No Result
View All Result
  • ข่าว
  • เทคโนโลยี
    • หุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์
    • วิศวกรรม
    • ยานพาหนะ
    • พลังงาน
    • เทคโนโลยีอาหาร
    • เทคโนโลยีการคำนวณ
    • เทคโนโลยีอวกาศ
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
    • วิทยาศาสตร์สุขภาพ
    • ชีววิทยาโมเลกุล
    • วิวัฒนาการ
    • สัตววิทยา
    • พฤกษศาสตร์
    • จุลชีววิทยา
    • กีฏวิทยา
    • นิเวศวิทยา
  • ดาราศาสตร์
    • ฟิสิกส์ดาราศาสตร์
    • จักรวาลวิทยา
    • วิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์
  • อื่น ๆ
    • ศิลปะ & วัฒนธรรม
    • คณิตศาสตร์
    • ประวัติศาสตร์
    • จิตวิทยา
    • ปรัชญา
    • วิทยาศาสตร์การกีฬา
    • Sci-fi
  • ร้านค้า